โครงการพระจอมเกล้าศึกษา
พระอัจฉริยภาพด้านการเรียนรู้

เมื่อมองย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียเกือบทุก ประเทศ จะพบว่าเคยเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก เว้นแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่ยังคงรักษาเอกราชไว้ได้ แม้จะต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนไป ซึ่งปรากฎการณ์นี้เป็นสิ่งที่ปวงชนชาวไทยทุกคนล้วนเข้าใจ และมีความภาคภูมิใจที่จะบอกล่าวให้ผู้อื่นได้รับรู้ ความภาคภูมิใจในเอกราชของปวงชนชาวไทยคงจะไม่มี หากประเทศไทยหรือสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ฯ ไม่มีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงมีพระอัจฉริยภาพในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ นับตั้งแต่ครั้งยังทรงพระผนวช และทรงสั่งสมเป็นประสบการณ์ จนทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำมาประยุกต์ใช้ในการพระราชทานพระราชวินิจฉัย ตัดสินพระราชหฤทัย และทรงดำเนินวิเทโศบายอันแยบยล ทรงสามารถนำพาประเทศให้รอดพ้นวิกฤตการณ์ การล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจได้ พร้อมทั้งได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาประเทศให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ พระอัจฉริยภาพด้านการเรียนรู้ของพระองค์ ได้แก่ การเรียนรู้ด้านพระศาสนา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุตามโบราณราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปีพุทธศักราช 2367 ทรงพระผนวชอยู่ 27 ปี ทรงมีพระฉายาว่า “วชิรญาโณ” แปลว่า ผู้มีความสามารถอันสว่างประดุจเพชร ละเสด็จไปจำพรรษาเพื่อทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ ที่วัดสมอราย (หรือวัดราชาธิวาสในเวลาต่อมา) ต่อมาได้ทรงศึกษาคานถธุระที่วัดมหาธาตุ ทรงเรียนรู้ภาษามคธจนเชี่ยวชาญ ทรงแปลได้ ตรัสได้ และเขียนได้ ทรงเป็นเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่เข้าสอบความรู้เป็นเปรียญปริยัติธรรม จนสอบได้เป็นเปรียญ 5 ประโยค และได้รับพระราชทานพัดยศ เปรียญเอก 9 ประโยค เนื่องจากทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ทำให้ทรงทราบว่าวัตรปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ที่ยึดถือปฏิบัติมานั้น ผิดจากพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ จึงทรงปรับปรุงแก้ไข ฟื้นฟูวินัยที่ย่อหย่อนหละหลวมให้ถูกต้องบริบูรณ์ พระองค์ทรงอบรม โปรดเทศนาสั่งสอนให้ทุกคนรู้ถึงแก่นธรรมด้วยพระองค์เอง โดยทรงสั่งสอนพระปริยัติธรรมและวินัยปฏิบัติแก่พระภิกษุสงฆ์ นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์พระคาถาและบทสวด ที่ยังใช้อยู่จนทุกวันนี้ คือ พระราชนิพนธ์ ภาษาบาลี บททำวัตรเข้า – ค่ำ พระราชนิพนธ์ สดุดีพระรัตนตรัย นโม 8 บท พระโอวาทปาฎิโมกก์ ขออำนาจพระรัตนตรัย นอบน้อมพระรัตนตรัย วิธีพ้นทุกข์ การแผ่ส่วนบุญ การอาราธนาธรรม ประกาศวันอุโบสถ และพระราชนิพนธ์วันจันทร์เพ็ญ จันทร์ดับ
