ขับเคลื่อนด้วยความรู้และความร่วมมือ
ช่วงที่ 3 : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (พ.ศ. 2529-2540)
บ่มเพาะความรู้และความร่วมมือของสายสนับสนุน วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี เกิดรากฐานปัญญาสู่ความก้าวหน้าด้วยงานวิจัย
ปี 2529
20 กุมภาพันธ์ 2529
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นกรมสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 103 ตอนที่ 26 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2529
20 มีนาคม 2529
สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่ออธิการบดี
28 มีนาคม 2529
คณะกรรมการนโยบายสถาบันฯ มีมติให้คณะกรรมการร่างข้อบังคับว่าด้วยการสรรหาผู้บริหาร ดำเนินการร่างข้อบังคับในการสรรหาผู้บริหารตำแหน่งต่างๆ
16 พฤษภาคม 2529
ศ.จำรัส ฉายะพงศ์ นายกสภาสถาบัน ประกาศใช้ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2529 เป็นฉบับแรก
3 มิถุนายน 2529
สภาสถาบันประกาศใช้ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วยการสรรหานายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบัน พ.ศ. 2529 และแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สถาบัน โดยมี ศ.ประเสริฐ ณ นคร กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานกรรมการ
2 กรกฎาคม 2529
สภาสถาบันประกาศใช้ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วย การสรรหาคณบดี พ.ศ. 2529 ต่อมามีการแก้ไขเล็กน้อย
15 กรกฎาคม 2529
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รศ. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อครบวาระท่านก็ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกวาระหนึ่งจนถึงปัจจุบัน
16 กรกฎาคม 2529
ประกาศใช้ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วย การแต่งตั้งผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ พ.ศ. 2529 และต่อมาในวันที่ 13 สิงหาคม 2529 ก็ได้ประกาศใช้ข้อบังคับอีกฉบับหนึ่ง ว่าด้วย การสรรหาหัวหน้าภาควิชา พ.ศ. 2529
18 สิงหาคม 2529
เริ่มจัดงานวันวิทยาศาสตร์ไทย ณ สถาบัน ฯ และต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม 2529 ได้ดำเนินการเชิญชวนวางพวงมาลา เนื่องในวาระวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ และจัดต่อ ๆ มาเป็นประเพณีทุกปี
18 ตุลาคม 2529
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ประจำปีการศึกษา 2528 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
27 ตุลาคม 2529
ประกาศใช้ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วยสภาคณาจารย์ พ.ศ. 2529 และได้อาจารย์ปรีชา แก้วทอง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นประธานสภาคณาจารย์ท่านแรกตามพระราชบัญญัติสถาบันฯ พ.ศ. 2528 เริ่มปฏิบัติภารกิจตั้งแต่ 30 มกราคม 2530 จนตลอดวาระ 2 ปี
9 พฤศจิกายน 2529
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์ ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ เป็นราชบัณฑิตในประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สถาบันนำผ้ากฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวงวัดโบสถ์ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
27 พฤศจิกายน 2529
ประกาศใช้ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าศูนย์และหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาหรือศูนย์ พ.ศ. 2529
อ.ปรีชา แก้วทอง
ปี 2530
1 กุมภาพันธ์ 2530
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์จำรัส ฉายะพงศ์ เป็นนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมด้วยกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ คือ นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ นายบุญเยี่ยม มีศุข ศ.ไพรัช ธัชยพงศ์ นายวันชัย ศิริรัตน์ และ ศาสตราจารย์สง่า สรรพศรี
9 กุมภาพันธ์ 2530
รศ. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ อธิการบดี เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายประถมาภรณ์ช้างเผือก ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา
พฤษภาคม 2530
สถาบันตั้งคณะทำงานส่งเสริมและประสานงานการวิจัยและพัฒนารวมทั้งเริ่มจัดสรร เงินรายได้เป็น “ทุนวิจัยพระจอมเกล้าธนบุรี” เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้มีนักวิจัยใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ตลอดจนกระตุ้นให้นักวิจัยทั้งใหม่และเก่าเสนอโครงการวิจัยที่เป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติ
1 พฤษภาคม 2530
