วิวัฒนาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เรียบเรียงจากจดหมายเหตุของอาจารย์เอมอร ศรีนิลทา

เหตุการณ์ก่อนปี 2503

ม.ล.ปิ่น มาลากุล
อาจารย์สนั่น สุมิตร

ปี 2500

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฯพณฯ ม.ล.ปิ่น มาลากุล และอาจารย์สนั่น สุมิตร อธิบดีกรมอาชีวศึกษาได้ร่วมปรึกษาการผลิตผู้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างวิศวกรและ Skill Labours โดยมีนโยบายรับนักเรียนจบชั้นมัธยม 3 เรียนต่อวิชาช่างอุตสาหกรรม 3 ปี ได้วุฒิ ปว.ช. แล้วออกทำงานหรือศึกษาต่อในวิทยาลัยเทคนิคอีก 3 ปี ได้วุฒิ ปว.ส.

ปี 2501

อธิบดีสนั่น สุมิตร สำรวจหาที่ตั้งวิทยาลัยแห่งใหม่ พบที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ณ ตำบลบางมด อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการขอเช่าไว้ 32 ไร่ เพื่อตั้งโรงเรียนพาณิชยการ ธนบุรี และได้ดำเนินการปลูกสร้างอาคารเรียนไม้สองชั้นแบบมาตรฐาน 14 ห้องเรียน เสร็จเรียบร้อย ตั้งแต่ พ.ศ. 2501 พร้อมทั้งบ้านพักครูใหญ่ และโรงอาหาร อีกครึ่งหลัง ได้ถูกทิ้งว่างไว้ แม้จะยังไม่มีถนน ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์ ก็ยังมีอาคารพร้อมที่จะให้ใช้ได้ทันทีจึงเสนอสถานที่นี้เป็นที่ตั้งวิทยาลัยแห่งใหม่ ให้ชื่อว่า “ วิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ”

ปี 2503 - 2505

ปี 2503

4 กุมภาพันธ์ 2503

– กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา รับผู้จบเตรียมอุดมศึกษา สายวิทยาศาสตร์ ศึกษาต่อ 3 ปี ได้วุฒิ ปว.ส. นับเป็นวิทยาลัยเทคนิค แห่งแรกในประเทศไทย ที่รับผลิตช่างเทคนิคจากผู้จบชั้นสูงสุดสายสามัญ

– กรมอาชีวศึกษาแต่งตั้ง นายประภา ประจักษ์ศุภนิติ อาจารย์เอก หัวหน้าฝ่ายวิชาช่างก่อสร้าง คณะวิชาเทคนิค จากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี พร้อมทั้งอนุมัติให้อาจารย์จากวิทยาลัยเดียวกันมาร่วมงาน อีก ๖ ท่าน คือ นายสมพงษ์ ปัญญาสุข นางสาวอุบล จันทกมล นายอุทัย แก้วช่วง นายสุธรรม ทวิชศรี นายทนง รุ่งโรจน์ดี และนายอิทธิศักดิ์ ทองคำ วันที่อาจารย์ทั้ง 7 ท่าน มาทำพิธีเปิดวิทยาลัยฯ ได้อาศัยยานพาหนะคู่อาชีพคือ เรือจ้าง ผู้อำนวยการ ได้พยายามขอร้อง นายอดิเรก ศรีศุภผล นายอำเภอราษฎร์บูรณะ ในขณะนั้นให้ช่วยเร่งรัดการตัดถนนเข้าสู่วิทยาลัยฯ ให้เสร็จทันเปิดภาคเรียน

