นักวิทย์ นักคิดของโลกในสมัยรัชกาลที่ 4

The Pioneer

มารี กูรี (Marie Curie)

          สตรีที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง เป็นนักเคมีผู้ค้นพบธาตุพอโลเนียมและเรเดียม ทำการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับธาตุเรเดียม จนสามารถนำรังสีเรเดียมนั้นมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในระยะแรกได้ ซึ่งถือเป็นการใช้ศาสตร์ด้านเคมีที่ได้รับการยกย่องระดับชีวิตของมนุษย์ที่สำคัญ เธอและสามียังได้ค้นพบปรากฏการณ์กัมมันตภาพรังสี และเป็นศาสตราจารย์หญิงคนแรกของมหาวิทยาลัยแห่งปารีส 

Table of content

ประวัติด้านครอบครัว

          มารี กูรี เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.1867 ที่กรุงวอร์ซอร์ (Warsaw) ประเทศโปแลนด์ ก่อนที่เธอจะสมรสกับปิแอร์ กูรี เธอมีชื่อว่ามารียา สโคลดอฟสกา” (Marja Sklodowska) บิดาของเธอชื่อว่า วลาดิสลาฟ สโคลดอฟสกา เป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อยู่ที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในกรุงวอร์ซอร์ บิดาของเธอมักพาเธอไปห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนด้วยเสมอ ทำให้เธอมีความสนใจวิชาวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก ซึ่งค่านิยมส่วนใหญ่ของสังคมของผู้หญิงในสมัยนั้นจะเป็นการเตรียมตัวเป็นแม่บ้านแม่เรือนมากกว่า หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว มารีและพี่สาวของเธอบรอนยา (Bronisława) ได้เข้าทำงานเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง และรับสอนิเศษให้กับเด็กแถวบ้าน เนื่องจากที่โปแลนด์โดนรัสเซียยึดทำให้ทั้งสองคนมีปัญหาทางการเงินและความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก แต่ก็ไม่หยุดความพยายามในการจะไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศสของทั้งสอง จึงได้ตกลงผลัดกันทำงานและส่งเสียอีกคนเรียน เมื่อบรอนยาเรียนจบแล้วหางานทำมีรายได้แล้วจึงส่งมารีไปเรียนต่อวิทยาศาสตร์บ้าง ในปี ค.ศ.1891 มารีจึงได้เดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส เพื่อศึกษต่อด้านวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปารีส ด้วยเหตุน้ทำให้เธอได้มีโอกาสได้พบกับปิแอร์ กูรี ซึ่งป็นอาจารย์สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยปารีสและเป็นผู้ควบคุมห้องทดลอง ด้วยความที่ทั้งสองมีชีวิตที่คล้ายกัน และมีความักในวิชาวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน ปิแอร์และารีจึงตกลงใจแต่งงานกันในปี ค.ศ.1895 

การค้นพบครั้งสำคัญ

          ในขณะนั้นมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านทำการทดลองและค้นพบรังสีหลายชนิด เช่น ในปี ค.ศ.1879 วิลเลี่ยม ครุกส์ (Willam Crooks) พบรังสีคาโทด (Cathode Ray) ในปี ค.ศ. 1895 วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (Wilheim Konrad Roentgen) ค้นพบรังสีเอกซ์ (X- ray) และอังตวน อังรี เบคเคอเรล (Ahton Henri Becquere) ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของปิแอร์ได้ค้นพบกัมมันตภาพรังสีจากแร่ยูเรเนียม จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน ทำให้มารีมีความคิดที่จะทดลองหากัมมันตภาพรังสีจากแร่ชนิดอื่นดูบ้าง มารีจึงทำการทดสอบหารังสียูเรเนียมโดยการนำธาตุมาบดให้ละเอียด แล้วนำมาโรยใส่แผ่นฟิล์มถ่ายรูปในห้องมืดเพื่อไม่ให้ฟิล์มโดนแสง จากนั้นจึงนำไปล้างถ้าปรากฏจุดสีดำบนแผ่นฟิล์ม แสดงว่าธาตุชนิดนั้นสามารถแผ่รังสีได้ นอกจากนี้ยังสามารถทดสอบได้จากเครื่องแสดงกำลังประจุไฟฟ้า (Electro-scope) มารีได้ร่วมมือกับสามีของเธอคือ ปิแอร์ กูรี ทำการค้นหารังสียูเรนียมจากธาตุชนิดอื่น 