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเจ้าภาพจัดสัมมนา สภาคณบดีวิศวกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 9 โดยมี นายสุบิน ปิ่นขยัน รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธาน ณ โรงแรมสวนบวกหาด อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
ปีการศึกษา 2530
– คณะพลังงานและวัสดุ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต และระดับปริญญาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ
– ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รับนักศึกษาเข้าศึกษาเป็นปีแรก
– สถาบันได้ลงนามสัญญาความร่วมมือระหว่างสถาบันฯ กับมหาวิทยาลัยคาสเซล
15 มิถุนายน 2530
รัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการความร่วมมือของ ASEAN – Australia Microelectronicsได้มอบคอมพิวเตอร์ Sun Workstation 3/110 สำหรับออกแบบวงจรแผงไฟฟ้า (Integrated Circuit) ให้สถาบันติดตั้งใช้งานเป็นเครื่องแรกในประเทศไทย
19 มิถุนายน 2530
ศ. จำรัส ฉายะพงศ์ เปิดศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีรถยนต์ ณ อาคารวิศวกรรมอุตสาหกรรม 5 ด้วยความร่วมมือของบริษัทเดมเลอร์เบ็นซ์ จำกัด ประเทศเยอรมนี และบริษัทธนบุรีพานิช จำกัด มี Mr. Wolat เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์
18 ตุลาคม 2530
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
30 กันยายน 2530
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STDB) มอบทุนสนับสนุนโครงการวิจัย รศ. ดร. พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ เป็นหัวหน้าโครงการและ STDB ยังได้มอบทุนวิจัยโครงการต่าง ๆ อีกหลายโครงการ
1 พฤศจิกายน 2530
นำผ้ากฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
17 ธันวาคม 2530
บริษัทซูมิโตโม อิเล็กตริก อินดัสตรีส์ จำกัด มอบอุปกรณ์ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยเส้นใยแสงให้สถาบัน เพื่อเริ่มสื่อสารข้อมูลระหว่างส่วนราชการต่างๆ ของสถาบัน
ปี 2531
8 มกราคม 2531
นพ. ณรงค์ นิ่มสกุล ผ่าตัดไฝ โดยใช้เครื่องคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ ซึ่งเป็นผลงานประดิษฐ์ของดร. พิเชษฐ์ ลิ้มสุวรรณ, อาจารย์ดิลก ศรีประไพ และอาจารย์พายับ เรืองแก้ว จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ โรงพยาบาล บางกอกเนอสซิ่งโฮม
19 กุมภาพันธ์ 2531
รศ.ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ อธิการบดี ลงนามในสัญญาแปลตำราให้กับศูนย์ฝึกอบรมการประปานครหลวง
11 มีนาคม 2531
กระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครรับจดทะเบียนจัด ตั้ง “มูลนิธิประภา – สมพงษ์” เป็นนิติบุคคล วัตถุประสงค์เพื่อให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน สนับสนุนการวิจัย หรือให้รางวัลเกียรติยศแก่ผู้สร้างชื่อเสียงและคุณประโยชน์แก่สถาบันและ ประเทศชาติ
5 พฤษภาคม 2531
พระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้ง “สำนักห้องสมุดและบรรณสารสนเทศ” ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 73 หน้า 136-137 เพื่อให้เป็นองค์กรกลางในการจัดและบริหารงานห้องสมุดและสารนิเทศ และสนับสนุนภารกิจของสถาบันในการจัดการศึกษา สำนักฯ แบ่งส่วนราชการเป็น 4 กอง ได้แก่ สำนักงานผู้อำนวยการ ฝ่ายบรรณสารสนเทศ ฝ่ายบริการห้องสมุด และฝ่ายวารสาร
10-11 พฤษภาคม 2531
ประชุมสัมมนาผู้บริหารสถาบันร่วมกับนักศึกษาเก่าเป็นครั้งแรก เรื่อง “ทิศทางของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีในทศวรรษหน้า (2532-2541)” ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
10 กรกฎาคม 2531
พระองค์เจ้าภานุพันธ์ ยุคล องคมนตรี ผู้แทนพระองค์ เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ จำรัส ฉายะพงศ์ ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส
30 มิถุนายน 2531
ศาสตราจารย์ จำรัส ฉายะพงศ์ ถึงแก่อนิจกรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายบุญเยี่ยม มีศุข เป็นนายกสภาสถาบัน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 – 1 กันยายน 2541
6 สิงหาคม 2531
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4/2531 มีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งภาษาอังกฤษ ได้แก่
- อธิการบดี President
- รองอธิการบดี Vice – President
- นายกสภามหาวิทยาลัย Chairman of University Council
- ที่ประชุมอธิการบดีฯ The Council of University President of Thailand
12 สิงหาคม 2531
สมาชิกชมรมไฟฟ้าและสโมสรนักศึกษา ได้ออกบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ร่วมกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