เมษายน 2503

วิทยาลัยฯ เปิดรับสมัครและสอบคัดเลือกนักศึกษารุ่นแรก ระหว่างวันที่ 1-8 เมษายน โดยเปิดรับสมัคร ณ วิทยาลัยเทคนิค กรุงเทพฯ นอกจากติดประกาศโฆษณาเป็นหนังสือราชการแล้ว วิทยาลัยฯ ยังได้เสนอกรมฯ ให้ออกประกาศระเบียบการต่างๆ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุศึกษา เพื่อให้ผู้สนใจ เข้าศึกษาในวิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ได้ทราบโดยทั่วถึงยิ่งขึ้น มีผู้สมัคร 619 ราย เป็นชาย 609 หญิง 10 มาเข้าสอบ 587 สอบได้ 300 สำรอง 60 คน ในจำนวนผู้สอบได้มีผู้มารายงานตัวและขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาเพียง 122 คน

17 พฤษภาคม 2503

– วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เปิดภาคเรียนปีการศึกษาแรก

– นายสมพงษ์ ปัญญาสุข ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ มีบุคลากรในตำแหน่งอาจารย์และครู รวม 29 คน (นับถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2504) นักการภารโรง 4 คน

– นายระพี พฤกษะวัน หัวหน้าชั้นห้อง ก ได้รับเลือกเป็นประธานสภานักศึกษาคนแรก

อาจารย์สมพงษ์ ปัญญาสุข

วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้เข้าร่วมพัฒนาการท้องถิ่นในถนนประชาอุทิศ ที่หลักกิโลเมตรที่ 9 จากถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลราษฎร์บูรณะไปถึงโรงเรียนวิทยาลัยเทคนิคธนบุรีที่สร้างใหม่ โดยลงหินลูกรัง เป็นระยะทางยาวประมาณ 2,320 เมตร

10 มิถุนายน 2503

วิทยาลัยฯ ยืด กำหนดเวลามอบตัวออกไปถึง 10 มิถุนายน มีนักศึกษามามอบตัวเพิ่มขึ้นเป็น 168 คน วิทยาลัยฯ จึงขอยืดเวลาออกไปอีก 1 สัปดาห์ มีนักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 219 คน และมีการลาออกบ้าง วิทยาลัยฯ จึงประกาศสอบคัดเลือกครั้งที่ 2 เพื่อให้ได้นักศึกษาเต็มจำนวนที่จะรับได้ ปรากฏว่ามีผู้สมัคร 142 คน เข้าสอบ 138 สอบได้ 95 มาขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา 90 คน เมื่อเริ่มดำเนินการสอนเป็นปรกติ นักศึกษารุ่นแรกประกอบด้วยผู้สอบคัดเลือกได้ 299 คน เป็นนักศึกษาหญิง 1 คน คือ น.ส.สุนันทา ป้อมเอี่ยม นักศึกษาฝากเรียนจากกรมอาชีวศึกษา 1 คน และนักศึกษาพ้นสภาพจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 คน รวมทั้งสิ้น 304 คน

การจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยฯ แบ่งนักศึกษาออกเป็น 6 ห้อง ใช้หลักสูตรรวมแบบอุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial Arts) ปีแรกให้เรียนเหมือนกันทุกวิชา ได้แก่ วิชาช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ ช่างโลหะ และเขียนแบบ เฉลี่ยเวลาเรียนตลอดปีออกเป็น 5 ส่วนเท่าๆ กัน คิดเป็น 160 ชั่วโมงต่อวิชา รวม 5 วิชานี้เป็นเวลา 800 ชั่วโมง ส่วนเวลาที่เหลืออีก 400 ชั่วโมงนั้น ได้จัดให้ศึกษาวิชาสามัญ และสัมพันธ์กับการช่างอีก 6 วิชา คือ ภาษาอังกฤษ จิตวิทยา คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิคส์ และเศรษฐศาสตร์ การเรียนแบ่งออกเป็น 3 เทอม เริ่มเรียน 9.00 น. เลิกเรียน 16.00 น.

