อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (LX) เป็นอาคารที่ออกแบบโดยคำนึงถึง การเรียนรู้ร่วมกันและการประหยัดพลังงาน หรือ Green Building อาคารนี้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะให้คนมาเรียนรู้ร่วมกันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยและสังคมภายนอก

          รูปแบบอาคาร เป็นอาคารสูงรวมชั้นใต้ดินและดาดฟ้า 17 ชั้น สูง 70.75 เมตร ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป ผนังก่ออิฐมวลเบาหนา 75 มิลลิเมตร ฉาบปูนเรียบทาสีภายนอก/ใน โดยเลือกใช้สีที่มีค่า VOCs -Volatile Organic Compounds หรือ สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย ในอัตราการระเหยต่ำ กระจกลามิเนตตัดแสงสีเขียวหนา 8.38 มิลลิเมตร WWR A/C zone เฉลี่ย 0.32 หลังคาคอนกรีตสแลบหนา 30 เซนติเมตร วัสดุที่ใช้ในอาคารมากกว่า 70% เป็นวัสดุที่ผลิตภายในประเทศ และมากกว่า 30% ของวัสดุที่ใช้ในอาคารมาจากการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ (Recycled Material) เช่น เหล็ก ปูน อะลูมิเนียม และกระจก วัสดุที่เลือกใช้บางส่วนได้รับการรับรองจากฉลากเขียวไทย และฉลากลดคาร์บอน รอบตัวอาคารมีพื้นที่ซึมน้ำ มีพื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศ มีต้นไม้ยืนต้น 1 ต้นต่อพื้นที่เปิดโล่ง 100 ตารางเมตร

          เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย หรือที่เรียกกันว่า “อาคารเขียว” ซึ่งมาจากคำว่า TREES มีกลุ่มที่เป็นหัวข้อบังคับ 9 ข้อ หมวดหลัก 8 หมวด และ ข้อย่อย รวมทั้งหมด 46 ข้อ โดยแต่ละข้อจะมีค่าคะแนนที่แตกต่างกันออกไป

ระดับคะแนนตามช่วงต่าง ๆ

Platinum

61 คะแนนขึ้นไป

Gold

46 - 60 คะแนน

Silver

38 - 45 คะแนน

Certified

30 - 37 คะแนน

เพื่อความง่ายต่อความเข้าใจเราจึงทำการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนที่เกี่ยวข้องกับแต่ละหัวข้อประเด็นสำคัญ สรุปออกมาได้ดังนี้
ที่ตั้งเหมาะสม 33%
  • อาคารอยู่ในสถานที่เหมาะสม มีคู่มือแนะนำการใช้และการบำรุงรักษา อยู่ในพื้นที่รับรังสีตรงจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า 50%
  • ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว มีพื้นที่จอดรถยนต์ ECO CAR และจักรยาน พื้นที่แยกขยะ
  • การซึมน้ำและลดน้ำท่วม
  • การวางตำแหน่งเครื่องระบายความร้อน
ที่ตั้งเหมาะสม 33%
  • อาคารอยู่ในสถานที่เหมาะสม มีคู่มือแนะนำการใช้และการบำรุงรักษา อยู่ในพื้นที่รับรังสีตรงจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า 50%
  • ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว มีพื้นที่จอดรถยนต์ ECO CAR และจักรยาน พื้นที่แยกขยะ
  • การซึมน้ำและลดน้ำท่วม
  • การวางตำแหน่งเครื่องระบายความร้อน
วัสดุเป็นมิตร 24%
  • การใช้วัสดุที่ลดมลพิษการก่อสร้าง ใช้วัสดุรีไซเคิลในการก่อสร้าง 10-20% กำจัดขยะในการก่อสร้างให้สามารถรีไซเคิลได้ 50-75%
  • การใช้กระจกที่มีค่าสะท้อนแสงต่ำไม่เกิน 15%
  • การใช้วัสดุฉลากเขียว ใช้สีสารพิษต่ำ การใช้วัสดุประสานสารพิษต่ำ
  • การใช้หลอดไฟไร้สารปรอท
พลังงานยั่งยืน 26%
  • การคุมแสงสว่าง ใช้แสงสว่างธรรมชาติ โดยใช้ระบบพลังงานทดแทน ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cell) แทนระบบส่องสว่างในอาคารได้ถึง 40 กิโลวัตต์ (หลอดไฟ 1 ดวงประมาณ 16 วัตต์)
  • ลดการใช้น้ำภายในในอาคารได้มากถึง 45%
  • การติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้ากับระบบบำบัดน้ำเสีย
  • การใช้สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ อย่างสาร HCFC สารประกอบในน้ำยาเครื่องปรับอากาศ (R410a)
  • สารเคมีในถังดับเพลิงไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • การประกันคุณภาพอาคาร ยืนยันได้ว่าเป็นอาคารประหยัดพลังงานได้จริง
  • การระบายอากาศภายในอาคาร
พลังงานยั่งยืน 26%
  • การคุมแสงสว่าง ใช้แสงสว่างธรรมชาติ โดยใช้ระบบพลังงานทดแทน ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cell) แทนระบบส่องสว่างในอาคารได้ถึง 40 กิโลวัตต์ (หลอดไฟ 1 ดวงประมาณ 16 วัตต์)
  • ลดการใช้น้ำภายในในอาคารได้มากถึง 45%
  • การติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้ากับระบบบำบัดน้ำเสีย
  • การใช้สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ อย่างสาร HCFC สารประกอบในน้ำยาเครื่องปรับอากาศ (R410a)
  • สารเคมีในถังดับเพลิงไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • การประกันคุณภาพอาคาร ยืนยันได้ว่าเป็นอาคารประหยัดพลังงานได้จริง
  • การระบายอากาศภายในอาคาร
ช่วยชาติไทย 17%
  • การใช้วัสดุในประเทศได้มากกว่า 30%
  • ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักสู่สังคม ติดตามประเมินผลการสร้างจนสำเร็จลุล่วง
  • การปลูกพืชพรรณในท้องถิ่น โดยมีต้นไม้ 1 ต้นต่อพื้นที่โล่ง 100 ตารางเมตร มีไม้ยืนต้นทั้งทางทิศใต้ ทิศตะวันตก ตะวันออก ช่วยบังแสงแดดได้

ตารางเกณฑ์ประเมินอาคารเขียวที่ได้รับรางวัลระดับ Platinum ของอาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (Learning Exchange : LX)

Ref : สถาบันอาคารเขียวไทย. คู่มือสำหรับเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทยสำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันอาคารเขียวไทย, 2555.