โรคโควิด-19 (COVID-19)

          โรคโควิด-19 (COVID-19) หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เริ่มระบาดในช่วงเดือนธันวาคมปี 2019 โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า  SARS-CoV-2 พบเชื้อครั้งแรกที่ตลาดอาหารทะเลในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และแพร่ระบาดสู่ประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาเกือบทุกประเทศทั่วโลก

ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) ไวรัสโคโรนา คือ กลุ่มไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย มีอาการตั้งแต่เป็นไข้ธรรมดาจจนถึงระดับที่รุนแรง เช่น ไวรัส MERS (Middle East Respiratory Syndrome) และ SARS (Severe Acute Respiratory Syndrome) 

 ไวรัสโคโรนา (Coronaviruses หรือ CoVs) คือเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ลักษณะเด่นของไวรัสตระกูลนี้คือ เป็นไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิด RNA มีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีน และล้อมรอบด้วยปุ่มหนามที่เกิดจากกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ดูคล้าย มงกุฎ จึงถูกตั้งชื่อว่า Coronavirus 

โดยมากแล้วมักพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสัตว์ แต่ก็มีไวรัสโคโรนาที่พบการติดเชื้อโรคในมนุษย์  (Human coronaviruses) อยู่มากกว่า 30 สายพันธุ์ด้วยกัน แบ่งออกเป็น  2 กลุ่ม คือ 

1. สายพันธุ์ที่ก่อโรคไม่รุนแรง  

เช่น  HCoV-229E, HCoV-OC43, HCoV-NL63 และ HCoV-HKU1 

เป็น 4 สายพันธุ์หลักที่มักก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง มักเป็นเพียงไข้หวัดทั่วไป (Common Cold)  เป็นสาเหตุให้เกิดไข้หวัดราว 30ของผู้ป่วย และถึงแม้    จะพบได้น้อย แต่อาจก่อโรคในระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่มีอาการรุนแรงได้เช่น ปอดอักเสบ (Pneumonia) และโรคหลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis รวมถึงอาจก่อให้  เกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง นอกจากนี้ ไวรัส HCoV-OC43 ยังอาจจะกลายพันธุ์จะทำให้เกิดการติดเชื้อในสมองได้ 

2. สายพันธุ์ที่ก่อโรครุนแรง 

ตัวอย่างเชื้อไวรัส เช่น  

SARS-CoV ทำให้เกิดโรคซาร์ส หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ซึ่งเคยระบาดในประเทศจีนและฮ่องกง ช่วงปี 2002-2003 

MERS-CoV ทำให้เกิดโรคเมอร์ส หรือโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง ซึ่งพบการระบาดมากในช่วงปี 2012-2013 

SARS-CoV-2 เป็นสายพันธุ์ล่าสุดที่เพิ่งค้นพบในปี 2019 และทำให้เกิดโรคโควิด-19 

ทำไมเชื้อ โควิด-19 ถึงมีหลายสายพันธุ์? 

เช่นเดียวกับไวรัสชนิดอื่น ๆ ไวรัส SARS-CoV-2 สามารถแพร่พันธุ์ได้ด้วยการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตัวเองจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยขั้นตอนการถ่ายทอดพันธุกรรม อาจเกิดข้อผิดพลาด (Copying Errors) ขึ้น และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ (Genetic Mutation) 

การกลายพันธุ์ไม่ได้ทำให้เชื้อไวรัสพัฒนารุนแรงขึ้นเสมอไป บางครั้งไวรัสอาจกลายพันธุ์และหายไปเอง ไวรัสที่กลายพันธุ์แล้วยังคงอยู่และได้รับการตรวจพบ ก็จะถูกบันทึก   เป็นสายพันธุ์ (Variant) ใหม่ต่อไป  เมื่อไวรัสสะสมการกลายพันธุ์มากขึ้นเรื่อย ๆ การทำงานของไวรัสก็จะแตกต่างไปจากเชื้อดั้งเดิม ทำให้วัคซีนที่เคยใช้รับมือกับเชื้อดั้งเดิมได้ประสิทธิภาพจะลดลง  หรือลักษณะบางอย่างของไวรัสอาจเปลี่ยนแปลงไปจนทำให้สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายขึ้นหรือเพิ่มจำนวนได้เร็วขึ้น 

 ปัจจุบัน ไวรัส SARS-CoV-2 มี Variant ใหม่ ๆ ที่ตรวจพบจำนวนมาก แต่ Variant ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดอยู่ในกลุ่ม สายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ด้วยกัน โดยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาประกาศเปลี่ยนการเรียกชื่อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ โดยมีชื่อเรียกดังนี้ 

 COVID-19 สายพันธุ์ Alpha (สายพันธุ์อังกฤษ) 

ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.1.7 ชื่อใหม่ สายพันธุ์อัลฟ่า มีคุณสมบัติเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด และแพร่กระจายเชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% พบครั้งแรกที่สหราชอาณาจักร ในเดือน ธันวาคม ปี 2020  

 COVID-19 สายพันธุ์ Delta (สายพันธุ์อินเดีย) 

ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.617.2 ชื่อใหม่คือ สายพันธุ์เดลต้า มีคุณสมบัติแพร่เชื้อง่าย แพร่ระบาดเร็วและเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี พบครั้งแรกในประเทศอินเดีย ในเดือน ธันวาคม 2020 

 COVID-19 สายพันธุ์ Beta (สายพันธุ์แอฟริกาใต้) 

ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.351 ชื่อใหม่คือ สายพันธุ์เบต้า มีคุณสมบัติลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้แพร่ระบาดเร็วและแพร่เชื้อไวขึ้นประมาณ 50% พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ ในเดือน ธันวาคม 2020 

 COVID-19 สายพันธุ์ Gamma (สายพันธุ์บราซิล) 

ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ P.1 ชื่อใหม่คือ สายพันธุ์แกมม่า เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ มีคุณสมบัติเลี่ยงภูมิคุ้มกันและลดประสิทธิภาพวัคซีน ตรวจพบจาก            นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากประเทศบราซิล ระหว่างการตรวจคัดกรองภายในสนามบินที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อต้นเดือน มกราคม ปี 2021

สายพันธุ์อื่น ๆ ที่ต้องเฝ้าระวัง (Varients of Interest) 6 สายพันธุ์ 

ชื่อเดิม
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ 
ชื่อใหม่ 
สายพันธุ์แคลิฟอร์เนีย 
B.1.427 /B.1.429 
เอปซิลอน 
สายพันธุ์บราซิล 
P.2 
เซต้า 
 
B.1.525 
อีต้า 
สายพันธุ์ฟิลิปปินส์ 
P.3 
ทีต้า 
สายพันธุ์สหรัฐ 
B.1.526 
ไอโอต้า 
สายพันธุ์อินเดีย 
B.1.617.1 
แคปป้า 

เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ที่น่ากังวลตอนนี้คือ โอไมครอน (Omicron) แพร่เชื้อเร็ว COVID สายพันธุ์ B.1.1.529 ระดับที่น่ากังวล สามารถแพร่กระจายได้ง่ายและไวขึ้นกว่าสายพันธุ์เดลต้า แพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 2-5 เท่า หลบภูมิคุ้มกันเก่ง แม้ว่าเคยติดเชื้อโควิดมาก่อนแล้ว ก็สามารถติดสายพันธุ์นี้ซ้ำได้  

สาเหตุของโรคโควิด-19  

จากการศึกษาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 นักวิจัยพบว่าคลีโอไทด์ (Nucleotide) คล้ายกับเชื้อที่พบจากค้างคาวฝนประเทศจีน จึงทำให้เกิดการสันนิษฐานว่า ต้นกำเนิดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มาจากไวรัสที่พบในค้างคาว และเกิดการกลายพันธุ์จนสามารถแพร่จากสัตว์มาสู่คนได้ จนนำไปสู่การติดเชื้อจากคนสู่คนในที่สุด 

เชื้อ COVID-19 สามารถติดต่อได้จากการรับละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย เช่นการไอ จาม รดกัน รวมถึงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ สัมผัสเชื้อที่อยู่บนพื้นผิวของสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ และเชื้อในอากาศ ผ่านการรับเชื้อทาง ตา จมูก ปาก

เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 อาจอยู่บนพื้นผิวต่าง ๆ ได้ยาวนานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงไปจนถึง 9 วัน โดยพบว่าเชื้อจะตายอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ใต้รังสี UV จากแสงแดด ในทางตรงกันข้าม เชื้อจะอยู่บนพื้นผิวหรือในอากาศได้อย่างยาวนานที่อุณหภูมิห้องหรือต่ำกว่า โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความชื้นสัมพันธ์ (Relative Humidity) ต่ำ อย่างไรก็ตาม WHO ยืนยันว่าเชื้อโควิด-19 ยังคงสามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้ในทุก ๆ สภาพอากาศและสภาพแวดล้อม 

วิธีการตรวจเชื้อ COVID-19 ที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ 

RT-PCR (Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction) คือการตรวจหาเชื้อไวรัสที่ใช้เอสไซม์ Reverse Transcriptase เปลี่ยน RNA ของไวรัส SARS-CoV-2 ให้เป็น DNA จากนั้นจึงใช้เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมคัดลอกชิ้นส่วน DNA ของไวรัสให้มีปริมาณมากพอที่จะวิเคราะห์  DNA ได้ การตรวจด้วยวิธีนี้ สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อได้โดยตรง แม้มีปริมาณเชื้อน้อย หรือติดเชื้อจนเริ่มมีอาการดีขึ้นแล้วก็ยังสามารถตรวจพบซากเชื้อได้ เป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ มีความแม่นยำสูง 