28 กันยายน 2531
รศ.ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ อธิการบดี ลงนามในสัญญาทุนวิจัย Industrial Fish Sauce Fermantation by Recycling System ของ ผศ. สายพิณ ไชยนันทน์ จาก กพวท. (STDB)
17 ตุลาคม 2531
ทบวงมหาวิทยาลัยประกาศแบ่งส่วนราชการในสำนักงานอธิการบดีของสถาบันเป็นกองกลาง กองกิจการนักศึกษา กองบริการการศึกษา และกองแผนงาน ต่อมาในวันที่ 3 มีนาคม 2532 ทบวงฯ ประกาศให้มีศูนย์การศึกษาต่อเนื่องเพิ่มในสำนักงานอธิการบดี
18 ตุลาคม 2531
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2530 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
5 พฤศจิกายน 2531
สถาบันนำผ้ากฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปี 2532
17 มกราคม 2532
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ เรียกร้องให้ลดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์จาก 5 ปี เป็น 4 ปี รอฟังผลการประชุมจากคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตร์
27 มกราคม 2532
รศ.ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ อธิการบดี ให้สัมภาษณ์คุณศรีพิไล ทองพรหม เนื่องในโอกาสครบรอบ 29 ปีของสถาบัน
1 กุมภาพันธ์ 2532
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายบุญเยี่ยม มีศุข เป็นนายกสภาสถาบัน พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ สง่า สรรพศรี นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ นายวันชัย ศิริรัตน์ ศาสตราจารย์ ไพรัช ธัชยพงศ์ และนายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ เป็นกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
ดร.บวร ปภัสราทร
ปีการศึกษา 2532
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาอุตสาหการ เปิดสอนระดับปริญญาโท
7 กันยายน 2532
รศ.ดร. พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น (รางวัลที่ 3) จากผลงานวิจัยเรื่อง “คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ และการประยุกต์ใช้งาน”
9 กุมภาพันธ์ 2532
พระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้ง “ สำนักคอมพิวเตอร์” เพื่อให้เป็นส่วนราชการที่ทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา วิจัยและพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ สำนักคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 กอง คือ สำนักงานผู้อำนวยการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายพัฒนาระบบ ฝ่ายวิจัยและฝึกอบรม โดยมี ดร. บวร ปภัสราทร เป็นผู้อำนวยการสำนักท่านแรก
18 ตุลาคม 2532
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2531 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
4 พฤศจิกายน 2532
สถาบันนำผ้ากฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
24-26 พฤศจิกายน 2532
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ บรมราชกุมารี ทรงเสด็จเยี่ยมโรงงานหลวง อาหารสำเร็จรูป พร้อมทั้งเยี่ยมชมกิจการของโครงการหลวง อ.แม่จัน จ.เชียงราย อาจารย์บุญเยี่ยม มีศุข นายกสภาสถาบัน, รศ.ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ อธิการบดี และคณะ เฝ้ารับเสด็จ
6 ธันวาคม 2532
กระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิเพื่อการพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” เป็นนิติบุคคล เพื่อพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันให้เกิดความก้าวหน้าและ มีประสิทธิภาพสูงทั้งด้านวิชาการและด้านอื่นๆ ในการให้บริการวิชาการแก่สังคม สถาบันได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ปี 2533
31 มีนาคม – 1 เมษายน 2533
จัดสัมมนาเรื่อง “ทิศทางแผนพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระยะที่ 7” ณ โรงแรมกาลพฤกษ์ จ.สุพรรณบุรี
14 พฤษภาคม 2533
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมเคมี และสายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ จัดสัมมนานานาชาติเรื่อง “ASEAN – EC Workshop on Biochemical Engineering” ระหว่างวันที่ 14 – 18 พฤษภาคม 2533 โรงแรม เอเซีย
17-18 พฤษภาคม 2533
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล สจธ. และเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล จัดสัมมนาทางวิชาการ ทางวิศวกรรมเครื่องกล ครั้งที่ 4 เรี่อง “วิศวกรรมเครี่องกล กับประเทศอุตสาหกรรมใหม่”
27 พฤษภาคม 2533
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน นำนักเรียนนายร้อย จปร. เยี่ยมชมโรงงานหลวง อาหารสำเร็จรูป อ.ระหานทราย จ.บุรีรัมย์ โดยมี รศ.ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ อธิการบดี และคณะ เฝ้ารับเสด็จ