การเรียนรู้ด้านพระศาสนา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุตามโบราณราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปีพุทธศักราช 2367 ทรงพระผนวชอยู่ 27 ปี ทรงมีพระฉายาว่า “วชิรญาโณ” แปลว่า ผู้มีความสามารถอันสว่างประดุจเพชร ละเสด็จไปจำพรรษาเพื่อทรงศึกษาวิปัสสนาธุระ ที่วัดสมอราย (หรือวัดราชาธิวาสในเวลาต่อมา) ต่อมาได้ทรงศึกษาคานถธุระที่วัดมหาธาตุ ทรงเรียนรู้ภาษามคธจนเชี่ยวชาญ ทรงแปลได้ ตรัสได้ และเขียนได้ ทรงเป็นเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่เข้าสอบความรู้เป็นเปรียญปริยัติธรรม จนสอบได้เป็นเปรียญ 5 ประโยค และได้รับพระราชทานพัดยศ เปรียญเอก 9 ประโยค เนื่องจากทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ทำให้ทรงทราบว่าวัตรปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ที่ยึดถือปฏิบัติมานั้น ผิดจากพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ จึงทรงปรับปรุงแก้ไข ฟื้นฟูวินัยที่ย่อหย่อนหละหลวมให้ถูกต้องบริบูรณ์ พระองค์ทรงอบรม โปรดเทศนาสั่งสอนให้ทุกคนรู้ถึงแก่นธรรมด้วยพระองค์เอง โดยทรงสั่งสอนพระปริยัติธรรมและวินัยปฏิบัติแก่พระภิกษุสงฆ์ นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์พระคาถาและบทสวด ที่ยังใช้อยู่จนทุกวันนี้ คือ พระราชนิพนธ์ ภาษาบาลี บททำวัตรเข้า – ค่ำ พระราชนิพนธ์ สดุดีพระรัตนตรัย นโม 8 บท พระโอวาทปาฎิโมกก์ ขออำนาจพระรัตนตรัย นอบน้อมพระรัตนตรัย วิธีพ้นทุกข์ การแผ่ส่วนบุญ การอาราธนาธรรม ประกาศวันอุโบสถ และพระราชนิพนธ์วันจันทร์เพ็ญ จันทร์ดับ
การเรียนรู้ทุกข์สุขของราษฎร
ขณะทรงพระผนวช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์ ไปนมัสการมหาเจดีย์ ตามหัวเมืองต่าง ๆ
ทำให้ ราษฎรมีโอกาสได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด และเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระภิกษุ ได้ทรงแสดงธรรมสั่งสอนราษฎรให้เข้าใจ และเข้าถึงหลักของศีลธรรม ราษฎรกล้ากราบบังคมทูลทุกข์สุขให้ทรงทราบ และเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้เสด็จ ประพาสหัวเมือง
ได้ทอดพระเนตรภูมิประเทศ ความอุดมสมบูรณ์ของป่า และทรงเยี่ยมเยียนราษฎรที่อยู่ห่างไกล ทำให้ทรงทราบความเป็นอยู่ ความต้องการและทุกข์สุขของราษฎรอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น ความสะอาดของแม่น้ำลำคลอง การมี หนี้สิน การขายลูกสาว การมัวเมาในอบายมุข การห้ามมิให้ราษฎรเข้าเฝ้าใกล้ชิด การถวายฎีกาที่ราษฎรจะต้องถูกโบยก่อน และการเก็บค่าตลาด เป็นต้น
พระองค์ทรงนำสิ่งที่ได้พบเห็นมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข และพระราชทานความช่วยเหลือ เพื่อให้ราษฎรมีความสุขและประเทศชาติได้รับการพัฒนา เช่น การยกเลิกอากรตลาด ทรงออกรับฎีกาด้วยพระองค์เอง พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด ให้สวมเสื้อเข้าเฝ้า เป็นต้น

พระองค์ทรงนำสิ่งที่ได้พบเห็นมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข และพระราชทานความช่วยเหลือ เพื่อให้ราษฎรมีความสุขและประเทศชาติได้รับการพัฒนา เช่น การยกเลิกอากรตลาด ทรงออกรับฎีกาด้วยพระองค์เอง พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด ให้สวมเสื้อเข้าเฝ้า เป็นต้น
พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทุกภาคของประเทศ อาทิ ได้เสด็จภาคเหนือไปไกลถึงสุโขทัย ภาคใต้เสด็จไปถึงปัตตานี ภาคตะวันออกเสด็จไปถึงตราด และภาคตะวันตกเสด็จถึงกาญจนบุรี เป็นต้น การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระองค์ท่าน จึงเป็น ต้นแบบของการเสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5 และการเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่นธุรกันดารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
การเรียนรู้ร่วมกับนักบวชจากประเทศฝ่ายตะวันตก