          มารีได้นำธาตุเกือบทุกชนิดมาทำการทดสอบหารังสียูเรเนียม ทั้งธาตุที่มีสารประกอบยูเรเนียมผสมอยู่ และธาตุที่ไม่มียูเรเนียมผสมอยู่ จากการทดสอบทั้งสองพบว่า ธาตุที่เป็นสารประกอบยูเรเนียมสามารถแผ่รังสียูเรนียมได้ แต่ก็ให้กำลังน้อยมากอีกทั้งยังไม่สามารถสงัดยูเรเนียมออกมาได้ แต่มารีก็ยังไม่ละความพยายามเธอยังค้นหาและแยกธาตุชนิดต่างอีกหลายชนิด มารีใช้เวลานานหลายปีในการทดสอบแร่ และในที่สุดเธอก็พบว่าในแร่พิทซ์เบลนด์ (Pitchblende) ซึ่งเป็นรังสีสีดำแข็ง เป็นออกไซด์ชนิดหนึ่งของแร่ยูเรเนียม สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมหลายเท่า แต่การที่แร่พิทซ์เบลนด์สามารถแผ่รังสีได้ เพราะมีธาตุชนิดอื่นผสมอยู่ ทำให้มารีได้พบธาตุใหม่ 2 ธาตุประกอบด้วยพอโลเนียม(Polonium) ซึ่งเรืองแสงได้แต่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และ เรเดียม” (Radium) ที่มีสีเงิน เรืองแสงได้และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในที่มืด มารีได้นำผลงานการค้นพบธาตุเรเดียมมาทำวิทยานิพนธ์สำหรับรับปริญญาเอก เมื่อคณะกรรมการพิจารณารายงานของเธอ พร้อมกับซักถามเกี่ยวกับรายงานอย่างละเอียด คณะกรรมการได้ลงมติให้รายงานของเธอผ่านการพิจารณา ทำให้เธอได้รับปริญญาเอก 

          จากการที่มารีค้นพบธาตุเรเดียมนี้เอง ปิแอร์ และมารีจึงได้ทำการค้นคว้าต่อไปเพื่อแยกธาตุเรเดียมออกจากแร่พิทซ์เบลนด์ให้ได้อย่างจริงจัง โดยมารีได้สั่งซื้อเรเดียมจากออสเตรียจำนวน 1 ตัน เพื่อใช้สำหรับการทดลอง ทั้งสองพยายามแยกแร่เรเดียมด้วยวิธีการต่างหลายวิธี เช่น ใช้สารเคมีบดให้ละเอียดแล้วนำไปละลายน้ำ แยกด้วยไฟฟ้าและใช้เครื่องแสดงกำลังประจุไฟฟ้าบางชนิด เป็นต้น ในที่สุดทั้งสองก็พบวิธีการแยกเรเดียมบริสุทธิ์ ได้สำเร็จในปี ค.ศ.1902 และเรียกเรเดียมบริสุทธิ์นี้ว่าเรเดียม-คลอไรด์” (Radium chloride) และเรเดียมบริสุทธิ์นี้สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 900 เท่า  อีกทั้งเรเดียมบริสุทธิ์ยังมีสมบัติสำคัญอีกหลายประการ ได้แก่ สามารถให้แสงสว่าง และความร้อนได้ นอกจากนี้เมื่อเรเดียมแผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี และสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับเรเดียม ต่อมาในระหว่างที่ปิแอร์ทำการทดลองเกี่ยวกับธาตุเรเดียมอยู่นี้ บังเอิญรังสีโดนผิวหนังของปิแอร์ ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนบนผิวหนังบริเวณนั้น อีกทั้งยังมีรอยแดงเกิดขึ้น แม้ปิแอร์จะตกใจแต่ด้วยความอยากรู้ เขาจึงทำค้นคว้าเกี่ยวกับเรเดียมที่มีผลกระทบต่อผิวหนัง จากการค้นคว้าทดลองปิแอร์สรุปได้ว่า เรเดียมสามารถรักษาโรคผิวหนังและโรคมะเร็งได้ ทั้งสองได้นำผลงานชิ้นนี้ออกเผยแพร่ให้กับสาธารณชนได้รับรู้ และเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 