อาคารไม้ถูกใช้เป็นอาคารเอนกประสงค์คือห้องเรียน ห้องทำงานอาจารย์ ห้องเก็บครุภัณฑ์ ห้องเขียนแบบ และห้องฝึกงานชั่วคราว ฯลฯ

โรงอาหารก็ใช้เป็นห้องปฏิบัติงานด้วย การฝึกงานภาคปฏิบัตินั้น นอกจากจะปฏิบัติในห้องฝึกงานแล้ว นักศึกษายังต้องปฏิบัตินอกห้องด้วย

เริ่มตั้งแต่ช่วยพัฒนาการถนนประชาอุทิศ และบูรณะสะพานไม้ตามคำเชิญ ของนายอำเภอราษฎร์บูรณะ ทำถนนภายในวิทยาลัย, ต่อเติมและสร้างบ้านพักอาจารย์, เดินสายไฟ, สร้างครุภัณฑ์บางอย่าง, ปรับพื้นที่ทำสนามกีฬาชั่วคราว, พัฒนาวัดสารอด, ฯลฯ เป็นต้น นับว่าเป็นประสบการณ์ในการศึกษาภาคปฏิบัติที่อำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่นในระยะบุกเบิก

24 มิถุนายน 2503          อนุมัติสร้างโรงอาหารชั่วคราวของวิทยาลัย เนื้อที่ 144 ตารางเมตร

7 กรกฎาคม 2503          จัดงานไหว้ครู พิธีไหว้ครูครั้งแรก

สิงหาคม 2503                 อนุมัติให้ติดตั้งโทรศัพท์ประจำวิทยาลัยเทคนิคธนบุรีเป็นครั้งแรก

12 กันยายน 2503

อธิบดีสนั่น สุมิตร ได้นำ Mr. Stanley Nelson ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคของ UNESCO ได้มาสำรวจภาวการณ์ของวิทยาลัยฯ ระหว่างวันที่ 12-15 กันยายน 2503 และได้แนะนำให้วิทยาลัยฯ จัดทำหลักสูตรใหม่ โดยให้แยกเรียนเป็นสาขาๆ ไปตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 และได้ช่วยวิทยาลัยทำเรื่องราวขอความช่วยเหลือ (Request for Special Fund) ตามระเบียบขององค์การสหประชาชาติด้วย การก่อสร้าง ซ่อมแซม บูรณะ ตกแต่ง และปรับปรุงอาคารสถานที่ภายในบริเวณวิทยาลัยที่ดำเนินการในปีแรกนี้ ได้แก่

1. สร้างโรงฝึกงานช่างยนต์และช่างโลหะ บ้านพักครูห้องน้ำ ห้องส้วม 1.910.000 บาท
2. ต่อท่อประปา เข้าสู่บริเวณวิทยาลัยฯ และอาคารต่างๆ 14,865.80 บาท
3. สร้างรั้วกั้นอาณาเขตบริเวณวิทยาลัยฯ ยาวประมาณ 1,360 เมตร 40,786 บาท
4. สร้างโรงอาหารชั่วคราว 2,880 บาท
5. ซื้อดินลูกรังและหินผุทำถนนในบริเวณวิทยาลัยฯ 18,155 บาท
6. ปรับปรุงบ้านพักผู้อำนวยการ 5,440 บาท
7. ติดตั้งสายไฟฟ้าภายในบริเวณวิทยาลัยฯ 4,960 บาท
8. ทำลานคอนกรีตและทางเท้าเชื่อมอาคารเรียนกับโรงอาหาร 32,000 บาท

การคมนาคม และการขนส่งเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งที่กระทบกระเทือนความก้าวหน้า และความสำเร็จของงานตามที่ได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ ถนนประชาอุทิศเป็นถนนดินเหนียว รถประจำทางก็ยังไม่มีวิทยาลัยฯ ได้ติดต่อบริษัทธนนครขนส่ง จำกัด ให้ช่วยจัดรถรับส่งเฉพาะเช้าและเย็นระหว่างเปิดเรียน พอถึงฤดูฝนถนนชำรุดทรุดโทรมมาก รถเข้าไม่ได้ทั้งอาจารย์ และนักศึกษาก็ต้องเดิน จะอาศัยเรือจ้างได้บ้างเฉพาะเวลาน้ำขึ้นแต่เสียเวลาเดินทางมากขอร้องทางจังหวัดธนบุรีให้ทำถนนให้วิทยาลัยฯ ก็ต้องออกเงินซื้อดินลูกรังมาทำถนนในปีการศึกษาแรกนี้เป็นเงิน 114,150 บาท และยังต้องลงแรงช่วยกันทำถนนอีกด้วย สภาพถนนเช่นนี้เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการเดินทางของนักศึกษาและอาจารย์ ตลอดจนการขนส่งวัสดุและอุปกรณ์การสร้าง รวมทั้งวัสดุฝึกหัดที่จัดซื้อมาเพื่อการศึกษา

