เทศกาลและดังโงะ
ปัจจุบันเรารู้จักกับขนมดังโงะในรูปแบบของว่าง เป็น ขนมทานเล่น ที่หาได้ทั่วไป ซึ่งเดิมทีแล้วขนมดังโงะเป็นขนมที่ใช้ไหว้พระจันทร์ และร่วมรับประทานในการเที่ยวชมเทศกาลต่างๆ ของชาวญี่ปุ่น แต่จะมีที่มาจากเทศกาลอะไรบ้าง เชิญติดตามเนื้อหาเกี่ยวกับเทศกาลและดังโงะด้านล่างนี้
เทศกาลชมพระจันทร์
(Tsukimi)
ประวัติ / ความเป็นมา
เทศกาลชมพระจันทร์ (Tsukimi) ในประเทศญี่ปุ่นสามารถเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า จูโกะยะ (十五夜) ที่แปลว่าวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ตามปฏิทินเดิมหรือปฏิทินตามจันทรคติ ซึ่งเป็นวันจัดงานเทศกาลชมพระจันทร์ของทุกปี และในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่พระจันทร์ขึ้นเต็มดวงและงดงามที่สุดในรอบปีอีกด้วย
ญี่ปุ่นได้รับธรรมเนียมการชมพระจันทร์มาจากจีนตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 7-9 ซึ่งเป็นการชมพระจันทร์อย่างแท้จริงที่ผู้คนสนุกสนานไปกับเสียงดนตรีขณะชมพระจันทร์ และได้ประพันธ์บทกวีต่าง ๆ ร่วมกันภายในงานเทศกาล
ต่อมาในยุคเอโดะ ธรรมเนียมการชมพระจันทร์เริ่มแพร่หลายสู่ประชาชน ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเทศกาลเป็นการไหว้ขอบคุณพระจันทร์หลังจากเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และขอพรให้ได้พืชผลที่ดียิ่งขึ้นในปีถัดไป
ในปัจจุบันเทศกาลชมพระจันทร์ได้รับความนิยมน้อยลงเนื่องจากมีตึกอาคารที่สูงอยู่ทั่วเมือง ทำให้บดบังทิวทัศน์ในการชมพระจันทร์ แต่เทศกาลชมพระจันทร์ยังคงจัดอยู่จนถึงทุกวันนี้
ความเชื่อและดังโงะ
คนญี่ปุ่นในสมัยก่อนเชื่อกันว่าพระจันทร์มีพลังงานลึกลับที่ช่วยให้พืชผลที่ปลูกนั้นอุดมสมบูรณ์ จึงได้ทำขนมไหว้พระจันทร์ขึ้น ชนิดของขนมที่ใช้ไหว้เป็นหลัก คือ ทสึคิมิดังโงะ เป็นขนมที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาล ปั้นเป็นก้อนทรงกลมตามรูปร่างของพระจันทร์แล้วนึ่งให้สุก ส่วนมากจะจัดเตรียมไว้ทั้งหมด 12 ลูก ตามจำนวนเดือนทั้ง 12 ของปี หรือ 15 ลูก ตามคำเรียกวันขึ้น 15 ค่ำ (จูโกะยะ 十五夜) และมักจะจัดเรียงเป็นรูปทรงพีระมิด เพราะเชื่อว่าจะทำให้ทสึคิมิดังโงะใกล้กับพระจันทร์มากยิ่งขึ้น
อ้างอิงFeel Fukuoka Japan, 2563, ประเพณีฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่น “เทศกาลไหว้พระจันทร์” [Online], Available: https://feelfukuoka.com/th/culture-lifestyle/tsukimi/#id-1 [5 กันยายน 2565].
Katto, 2017, เทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือ เทศกาลชมจันทร์ในญี่ปุ่น (月見 หรือ 中秋の名月) และคำเรียกคืนที่สิบห้า (十五夜) [Online], Available: https://redlovetree.com/fullmoon-japan-tsukimi/ [5 กันยายน 2565].
The Nippon Communications, 2560, “Tsukimi”: The Japanese Tradition of Autumn Moon Viewing [Online], Available: https://www.nippon.com/en/features/jg00115/ [5 กันยายน 2565].