นักบวชและมิชชันนารีศาสนาคริสต์ได้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา มีนักบวชและมิชชันนารีหลายท่านที่มีบทบาทในการช่วยด้านการพัฒนาประเทศ เนื่องจากหลายท่านมิได้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องศาสนา แต่ยังมีความสามารถในด้านอื่น ๆ เช่น ภาษาศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ เช่น นายแพทย์ แดน บีช บรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) หรือที่คนไทยเรียกว่าในสมัยนั้น หมอบรัดเลย์ บาทหลวงปาลเลอกัวส์ (Bishop Pallegoix) เป็นต้น
เมื่อชาวตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย และเข้ามาขอทำสัญญามากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความจำเป็นที่คนไทยจะต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อการติดต่อสื่อสาร และเนื่องจากวัดสมอรายอยู่ใกล้กับวัดเขมร หรือวัดคอนเซปชัน พระองค์จึงทรงคุ้นเคยกับบาทหลวงปาลเลอกัวส์ (Bishop Pallegoix) และทรงแลกเปลี่ยนความรู้กับท่านบาทหลวง โดยพระองค์ทรงสอนภาษาบาลี ภาษาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมแก่ท่านบาทหลวง ส่วนบาทหลวงได้ถวายการสอนภาษาละติน ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติตะวันตกให้พระองค์ท่าน เมื่อบาทหลวงปาลเลอกัวส์ เขียนหนังสือสัพพะพะจะนะภาษาไทยนั้น พระองค์ท่านคงจะมีส่วนพระราชทานความช่วยเหลือในการเขียน
การส่งคณะฑูตไปเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้านโปเลียนที่ 3 และพระสันตปาปาปิอุสที่ 9 (Pope Pius IX) ที่สำนักวาติกันนั้น พระองค์ทรงได้รับความช่วยเหลือจากบาทหลวงปาลเลอกัวร์ เช่นกัน และเมื่อทรงย้ายไปประทับที่วัดบวรนิเวศ ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับนายแพทย์ เจสซี แคสเวล (Dr. Jesse Caswell) ซึ่งคนไทยเรียก หมอหัสกัน โดยทรงเรียนสัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 1 ชั่วโมง ในแต่ละชั่วโมงนั้น นอกจากมีการเรียนภาษาอังกฤษแล้วยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ตำรับตำรา ความคิดเห็น และเมื่อมีข้อสงสัยก็ทรงไต่ถาม จึงทำให้พระองค์ท่านได้เรียนรู้วิชาการต่างๆ มากมายเช่น ภูมิศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และการปกครองของชาติตะวันตก
พระองค์ได้สั่งซื้อหนังสือ ตำรา เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ จากต่างประเทศเข้ามาเพื่อทรงศึกษาค้นคว้าและทดลอง จึงทำให้พระองค์ทรงมีความเชี่ยวชาญในวิชาดาราศาสตร์ จนสามารถพยากรณ์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้ถูกต้องแม่นยำล่วงหน้าถึง 2 ปี
การเรียนรู้จากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงภัยคุกคาม จากประเทศมหาอำนาจฝ่ายตะวันตก เนื่องจากพระองค์ทรงติดตามข้อมูลข่าวสาร ของประเทศเพื่อนบ้านตลอดเวลา
ทั้งจากหนังสือพิมพ์และจากตำราต่างประเทศที่ทรงสั่งซื้อและมีผู้นำมาถวาย และทรงแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวต่างประเทศ จึงทรงพบว่าแม้ประเทศในแถบเอเชียรวมทั้งประเทศไทย ไม่มีความประสงค์จะติดต่อคบค้ากับประเทศตะวันตก แต่เมื่อเป็นยุคของการล่าอาณานิคมของประเทศที่มีกำลังรบ และแสนยานุภาพ การต่อต้าน การปฏิเสธ หรือการปิดประเทศ ย่อมไม่ก่อให้เกิดผลดีแต่อย่างใด
ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่นซึ่งปิดประเทศมาเป็นเวลานาน ต้องยินยอมทำสนธิสัญญา คะนะระวะ เพื่อเปิดประเทศกับอเมริกา พม่าต่อต้านและทำสงครามกับอังกฤษและในที่สุดก็เสียเอกราช ญวนถูกฝรั่งเศสยึดครอง แม้แต่จีนและ อินเดียและซาราวัคก็ถูกยึดครองโดยอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงนำข้อเท็จจริงเหล่านี้มาใช้ประกอบการตัดสินพระทัย ว่าควรจะดำเนินวิเทโศบายประการใด และอย่างไรจึงจะรักษาเอกราช และอธิปไตยให้รอดพ้นจากการคุกคามของมหาอำนาจเหล่านั้น เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก นโยบายลู่ตามลม ยอมโอนอ่อนตามเท่าที่จำเป็น และการถ่วงดุลย์อำนาจจึงบังเกิดขึ้น และในขณะเดียวกัน ประเทศมหาอำนาจได้เริ่มคุกคามเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนประเทศราชของไทย คือ เขมร ลาว และแหลมมลายู พระองค์จึงต้องปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย เพื่อไม่ให้ประเทศมหาอำนาจใช้เป็นข้ออ้างในการยึดครอง
การ ทรงยินยอมแก้ไขสนธิสัญญาตามคำเรียกร้องของราชฑูตอังกฤษ ทรงยอมเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และการเปิดประเทศ ทรงติดต่อกับต่างประเทศอย่างทรงรู้เท่าทัน แต่ยังคงรักษาเอกราช อิสรภาพ และอธิปไตยไว้ได้จนทุกวันนี้ นับเป็นการตัดสินพระทัยที่ถูกต้องและควรแก่การยกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง
การส่งเสริมการเรียนรู้

คงเป็นที่ยอมรับว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ใฝ่เรียนรู้ จนตลอดพระชนม์ชีพ เนื่องจากทรงเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ โดยเฉพาะการเรียนรู้ภาษา ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษามคธ และฝรั่งเศส ทั้งนี้เพราะภาษาเป็นสื่อในการเรียนรู้ที่สำคัญ
พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในเอเชียที่อ่าน เขียนและตรัสภาษาอังกฤษได้ จึง ทรงติดตามข่าวคราวจากโลกภายนอกได้ และนำมาใช้ในการตัดสินพระทัย และการเรียนรู้วิชาการต่าง ๆ เพื่อยกระดับประเทศให้เป็นที่ยอมรับของอารยประเทศ พระองค์จึงทรงเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ
ดังนั้น ในขณะทรงพระผนวชจึงทรงส่งเสริมให้พระภิกษุสงฆ์ เจ้านายและขุนนาง ได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาอังกฤษกับนายแพทย์ เจสซี แคสเวล หรือหมอหัสกัน
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ทรงว่าจ้างให้นางบรัดเลย์ และนางแมททุน ภรรยาของมิชชันนารีไปถวายการสอนภาษาอังกฤษ วรรณคดี และวิชาการของประเทศตะวันตก ให้พระราชธิดาและพระราชวงศ์ฝ่ายใน จึงนับเป็นการเปิดโลกการเรียนรู้ให้แก่สตรี ต่อมาได้ทรงว่าจ้าง แหม่มแอนนา เลียวโนเวนส์ (Mrs. Anna Leonowens) และหมอแชนเดลอร์ (J.H. Chandler) หรือหมอจันดเล เป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและพระราชธิดา ในโรงเรียนในพระบรมมหาราชวัง การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในขณะนั้น ไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย เรียนให้เข้าใจโดยธรรมชาติ สามารถมีจดหมายถึงกัน และบันทึกจดหมายเหตุได้
นอกจากนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ราษฎรได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษและวิชาการสมัยใหม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนให้มิชชันนารีตั้งโรงเรียนขึ้นในกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัด โดยเฉพาะเมื่อมีการพิมพ์หนังสือแบบเรียน เช่น จินดามณี ประถม ก.กา ประถมมาลา วิชาช่าง วิชาแพทย์ การเรียนรู้ได้ขยายไปสู่ราษฎรสามัญชนมากขึ้น จึงเป็นการขยายโอกาสด้านการเรียนรู้ให้กับราษฎรสามัญชน นอกจากนี้ทรงส่งเจ้านายบางพระองค์ไปดูงาน และทรงส่งข้าราชการไปศึกษาวิชาการต่าง ๆ ในต่างประเทศ