GIMME KIMCHI

              เพื่อกันอาหารบูดและเน่าเสีย มนุษย์จึงได้คิดค้นวิธีการถนอมเพื่อยืดระยะเวลาของอาหารเหล่านั้นให้อยู่ได้นานขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง แช่แข็ง การทำสุญญากาศ หรือแม้กระทั่งการหมักดอง แตาในปัจจุบันอาหารบางชนืดไม่ได้ถูกถนอมอาหารเพื่อถนอมอีกต่อไป แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้บริโภคกันอย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่นแยมที่พวกเราเคยนำเสนอไป แต่ในคราวนี้เราจะพาทุกคนมาลองทำ กิมจิ กัน หากพร้อมแล้วเชิญรับชมรับอ่านเนื้อหาต่อไปนี้ได้เลย!!!

5 Factors to make Kimchi

              กิมจินั้นเป็นอาหารหมักประเภทหนึ่งที่ใช้วิธีการ หมักเพื่อให้ได้กรดแลกติก ซึ่งกรดแลกติกนี้เองที่ให้รสชาติเปรี้ยวแก่กิมจิ ในกระบวนการหมักจะต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งหมด 5 อย่างคือ เกลือ อากาศ สารอาหารของจุลินทรีย์ อุณหภูมิ และค่าความเป็นกรด-ด่าง โดยในแต่ละผลิตภัณฑ์ที่ใช้วิธีการหมักจะควบคุมปัจจัยเหล่านี้ไม่เหมือนกัน แต่ละปัจจัยจะส่งผลต่อการหมักดังตารางต่อไปนี้

เมื่อรู้ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการหมักแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่าถ้าต้องทำกิมจิด้วยตัวเอง เราควรจะควบคุมปัจจัยเหล่านี้อย่างไรบ้างดังตารางข้างล่างนี้
เกลือ

ควบคุมความเข้มข้นของเหลือที่ประมาณ 2-5% เพื่อให้ได้สภาพแวดล้อมที่ดีต่อการหมักและให้ความซ่าเมื่อเริ่มหมักจริง ๆ

อากาศ (ออกซิเจน)

ไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน (ปิดฝามิดชิด) หากมีออกซิเจนจุลินทรีย์ที่ไม่ดีอาจปะปนในกิมจิได้

สารอารหารของจุลินทรีย์

ใช้แป้งเป็นสารอาหาร ซึ่งแป้งที่นิยมนำมาใช้ในการทำกิมจิมีอยู่ 3 ชนิดได้แก่
แป้งข้าวเหนียว : ให้กลิ่น/รสหวาน
แป้งข้าวเจ้า : ชูรสชาติของเครื่องปรุง
แป้งสาลี : ให้กลิ่น/รสของข้าว

อุณหภูมิ
กิมจิสามารถหมักได้ทั้งในอุณหภูมิห้องและเย็น โดยที่ อุณหภูมิสูงจะเร่งปฏิกิริยาการหมัก อุณหภูมิเย็นจะชะลอปฏิกิริยาการหมัก
ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

ในการหมักกิมจิที่ให้กรดแลกติกนั้นจะสัมพันธ์กันกับค่าความเป็นกรด หากมีค่าความเป็นกรดสูง รสชาติที่ได้จะมีความเปรี้ยวมากขึ้นนั่นเอง

มาเริ่มทำกิมจิกันเถอะ

               หากเรานำวัตถุดิบและขั้นตอนการทำมารวมกับความรู้เรื่องปัจจัยการหมัก เราจะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำเกลือที่ใช้คือน้ำ 3000 กรัม กับเกลือ 10 ช้อนโต๊ะ คิดเป็นความเข้มข้นของเกลือที่ประมาณ 5.69% ซึ่งอาจจะเกินจากข้อแนะนำไป 0.69% แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้การหมักกิมจิล้มเหลวแต่อย่างใด รวมถึงในขั้นตอนการหมัดสุดท้ายที่จะให้เลือกระหว่างการหมักด้วยอุณหภูมิห้องหรือเย็นที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการหมัก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงต้องเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการหมักก่อนการทำกิมจิ แต่หากต้องการปรับเปลี่ยนรสชาติหรือเพิ่มวัตถุดิบบางอย่างในแบบที่ตัวเองชอบเราก็สามารถปรับ เพิ่ม หรือลดวัตถุดิบบางอย่างได้ตามอัธยาศัย เพียงแต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการหมักของกิมจินั่นเอง