พฤศจิกายน 2503                วิทยาลัยได้รับการอนุเคราะห์รถยนต์พลีมัท (ชำรุด) 1 คัน จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์มาเป็นอุปกรณ์การสอน

                                                        เกี่ยวกับเครื่องยนต์ในหลักสูตรการสอนวิชาช่างเครื่องยนต์

ฟุตบอลเป็นกีฬาชนิดแรกที่ส่งแข่งขัน

วิทยาลัยตั้งไม่ถึงปี ต้องส่งนักศึกษาแข่งกีฬา คือฟุตบอล คัดเลือกได้ผู้เล่นครบทีม จำนวนจำกัด

แถวนั่ง มนูญ จันทร์ประดับ ณัฐ พริ้งทองฟู ทวี บัวรอด องอาจ หลำอุบล ยศ นิ่มสมบุญ

แถวยืน สวัสดิ์ หงส์ลดารมภ์ เกียรติ์ชัย บูรณปัทม สมนึก นคราวงษ์ ธีระ จิตต์บางเหลือ
อาจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา ฉมาพล ปรปักษ์ขาม อุดม โล่งาม

ปี 2504

 4 กุมภาพันธ์ 2504          ดำเนินงานมาครบรอบ 1 ปี ร่วมกันถ่ายภาพหมู่หน้าอาคาร

แถวหน้า เรือตรีหญิงสุจิตรา พึ่งวุฒิ, อาจารย์สุดเฉลียว ตันไพโรจน์, อาจารย์ศรีสวัสดิ์ มีนะวนิช, อาจารย์ประภา ประจักษ์ศุภนิติ, อาจารย์อุบล จันทกมล, อาจารย์เฟื่องศิลป์ ศรายุทธพิทักษ์ และ อาจารย์จันทนา วัฏฏะสิงห์
แถวกลาง อาจารย์สุธรรม ทวิชศรี, อาจารย์อุทัย แก้วช่วง, อาจารย์สมศักดิ์ อินทรกำาแหง ณ ราชสีมา, อาจารย์ประดวน พัฒโชติ, อาจารย์จำนงค์ จันทกาญจน์, อาจารย์สมพงษ์ ปัญญาสุข, อาจารย์อิทธิศักดิ์ ทองคำ, อาจารย์เวชสิทธิ์ กุลแก้ว, อาจารย์สุจินต์ มาประจง, อาจารย์โสภณ    สุวรรณาคินทร์, อาจารย์สมัคร จรูญพันธ์, อาจารย์ทนง รุ่งโรจน์ดี, อาจารย์ประสาธน์ กล้าหาญ
แถวหลัง อาจารย์ไพศาลห์ ลีละเมียร, อาจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา, อาจารย์เจริญ วัฎะฎสิงห์, อาจารย์พิภพ สุนทรสมัย และอาจารย์สุรพงษ์ วาตะบุตร

4 มีนาคม 2504             ได้รับอนุมัติให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลพระประแดงการช่างขุดบ่อน้ำบาดาล