สตรีที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง

          จากผลงานนี้เอง สามีภรรยาครอบครัวกูรีจึงได้รับมอบรางวัลจากสมาคมวิทยาศาสตร์ ได้แก่ เหรียญทองเดวี่ จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ในปี ค.ศ.1903 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ รวมกับเบคเคอเรล ผู้ค้นพบรังสีจากธาตุยูเรเนียม การรับรางวัลโนเบลในครั้งนี้ทำให้มารีเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล และในปี ค.ศ. 1911 หลังจากที่ปิแอร์เสียชีวิต มารียังได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี จากผลงานการค้นคว้าหาประโยชน์จากแร่เรเดียมเพิ่มเติมอย่างจริงจัง 

คุณประโยชน์เพื่อสังคม

          ต่อมามหาวิทยาลัยปารีสได้อนุมัติเงินก้อนหนึ่งให้กับมารี ในการจัดสร้างสถาบันเรเดียม พร้อมกับอุปกรณ์อันทันสมัยเพื่อทำการทดลองค้นคว้าและแยกธาตุเรเดียม สำหรับประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป มารีได้ออกแบบสถาบันแห่งนี้ด้วยตัวของเธอเอง สถาบันแห่งนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1914 มารีเดินหน้าทดลองค้นคว้าอย่างจริงจัง แต่ถึงแม้ว่าจะมีห้องทดลองและอุปกรณ์ที่ทันสมัยแล้ว แต่ก็มีเหตุที่ทำให้การทดลองต้องหยุดชะงัก เพราะได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทำให้ผู้ช่วยและคนงานที่ทำงานในสถาบันเรเดียม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชายต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เมื่อเป็นเช่นนั้น มารีจึงสมัครเข้าร่วมกับอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บ อีกทั้งยังนำความรู้ไปใช้ในงานครั้งนี้ด้วย เธอจัดตั้งแผนกเอกซเรย์เคลื่อนที่ขึ้น เพื่อตระเวนรักษาทหารที่บาดเจ็บตามหน่วยต่างมารีได้รักษาทหารที่บาดเจ็บด้วยรังสีเอกซ์มากกว่า 100,000 คน 

คุณประโยชน์เพื่อสังคม

          ต่อมามหาวิทยาลัยปารีสได้อนุมัติเงินก้อนหนึ่งให้กับมารี ในการจัดสร้างสถาบันเรเดียม พร้อมกับอุปกรณ์อันทันสมัยเพื่อทำการทดลองค้นคว้าและแยกธาตุเรเดียม สำหรับประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป มารีได้ออกแบบสถาบันแห่งนี้ด้วยตัวของเธอเอง สถาบันแห่งนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1914 มารีเดินหน้าทดลองค้นคว้าอย่างจริงจัง แต่ถึงแม้ว่าจะมีห้องทดลองและอุปกรณ์ที่ทันสมัยแล้ว แต่ก็มีเหตุที่ทำให้การทดลองต้องหยุดชะงัก เพราะได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทำให้ผู้ช่วยและคนงานที่ทำงานในสถาบันเรเดียม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชายต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เมื่อเป็นเช่นนั้น มารีจึงสมัครเข้าร่วมกับอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บ อีกทั้งยังนำความรู้ไปใช้ในงานครั้งนี้ด้วย เธอจัดตั้งแผนกเอกซเรย์เคลื่อนที่ขึ้น เพื่อตระเวนรักษาทหารที่บาดเจ็บตามหน่วยต่างมารีได้รักษาทหารที่บาดเจ็บด้วยรังสีเอกซ์มากกว่า 100,000 คน 

          หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สงบลง มารีได้กลับมาทำงานอีกครั้งหนึ่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายเพราะจากการทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับเรเดียมเป็นเวลานานเช่นนี้ ทำให้เธอได้รับผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสีของเรเดียม ไขกระดูกของเธอถูกทำลายลงทีละน้อย จนในที่สุดร่างกายของเธอก็ทนต่อการทำลายของกัมมันตภาพรังสีเรเดียมต่อไปอีกไม่ได้ เธอจึงเสียชีวิตลงในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1934 แต่ผลงานการทดลองของมารียังใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีจนถึงปัจจุบันนี้ 

สุดท้ายนี้ หากใครสนใจหรืออยากอ่านหนังสือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัว มารี กูรี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรื่องที่เกี่ยวกับองค์ความรู้เฉพาะทาง หรือความรู้รอบตัว สามารถเข้าไปอ่านบทความแนะนำหนังสือของ มารี กูรี ได้ที่ https://kmutt.me/book-curie