Trick & tips

เนื้อหาต่อไปนี้จะเป็นเทคนิคที่ทีมงาน Cooking Club ได้รวบรวมมาให้จากประสบการณ์การทดลองทำและจากการอ่านหนังสือเพื่อมาแบ่งปันให้กับชาว Cooking Club ทุกคนสามารถสนุกและสามารถทำอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเทคนิคและองค์ความรู้เหล่านี้อาจไม่จำเป็นต้องทำตามทุกอย่าง เพียงแต่เป็นสิ่งที่ทางทีมงานคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการทำกิมจิ หวังว่าทุกคน

  1. ในการหั่นผักสำหรับทำกิมจินั้นต้องหั่นผักหลากหลายอย่าง แต่ควรหั่นผักกาดขาวก่อนเป็นอันดับแรกเนื่องจากต้องนำผักไปแช่ในน้ำเกลืออย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  2. ในส่วนของการหั่นแครอทและหัวไชเท้าให้เป็นเส้นเล็ก ๆ สามารถทำได้ด้วยการใช้มีดสับไปที่ตัวผักก่อนหลายครั้ง หลังจากนั้นใช้ที่ปลอกผลไม้ขูดออกมาจะได้เป็นผักซอยชิ้นเล็กพอดีคำ
  1. ในการแช่ผักกับน้ำเกลือ หากมีเวลามากสามารถแช่ผักในน้ำเกลือได้นานกว่า 1 ชั่วโมง จะทำให้รสชาติของเกลือซึมซับเข้าไปในเนื้อผักแถมยังช่วยดึงน้ำออกจากเนื้อผักได้มากขึ้นอีกด้วย
  2. อย่างที่รู้ว่าความเปรี้ยวของกิมจิมาจากกรดแลกติก ดังนั้นการที่จะทำให้กิมจิเปรี้ยวมากขึ้นคือการปรับปัจจัยอื่น ๆ ให้กรดแลกติกแบคทีเรียสามารถเคิบโตได้เร็วขึ้นนั่นคือ การให้สารอาหาร และการเลือกอุณหภูมิในการหมักนั่นเอง

           สุดท้ายแล้วในการทำขนมให้ออกมาดีและอร่อยนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการทำ แต่ถ้ามีความรู้หรือหลักการว่าทำไมต้องใช้วัตถุดิบหรือขั้นตอนการทำแบบนี้ จะทำให้สามารถทำออกมาได้ง่ายมากขึ้นโดยไม่ต้องทดลองทำหลายครั้ง อย่างไรก็ตามการหมั่นฝึกฝนและเรียนรู้จะช่วยให้เราพัฒนาได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หวังว่าทุกคนจะสนุกไปกับการทำอาหาร กิจกรรมครั้งหน้าจะได้ทำอะไรสามารถติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook page : KMUTT Learning Space

ข้อมูลอ้างอิง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาการถนอมและการแปรรูปอาหาร =: Food Preservation and Processing (พิมพ์ครั้งที่ 4.). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. (2543). คู่มืออาหารหมักดอง (ผักผลไม้). กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
สุปราณี แพรศิริ. (2555). ขนมไทย. กรุงเทพฯ: เอ็มไอเอส.
สวทช. (2564). สาระวิทย์ : วิทยาศาสตร์แป้ง. [Online}. Available: https://www.nstda.or.th/sci2pub/science-of-flour/
Renee Comet. Flour 101. [Online]. Available: https://www.foodnetwork.com/recipes/packages/baking-guide/flour-101-guide-to-different-types-and-uses
URC Flour Team. The Different Types of Flour and Their Uses. [Online]. Available: https://www.urcflour.com/stories/kitchen/the-different-types-of-flour-and-their-uses-20200908