ปีการศึกษา 2533
- ภาควิชาวิศวกรรมเคมี เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
- ภาควิชาคณิตศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
- คณะพลังงานและวัสดุ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตและปริญญาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวด ล้อม และหลักสูตรปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีพลังงาน
15 สิงหาคม 2533
- คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับการอนุมัติให้แยกออกจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 146 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2533 มี ดร.ปรุงจันทร์ วงศ์วิเศษ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีท่านแรก
- พระราชกฤษฎีกาให้ จัดตั้ง “สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ” เพื่อเป็นองค์กรกลางในการพัฒนาโรงงานต้นแบบ และจัดฝึกอบรมในด้านการออกแบบการสร้างอุปกรณ์ การติดตั้ง การเดินเครื่องของโรงงาน การซ่อมแซมบำรุงรักษาโรงงาน ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประกอบด้วย
ดร.ปรุงจันทร์ วงศ์วิเศษ
– สำนักงานอธิการบดี
– คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
– คณะพลังงานและวัสดุ
– คณะวิทยาศาสตร์
– คณะวิศวกรรมศาสตร์
– สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
– สำนักคอมพิวเตอร์
– สำนักห้องสมุดและบรรณสารสนเทศ
27 กันยายน 2533
คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการอนุมัติแบ่งส่วนราชการตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 190 ดังนี้
1) สำนักงานคณบดี
2) ภาควิชาคณิตศาสตร์
3) ภาควิชาเคมี
4) ภาควิชาจุลชีววิทยา
5) ภาควิชาฟิสิกส์
6) ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานและอุตสาหกรรม
11 ตุลาคม 2533
จัดสัมมนาเรื่อง “การกำหนดกรอบ แนวคิด เพื่อการจัดทำแผนแม่บท และแผนปฏิบัติการของสถาบันพัฒนาฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ”
15 ตุลาคม 2533
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2532 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
21 พฤศจิกายน 2533
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ร่วมกับภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จัดประชุมทางวิชาการเรื่อง “นวัตกรรมการศึกษาใน ทศวรรษใหม่” เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีของสถาบัน ระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2533
27 พฤศจิกายน 2533
ศูนย์การการศึกษาต่อเนื่องร่วมกับคณะพลังงานและวัสดุ และกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน ประชุมนานาชาติเรื่อง “International Conference on Energy and Environment”
ปี 2534
18 มิถุนายน 2534
สภาคณาจารย์จัดอภิปรายเรื่อง “สถาบันออกนอกระบบราชการเป็นอย่างไร” ผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย รศ.ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์, ผศ. สิริศักดิ์ ปโยธรสิร,ิ คุณปราโมทย์ โชติมงคล, ผศ.ลาวัลย์ ไกรเดช, รศ.ดร.องค์การ อินทรัมพรรย์ โดยมีอาจารย์พนม ภัยหน่าย เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์จำรัส ฉายะพงศ์
10 กรกฏาคม 2534
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร, ศ.ดร.ไพรัตน์ ธัชยะพงษ์, ดร.บวร ปภัสราทร และตัวแทนจากภาคเอกชนร่วมแถลงข่าวเปิดตัว หน่วยบริการสารสนเทศธนบุรี (Thonburi Infortech) โดยการสนับสนุนของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กส์ทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
19 กันยายน 2534
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ชี้แจงเรื่อง “มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล” ให้กับบุคลากรของสถาบัน ณ ห้อง ประชุม ศาสตราจารย์จำรัส ฉายะพงษ์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลชมเชย รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ ระบบดายเลเซอร์ ของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานอุตสาหกรรม (รศ.ดร.วุฑฒิ พันธุมนาวิน และคณะ) และเรือกำจัดผักตบชวา ของภาควิชาวิศวกรรมเครี่องกล (ผศ.จำรูญ ตันติพิศาลกุล และคณะ)
24 ตุลาคม พ.ศ.2534
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 6 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันฯ ได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม SALC หรือ ศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง ของคณะศิลปศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างบรรยากาศในการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ
29 ตุลาคม พ.ศ.2534
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2533 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
ปี 2535
9 มกราคม 2535
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ชี้แจงเรื่อง มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล แก่ข้าราชการของสถาบัน
ปีการศึกษา 2535
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาระบบควบคุมและเครื่องมือวัด วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- คณะพลังงานและวัสดุ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ
3 สิงหาคม 2535
รศ.ดร.พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ และคณะ รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประจำปี 2535 ของสภาวิจัยแห่งชาติ (รางวัลที่ 3) เรื่อง “การสร้างเครื่องสปัตเตอริงแบบแมกนิตรอนรูปทรงกระบอก”
27 ตุลาคม 2535
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2534 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
3 ธันวาคม 2535
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 15
24 ธันวาคม 2535
สภามหาวิทยาลัยฯ อนุมัติให้จัดตั้ง สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.) และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2540
ปี 2536
26 มกราคม 2536
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ แห่งประเทศไทย เรื่อง “โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และการจัดการปิโตรเคมี”
28 มกราคม 2536
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี, ดร.เกษรา วามะศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา และรศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ บรรยายพิเศษเรื่อง “ระบบมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลดีกว่าระบบมหาวิทยาลัยปัจจุบันอย่างไร”
27 กุมภาพันธ์ 2536
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดย รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี, บริษัท วันไทย คอมพิวเตอร์ จำกัด โดยคุณปรีชา เลาหพงศ์ชนะ กรรมการผู้อำนวยการ และบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด โดยคุณนิวัฒน์ บุญทรง กรรมการผู้อำนวยการ เซ็นสัญญาความร่วมมือในการผลิต จัดจำหน่ายดิคชันนาเรเตอร์
10 มีนาคม 2536
ศ.ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และคณะ ให้การต้อนรับ พ.ต.บัญชา ไชยประติยุทธ ผู้อำนวยการกองกลาง สำนักราชเลขาธิการ และคณะมาทดสอบการใช้งาน ดิคชันนาเรเตอร์ ก่อนนำเครื่องขึ้นทูลเกล้าถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
18 พฤษภาคม 2536
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดบรรยายพิเศษเรื่อง “มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล” โดยเชิญคุณปราโมทย์ โชติมงคล ผู้ช่วยปลัดทบวงมหาวิทยาลัย บรรยายเรื่อง “หลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และบทเฉพาะการ” และ รศ. ดร.องค์การ อินทรัมพรรย์ บรรยายเรี่อง “การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล” โดยมี รศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ เป็นผู้ดำเนิน การบรรยาย
19 พฤษภาคม 2536
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดสัมมนาสำหรับผู้บริหารเรื่อง “การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ณ โรงแรมสยามซิตี้
28 -29 พฤษภาคม 2536
สำนักห้องสมุดและบรรณสารสนเทศ ร่วมกับชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา จัดประชุมทางวิชาการ เรื่อง “ระบบห้องสมุดอัตโนมัติและสำนักงานอัตโนมัติ” ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์
ปีการศึกษา 2536
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
- คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งตนเอง
- คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาเคมีอุตสาหกรรม และสาขาวิชาฟิสิกส์
- คณะพลังงานและวัสดุ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอุณหภาพ
17 มิถุนายน 2536
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี ชี้แจงผลการสัมมนากลุ่มย่อย เรื่อง “การนำสถาบันเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล” ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายาพงศ์
16 กรกฎาคม 2536
จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง “ISO 9000 การบริหารงานของระบบมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลในอนาคตให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล”