10 เมษายน 2505         ได้รับอนุมัติก่อสร้างประตูทางเข้าและซุ้มยาม

พฤษภาคม 2504

กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ใช้หลักสูตรใหม่ แบ่งออกเป็น 4 ฝ่ายวิชา ได้แก่ ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ และช่างโลหะ แยกกันเรียนตามสาขาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ศึกษาครบตามหลักสูตร 3 ปี จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขานั้นๆ สำหรับนักศึกษาเก่า วิทยาลัยฯ ได้ให้ยื่นความจำนงเลือกสาขาที่จะเรียนและวิทยาลัยฯ พิจารณาคะแนนรายวิชาประกอบด้วย

วิทยาลัย ประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ประจำปี 2504 ยังคงปฏิบัติเหมือนปีแรก แต่ย้ายสถานที่รับสมัครและสอบคัดเลือกไปที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย มีผู้สมัครเป็นชาย 546 หญิง 14 สอบได้ 219 สำรอง 29 มารายงานตัวเพียง 149 คน วิทยาลัยฯ ยืดเวลารายงานตัวออกไปและเรียกตัวสำรองมาด้วย ได้นักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 190 คน วิทยาลัยฯ จึงประกาศรับเพิ่มเติมจากผู้ที่เข้าสอบคัดเลือกโดยถือตามคะแนนรองๆ ลงไป ได้นักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 208 คน เปิดโอกาสให้มอบตัวซ่อมอีก 1 วัน จึงได้นักศึกษารวม 213 คน เมื่อรวมกับนักศึกษาเก่าที่ตกค้าง และยังสมัครใจเรียนต่ออีก 76 คน จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จึงเป็น 289 คน ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ยังสมัครใจเรียนต่อเหลือเพียง 158 คน

ปี 2505

มกราคม 2505

– ท่านอธิบดีสนั่น สุมิตร ย้ายไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิสามัญศึกษา อาจารย์พงศ์ศักดิ์ วรสุนทรโรสถ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเป็นอธิบดีกรมอาชีวศึกษาแทน

– วิทยาลัยเริ่มใช้วิธีสอบคัดเลือกรวมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยมีสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการ

– ส่วนโครงการขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่ท่านอธิบดีสนั่น ได้ริเริ่มไว้ ใกล้จะสัมฤทธิผลแล้ว วิทยาลัยฯ ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานช่างก่อสร้าง และต่อเติมโรงฝึกงานช่างโลหะ

4 กุมภาพันธ์ 2505          ครบรอบ 2 ปี ถ่ายภาพร่วมกันในวันสถาปนาวิทยาลัย

แถวนั่ง อาจารย์สมัคร จรูญพันธ์, อาจารย์ศรีสวัสดิ์ มีนะวณิชย์, อาจารย์สุดเฉลียว ตันไพโรจน์, อาจารย์เฟื่องศิลป์ ศรายุทธพิทักษ์, อาจารย์อุบล จันทกมล, อาจารย์สมพงษ์ ปัญญาสุข, อาจารย์ประภา ประจักษ์ศุภนิติ, อาจารย์ประสาธน์ กล้าหาญ, อาจารย์พัฒนา เห็นแสงหงส์, อาจารย์จันทนา วัฏฏะสิงห์, อาจารย์เอมอร กกกำแหง, เรือตรีหญิงสุจิตรา พึ่งวุฒิ, Operator ไม่รู้จักชื่อ และอาจารย์สุนทร สกุลโพน
แถวกลาง อาจารย์อุทัย แก้วช่วง, อาจารย์สุรเทพ อภัยจิตร, อาจารย์อิทธิศักดิ์ ทองคำ, อาจารย์สมศักดิ์ อินทรกำาแหง ณ ราชสีมา, อาจารย์เจริญ วัฏฏะสิงห์, อาจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา, อาจารย์สุนทร ศรีนิลทา, อาจารย์จักรพันธ์ จุลละเกศ, อาจารย์ภิภพ สุนทรสมัย, อาจารย์เชิดเชลง ชิตชวนกิจ, อาจารย์เวชสิทธิ์ กุลแก้ว, อาจารย์สิษฐ์ษราวุฑฒิ์ พูนทวี และอาจารย์โสภณ สุวรรณาคินทร
แถวหลัง อาจารย์สุธรรม ธวิชศรี, อาจารย์อุทัย เผ่าภู่ อาจารย์พล พูลฬส, อาจารย์ประดวน พัฒน์โชติ, อาจารย์ชูศักดิ์ เปลี่ยนภู่, อาจารย์ประยูร สาชาติ, อาจารย์สุรพงษ์ วาตะบุตร, อาจารย์เจตน์ ไชยาคำ, อาจารย์จำนงค์ จันทกาญจน์, อาจารย์สุริยะ บุญส่ง, อาจารย์ไพศาลห์ ลีละเมียร, อาจารย์สุจินต์ มาประจง, อาจารย์สมศักดิ์ จวงสวัสดิ์ และอาจารย์ทนง รุ่งโรจน์ดี