เทศกาลฮานามิ
(Tsukimi)
ประวัติ / ความเป็นมา
เทศกาลฮานามิ (Hanami) เป็น เทศกาลที่ผู้คนนิยมมาชมดอกซากุระบานในช่วงฤดูใบไม้ผลิของทุกปี ในยุคสมัยนารา (ก่อนยุคเฮอัน ค.ศ. 710 – ค.ศ. 794)เป็นยุคเริ่มแรกที่มีธรรมเนียมการชมดอกไม้ในญี่ปุ่น แต่ในสมัยนั้นนิยมชมดอกบ๊วยแทนดอกซากุระ เพราะเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับมาจากประเทศจีน และเป็นธรรมเนียมสำหรับชนชั้นสูงเท่านั้น
ต่อมาในยุคเฮอันได้เปลี่ยนการชมดอกบ๊วยเป็นดอกซากุระ โดยบุคคลแรกที่จัดการชมดอกซากุระขึ้น คือ จักรพรรดิซากะ จัดขึ้นในปี ค.ศ. 812 และในบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นชื่อว่า “The Manyoshu” หรือ Collection of Ten Thousand Leaves (เป็นหนังสือรวมกวีนิพันธ์บองบทกวีญี่ปุ่นโบราณ ที่รวบรวมกันมาตั้งแต่ปีค.ศ. 759 ในสมัยนารา) ได้กล่าวถึงคำว่าซากุระไว้ในบทกวีด้วย
เมื่อเริ่มเข้ายุคคามากูระจนถึงยุคมุโรมาจิ ธรรมเนียมการชมดอกซากุระได้แพร่หลายสู่ชนชั้นซามูไร และในยุคเอโดะได้เกิดงานเลี้ยงใหญ่ขึ้นที่ถูกจัดโดย ไดเมียวฮิเดโยชิ โตโยโตมิ ชื่องานว่า “ไดโกะ โนะ ฮานามิ (Daigo no hanami)” มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 5,000 คน ภายในงานนั้นเฉลิมฉลองด้วยเสียงดนตรีและอาหารมากมาย “ฮานามิดังโงะ” เป็นหนึ่งในอาหารที่จัดขึ้นในงานเลี้ยง หลังจากนั้นธรรมเนียมการชมซากุระก็ได้แพร่หลายสู่ชุมชน ทำให้กลายเป็นเทศกาลฮานามิอย่างที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้
ความเชื่อและดังโงะ
ฮานามิดังโงะ คือ ขนมที่รับประทานกันระหว่างชมซากุระภายในเทศกาล เป็นดังโงะ 3 สี คือ สีชมพู, สีขาว และสีเขียว แต่ละสีนั้นมีความหมายเป็นของตัวเองและมีความหมายมากกว่า 1 ความหมายดังนี้
ความหมายที่ 1 แทนการออกดอกของซากุระ
สีชมพู หมายถึง ดอกที่ยังตูม
สีขาว หมายถึง การบานออกของดอกซากุระ
สีเขียว คือ ใบไม้
ความหมายที่ 2 แทนการสื่อความหมายของฤดูกาล
สีชมพู หมายถึง ดอกซากุระเป็นตัวแทนของฤดูใบไม้ผลิ
สีขาว หมายถึง หิมะเป็นตัวแทนของฤดูหนาวที่เพิ่งผ่านไป
สีเขียว หมายถึง ต้นไม้เป็นตัวแทนของหน้าร้อนที่ใกล้เข้ามา
ความหมายที่ 3 แทนความสวยงามของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้ผลิ
สีชมพู คือ ดอกซากุระ หรือ พระอาทิตย์
สีขาว คือ หิมะที่ยังหลงเหลือปกคลุมอยู่
สีเขียว คือ ต้นหญ้าเขียว
แต่สำหรับชาวเกษตรกรแล้วเทศกาลฮานามิเป็นเทศกาลสำหรับขอพรกับเทพเจ้าเรื่องผลผลิตทางการเกษตรมากกว่าการเฉลิมฉลองทั่วไป โดยมีความเชื่อกันว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ เทพเจ้าแห่งท้องนาจะลงจากภูเขามาสถิตในดอกซากุระเพื่อทำนายเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร ด้วยการดูลักษณะการผลิดอกของซากุระ รวมถึงการเตรียมการหว่านเมล็ดข้าว ตามความเชื่อที่ปรากฏในบทกวี The Manyoshu ที่ให้ความหมายของซากุระโดย “ซา” หมายถึงเทพเจ้าแห่งท้องนา และ “กุระ” หมายถึงตัวแทนของแท่นถวายของบูชา และเมื่อดอกซากุระบานนั้น จึงหมายถึง เทพแห่งท้องนาได้ลงมาจากภูเขาและเป็นสัญญาณบอกสำหรับเวลาในการปลูกข้าวนั่นเอง
อ้างอิง
ไอซึ, 2562, ดังโงะ (Dango) ขนมโบราณที่อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมานับร้อยปี [Online], , Available: https://www.marumura.com/dango/ [8 กันยายน 2565]
KIJI, 2565, รู้จักกับ “เทศกาลฮานามิ” ฤดูแห่งซากุระบานสะพรั่ง พร้อมกับแนะนำสูตรอาหารเพิ่มความสดชื่น [Online], Available: https://kiji.life/hanami-ufm-fuji-super/ [8 กันยายน 2565]