1 กันยายน 2536
กรมเจ้าท่า ลงนามว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ต่อสร้างเรือกำจัดผักตบชวา
4 กันยายน 2536
จัดประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ (ปอมท) ในโอกาสนี้ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน บรรยายพิเศษเรื่อง “ทิศทางมหาวิทยาลัยในอนาคต”
11 ตุลาคม 2536
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมเคมี สจธ. จัดการประชุมวิชาการทางวิศวกรรมเคมีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3
18 ตุลาคม 2536
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2535 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
19 ตุลาคม 2536
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี รับมอบรถไฟเครื่องจักรไอน้ำจำลองจาก ศ.คิโยยาซึ โอกาวา อธิการบดี Nippon Institute of Technology ประเทศญีปุ่น
ปี 2537
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งขึ้นในปี 2537 โดยมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
9 กุมภาพันธ์ 2537
ศ.ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์, อาจารย์บุญเจริญ ศิริเนาวกุล, อาจารย์นวลทิพย์ ตันติเศวตรัตน์ และคณะ เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช เพื่อถวาย Dictionarater ณ คณะเหลืองรังษี วัดบวรนิเวศวรมหาวิหาร
25 เมษายน 2537
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับคณะกรรมการวิจัยพลังงานนอกแบบแห่งอาเชี่ยน และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จัดประชุมนานาชาติ The 5th ASEAN Conference on Energy Technology ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2537
13 พฤษภาคม 2537
สภาคณาจารย์ จัดสัมมนาเรื่อง พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของสจธ.
ปีการศึกษา 2537
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบันฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
- คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทและประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรชีวมวลและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ตามโครงการความร่วมมือผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับสภาอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโครงการพิเศษจัด การเรียนการสอนภาคค่ำเป็นปีแรก
15 มิถุนายน 2537
ชมรมข้าราชการสาย ค. สาย ข. และลูกจ้าง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดเสวนาเรื่อง “สถานภาพของท่านจะ เป็นอย่างไร ใน ม. กำกับ”
30 มิถุนายน 2537
สภาคณาจารย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดเสวนาเรื่อง การเปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล
17 สิงหาคม 2537
ศ.ดร.พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ และคณะ เข้ารับรางวัลชมเชย ผลงานคิดค้น หรือสิ่งประดิษฐซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประจำปี 2537 เรื่อง “การสร้างและพัฒนาเตาไฟฟ้าอุณหภูมิสูง สำหรับใช้ในการเผาพลอย”
26 กันยายน 2537
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี ร่วมสนทนาในรายการ ตรงประเด็น ทางช่อง 9 ในหัวข้อเรื่อง บทบาทของทบวง มหาวิทยาลัย กับการพัฒนามหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล ผู้ร่วมสนทนาประกอบด้วย ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ผศ. ผาสุข กุลละวณิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีคุณถวัลย์ศักดิ์ สุขะวัลย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
30 กันยายน 2537
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี เปิดงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 190 ปี วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
14 ตุลาคม 2537
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดพิมพ์หนังสือ “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื่องด้วยเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 190 พรรษา
18 ตุลาคม 2537
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2536 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
5 พฤศจิกายน 2537
นำผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวาย ณ วัดสมุหประดิษฐาราม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
12 ธันวาคม 2537
จัดหาที่ดินใหม่ เพื่อสร้างวิทยาเขตบางขุนเทียน
25 ธันวาคม 2537