Rapid Test คือ การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้ชุดทดสอบที่มีความรวดเร็วในการตรวจวัด ราคาถูกกว่าการตรวจแบบ RT-PCR แต่จะมีความแม่นยำน้อยกว่า ชุดตรวจ Rapid test มี 2 ชนิด 

  • Rapid Antigen Test เป็นชุดทดสอบสำหรับตรวจหาแอนติเจน (Antigen) ของเชื้อไวรัสในสารคัดหลั่งทางโพรงจมูก วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่เริ่มมีอาการป่วยแต่ยังไม่แน่ใจว่าติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่ มักใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น  
  • Rapid Antibody Test เป็นชุดทดสอบที่ใช้ตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี (Antibody หรือ ภูมิคุ้มกัน) ชนิด  IgG และ IgM ที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อได้รับเชื้อ การตรวจวิธีนี้เหมาะกับการตรวจหลังจากได้รับเชื้อแล้ว 7 วันขึ้นไป เนื่องจากเป็นระยะที่ร่างกายสร้างแอนติบอดีแล้ว หากตรวจในช่วง 1-5 วันแรกอาจพบว่ามีผลเป็นลบวิ

อาการของโรคโควิด-19 

เมื่อได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ติดเชื้ออาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการเลยก็ได้ ความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพผู้ติดเชื้อก่อนได้รับเชื้อด้วย  

ในผู้ป่วยที่แสดงอากร มักมีอาการที่สังเกตได้ คือ มีไข้ ไอแห้ง เจ็บคอ น้ำมูกไหล หายใจเหนื่อยหอบ ซึ่งเป็นอาการเบื้องต้น 

ในผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการทางระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงได้ ได้แก่ ปวดบวม คออักเสบ ไตวาย อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ 

 อาการที่บ่งบอกว่าควรไปพบแพทย์ คือ ไข้สูงเกิน 37.5 อาศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียอย่างมาก ไอถี่ มีเสมหะ หายใจแรงและรู้สึกเจ็บหน้าอก หากสงสัยว่าตนเองได้รับเชื้อ หรือใกล้ชิดผู้ที่ได้รัับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ ควรแยกตัวจากคนอื่น ๆ และเริ่มกักตัวเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันทันที สามารถตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยการเข้ารับการตรวจแบบ RT-PCR ที่โรงพยาบาล หรือแล็บเทคนิคการแพทย์อื่น ๆ ที่ได้รับการรับรอง

การรักษาโรคโควิด-19 กรมการแพทย์ได้แบ่งการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ออกเป็น 3 กรณี 

ผู้ป่วยสีเขียว คือผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการใด ๆ หรือมีอาการไม่รุนแรง คือ มีไข้ ไอ มีน้ำมูก ตาแดง ผื่นขึ้น และไม่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ แนะนำให้กักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือพักที่โรงพยาบาลสนามหรือ Hospitel  โดยระหว่างนี้อาจจะได้รับยาตามอาการ หรือยา Favipiravir ตามดุลยพินิจของแพทย์ 

ผู้ป่วยสีเหลือง ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1000 กลุ่มนี้ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  แพทย์อาจมีการให้ยา Favipiravir ร่วมกับยา Corticosteroid ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ 

ผู้ป่วยสีแดง คือผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เอ็กซ์เรย์พบปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะปอดบวม ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือการลดลงของออกซิเจนมากกว่า 3% หลังออกแรงของค่าที่วัดได้ในครั้งแรกที่ออกแรง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น 

 ยารักษาโรคโควิด-19 

ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโควิด-19 ให้หายขาดได้ ตัวยาที่ใช้ในปัจจุบันกับผู้ป่วย และสามารถลดอาการเจ็บป่วยหรือยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสได้ เช่น 

ยา Favipiravir เป็นยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่คุณสมบัติยับยั้งการจำลองสารพันธุกรรมของไวรัส 

ยาต้านไวรัสเอชไอวี (Darunavir, Lopinavir, Ritonavir) 

ยาในกลุ่ม Corticosteroid (Dexamethasone, Hydrocortisone, Prednisolone, Methylprednisolone) 

ยารักษาโรคมาลาเรีย (Hydroxychloroquine, Chloroquine) 

ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Azithromycin) 

ข้อมูลอ้างอิง 
Raksa Content Team, (ม.ป.ป.) ,  โรคโควิด 19 (COVID-19)  [Online], Available: https://www.doctorraksa.com/th-TH/blog/covid-19.html#what-is-covid-19 [ 8 กุมภาพันธ์ 2565].