Kirsty Kawano, 2563, The History Of Hanami: Cherry Blossom Viewing Over The Ages [Online], Available: https://savvytokyo.com/history-of-hanami-cherry-blossom-viewing-over-the-ages/ [8 กันยายน 2565]
Mark Cartwright, 2560, Manyoshu [Online], Available: https://www.worldhistory.org/Manyoshu/ [9 กันยายน 2565]
สีชมพู หมายถึง ดอกซากุระเป็นตัวแทนของฤดูใบไม้ผลิ
สีขาว หมายถึง หิมะเป็นตัวแทนของฤดูหนาวที่เพิ่งผ่านไป
สีเขียว หมายถึง ต้นไม้เป็นตัวแทนของหน้าร้อนที่ใกล้เข้ามา
ความหมายที่ 3 แทนความสวยงามของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้ผลิ
สีชมพู คือ ดอกซากุระ หรือ พระอาทิตย์
สีขาว คือ หิมะที่ยังหลงเหลือปกคลุมอยู่
สีเขียว คือ ต้นหญ้าเขียว
แต่สำหรับชาวเกษตรกรแล้วเทศกาลฮานามิเป็นเทศกาลสำหรับขอพรกับเทพเจ้าเรื่องผลผลิตทางการเกษตรมากกว่าการเฉลิมฉลองทั่วไป โดยมีความเชื่อกันว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ เทพเจ้าแห่งท้องนาจะลงจากภูเขามาสถิตในดอกซากุระเพื่อทำนายเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร ด้วยการดูลักษณะการผลิดอกของซากุระ รวมถึงการเตรียมการหว่านเมล็ดข้าว ตามความเชื่อที่ปรากฏในบทกวี The Manyoshu ที่ให้ความหมายของซากุระโดย “ซา” หมายถึงเทพเจ้าแห่งท้องนา และ “กุระ” หมายถึงตัวแทนของแท่นถวายของบูชา และเมื่อดอกซากุระบานนั้น จึงหมายถึง เทพแห่งท้องนาได้ลงมาจากภูเขาและเป็นสัญญาณบอกสำหรับเวลาในการปลูกข้าวนั่นเอง
อ้างอิง
ไอซึ, 2562, ดังโงะ (Dango) ขนมโบราณที่อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมานับร้อยปี [Online], , Available: https://www.marumura.com/dango/ [8 กันยายน 2565]
KIJI, 2565, รู้จักกับ “เทศกาลฮานามิ” ฤดูแห่งซากุระบานสะพรั่ง พร้อมกับแนะนำสูตรอาหารเพิ่มความสดชื่น [Online], Available: https://kiji.life/hanami-ufm-fuji-super/ [8 กันยายน 2565]
Kirsty Kawano, 2563, The History Of Hanami: Cherry Blossom Viewing Over The Ages [Online], Available: https://savvytokyo.com/history-of-hanami-cherry-blossom-viewing-over-the-ages/ [8 กันยายน 2565]
Mark Cartwright, 2560, Manyoshu [Online], Available: https://www.worldhistory.org/Manyoshu/ [9 กันยายน 2565]
เทศกาลอาโออิ
(Aoi Matsuri)
ประวัติ / ความเป็นมา
เทศกาลอาโออิ (Aoi Matsuri) เป็นเทศกาลเดินขบวนพร้อมกับเกวียนและรถม้าที่ตกแต่งด้วยดอกอาโออิ ในขบวนแห่จะมีประชาชนกว่า 500 คน แต่งกายด้วยชุดขุนนางโบราณโดยเดินขบวนจากพระราชวังหลวงเกียวโต ไปยังศาลเจ้าชิโมะกาโมะ และไปต่อที่ศาลเจ้า คามิกาโมะ เทศกาลจะจัดขึ้นทุกวันที่ 15 พฤษภาคม ของทุกปี
จุดเริ่มต้นของเทศกาลอาโออินั้นมาจากความเชื่อในสมัยโคฟุน (ก่อนยุคนาคา ค.ศ. 250 – ค.ศ. 538) จักรพรรดิคินเมได้ปกครองเกียวโตอยู่ ณ ขณะนั้น มีอยู่วันหนึ่งเกียวโตขาดแคลนทรัพยากรและอาหาร และเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรงขึ้น จักรพรรดิเชื่อว่าเป็นเพราะความโกรธของเทพเจ้า ท่านจึงจัดขบวนแห่ขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองบรรเทาความโกรธของเทพเจ้าลง หลังจากจัดขบวนแห่เสร็จสิ้น พบว่าภัยพิบัติบรรเทาลงจนหายไปในที่สุด ทศกาลอาโออิจึงได้จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงปัจจุบัน
ความเชื่อและดังโงะ