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี และคณะ เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เพื่อทูลเกล้าถวายปริญญาดุษฏี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศาสตร์
ปี 2538
มิถุนายน 2538
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดตั้งศูนย์วิจัยกลศาสตร์ของไหลและเครื่องจักรกลเทอร์โบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้การใช้วัสดุ ครุภัณฑ์ และสถานที่ของภาควิชามีประสิทธิภาพสูงสุด
5 กรกฎาคม 2538
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี เป็นประธานเปิดศูนย์พัฒนาเด็ก สจธ.ศูนย์พัฒนาเด็ก สจธ. จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการของบุคคลากรของสถาบัน
ดำเนินการโดยสภาคณาจารย์ รับดูแลเด็กตั้งแต่อายุขวบครึ่งถึงสามขวบ ชั้น 1 อาคารสัมมนา
9 ตุลาคม 2538
พระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้ง “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์” ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนที่ 43ก หน้า 8-10
ปีการศึกษา 2538
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
- คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ และเปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรต่อเนื่อง)
- คณะรัฐมนตรีลงมติรับหลักการแห่ง พรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจแก้ไข ร่างพรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
ปี 2539
4 กุมภาพันธ์ 2539
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันครบรอบ 36 ปี สถาบันได้จัดให้มีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 37 รูป พิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระ อริยพรหม นอกจากนี้ยังจัดให้มีพิธีมอบเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการ มอบโล่ เกียรติบัตรแก่ผู้มีอุปการะคุณต่อสถาบัน รวมทั้งจัดพิธีน้อมรำลึกพระคุณผู้ก่อตั้งสถาบัน และในตอนเย็นได้จัดให้มีงานราตรีบางมดด้วย
6 กุมภาพันธ์ 2539
รศ.ดร. พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ และคณะ เข้ารับรางวัลสิ่งประดิษฐคิดค้นประจำาปี 2539 ประเภททั่วไป รางวัลที่ 2 ผลงาน เครื่องแกะสลักด้วยเลเซอร์ จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ รศ.ดร.จงจิตร หิรัญลาภ ได้รับรางวัลชมเชย ผลงาน เครื่องอบแห้ง จากมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
10 กุมภาพันธ์ 2539
สถาบันได้จัดอบรมสัมมนาเรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของผู้บริหารในสำนักงานอธิการบดี” เมื่อวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2539 ณ โรงแรมหมู่บ้านแม่น้ำแคว จ.กาญจนบุรี เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และหาแนวทางในการพิจารณา แก้ไขปัญหารวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้อำนวยการกองและหัวหน้า หน่วยงานต่างๆ
21 มีนาคม 2539
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีร่วมกับกองบรรณาธิการรายการไอที-11 และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จัดสัมมนาเรื่อง “บทบาสื่อมวลชนและการรายงานข่าวเทคโนโลยี” โดยมี นายจุมพล เหราปัตย์ ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา ณ ศูนย์ฝึกอบรมองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
26 เมษายน 2539
สถาบันจัดปฐมนิเทศข้าราชการใหม่ประจำปี 2539 เมื่อวันที่ 26-28 เมษายน 2539 ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์ และโรงแรมสวนบวกหาด อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี โดยจัดให้ข้าราชการทั้งสาย ก,ข และ ค ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เพื่อเป็นการเสริมสร้างให้ข้าราชการได้รับรู้ถึงนโยบาย เป้าหมาย การบริหารงานของสถาบัน รวมทั้งได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประสานงานและการพัฒนาสถาบัน
20 มิถุนายน 2539
สถาบันฯ ได้ร่วมลงนามเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการกับสถาบัน MIT (Massachusette Institute of Technology) โดยมีข้อผูกพันร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานของสถาบันฯ ต่อไป ในอนาคต ทั้งยังสามารถเป็นโครงการนำร่องในการที่มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาในประเทศจะได้นำเป็นแนวปฎิบัติในการแสวงหาความร่วมมือกับ ต่างประเทศ
15 กรกฎาคม 2539
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดีร่วมลงนามในสัญญากับ มร. ไบรอัน บอลด์วิน กรรมการผู้จัดการบริษัทคาสตรอล (ไทยแลนด์) จำกัด ในความตกลงร่วมกันจัดทำ KMITT-Castrol Seminar Room เพื่อปรับปรุงห้องสัมมนาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมให้เป็นห้องสัมมนาระดับ มาตรฐานที่ทันสมัยและสมบูรณ์ที่สุด เพื่อใช้ฝึกอบรมนักศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ
18 สิงหาคม 2539
สถาบันฯ จัดพิธีวางพานพุ่มบูชาพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์
2 กันยายน 2539
ศูนย์หนังสือพระจอมเกล้าธนบุรี (KMITT Book Center) ได้เริ่มเปิดดำเนินการ ณ ชั้นล่างอาคารพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ 190 ปี โดยให้บริการจำหน่ายหนังสือและรับสั่งซื้อหนังสือ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ข้าราชการและบุคคลทั่วไป
27 กันยายน 2539
สถาบันได้จัดงานเสวนาพิเศษ ให้กับรองศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ ที่ปรึกษาสถาบันและอดีตอธิการบดีคนแรกของสถาบัน เพื่อเป็นการแสดงมุทิตาจิต เนื่องในวโรกาสเกษียณอายุราชการ ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์ และในตอนค่ำได้จัดให้มีงานเลี้ยงเกษียณอายุให้กับท่านที่ปรึกษาและข้าราชการ ท่านอื่นๆ ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารเรียนรวม 5
1 ตุลาคม 2539
รองศาสตราจารย์ ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี เป็นประธานในงานบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต จัดให้มีพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ และทำพิธีสงฆ์ ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์
18 ตุลาคม 2539
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2538 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
25 ตุลาคม 2539
ศาสตราจารย์ ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ คณะพลังงานและวัสดุ ได้รับเลือกจากสภาวิจัยแห่งชาติ ให้เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) คัดเลือกให้เป็นเมธีวิจัยอาวุโส ประจำปี 2539
31 ตุลาคม 2539
กองบริการการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เรียนเชิญ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นผู้บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “ก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัยเอ็นทรานซ์ระบบใหม่” เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมกับการเอ็นทรานซ์ระบบใหม่ที่เริ่มใช้ในปีการ ศึกษา 2542 โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก
14 พฤศจิกายน 2539
ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ โปรดเกล้าฯ ให้ ฯพณฯ พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ เป็นผู้แทนพระองค์ในการเปิดสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเปิดนิทรรศการเทคโนโลยีเพื่อศตวรรษหน้า ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี ร่วมลงนามกับ Mrs. Doris Wibunsin ผู้อำนวยการ NTU/Thailand ในข้อตกลงให้สถาบันฯ เป็นศูนย์เครือข่ายรับสัญญาณของ NTU (National Technological University) โดย NTU เป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดสัญญาณการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 50 แห่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ของอาจารย์นักศึกษาของสถาบันที่จะได้รับวิทยาการใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
- นายกฤษณ์ ทองขุนดา นักศึกษาโครงการพิเศษฯ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้รับรางวัลที่ 2 จากการส่งโครงงานเข้าประกวดงานสิ่งประดิษฐ์ด้านเครื่องกลไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 1 (กลุ่มอายุ 18-25 ปี) ประจำปี 2539 ซึ่งจัดโดยบริษัทฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผลงานที่ได้รับรางวัล คือ “กุญแจคอมพิวเตอร์ความปลอดภัยสูง”
- คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อร่าง พรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และให้นำเสนอรัฐสภาต่อไป
ปี 2540
มจธ. โดยความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาจูเซส (MIT) จัดตั้งโครงการทักษะวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering Practice School, ChEPS)
21 พฤษภาคม 2540
จัดตั้งสำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.) ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 16ก หน้า 3-5
22 พฤษภาคม 2540
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
- คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมซอฟแวร์
- คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวเคมี
19 ตุลาคม 2540
พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประจำาปีการศึกษา 2539