ฤดูฝน 2505

ฝนตกหนักกว่าปีก่อนๆ ถนนสายเดียวที่จำเป็นต้องใช้ ยิ่งทรุดโทรมมากขึ้นจนยวดยานสัญจรไม่ได้ นักศึกษา อาจารย์ ต้องเดินย่ำโคลนเข้าออกเป็นระยะทางวันละไม่น้อยกว่า 5 ก.ม. จึงขาดเรียนเป็นจำนวนมาก จากสถิติที่บันทึกไว้ปรากฏว่า

25   กันยายน     ขาดเรียน      117      คน
26   กันยายน     ขาดเรียน      106      คน
27   กันยายน     ขาดเรียน        48       คน
28   กันยายน     ขาดเรียน        34       คน
29   กันยายน     ขาดเรียน        32       คน
3      ตุลาคม        ขาดเรียน        56      คน
4      ตุลาคม        ขาดเรียน        57      คน
5      ตุลาคม        ขาดเรียน        95      คน
6      ตุลาคม        ขาดเรียน      349     คน

9 ตุลาคม 2505

นักศึกษาไม่มาวิทยาลัยฯ แต่พากันไปหา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ฯพณฯ ได้ให้กรมโยธาธิการมาตรวจดูสภาพถนนและให้จัดการซ่อมให้พอใช้ได้ไปก่อน พอหมดฝน ถนนแห้งแล้ว กรมโยธาฯ จึงจัดรถมาปรับแต่งและบดถนนใหม่ การได้พบท่านนายกฯ ครั้งนั้นยังผลให้พวกเราได้มีถนนลาดยางใช้มาจนทุกวันนี้

19 ธันวาคม 2505

กองทุนพิเศษแห่งสหประชาชาติ (UNDP Special Fund) โครงการที่ 1 (ชื่อโครงการ Thonburi Technical Institute Project SF. THA. 7 : มีกำหนดเวลา 5 ปี) ลักษณะของการช่วยเหลือ แบ่งออกเป็น อุปกรณ์การศึกษา ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ 6 คน และทุนการศึกษา เพิ่มเติม 11 ทุน รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 1,146,957 เหรียญอเมริกัน ทั้งนี้รัฐบาลไทยต้องจัดงบประมาณสมทบอีกส่วนหนึ่งด้วย หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญคนแรกคือ Mr. R.G.P.S. Fairbairn ชาวอังกฤษ
คณะผู้เชี่ยวชาญชุดแรก ประกอบด้วย

Dr. N.S. Rajan

Mr. D. Picken ผู้เชี่ยวชาญช่างไฟฟ้ากำลัง (เริ่มทำงานตั้งแต่ 8 ตุลาคม 2505-3 กันยายน 2506)
Dr. N.S. Rajan ผู้เชี่ยวชาญวิสามัญ
Mr. H. Bange ผู้เชี่ยวชาญช่างก่อสร้าง
Mr. S.J. Martin ผู้เชี่ยวชาญช่างโลหะ
Mr. K. Stephen ผู้เชี่ยวชาญช่างไฟฟ้ากำลัง

เมื่อผู้เชี่ยวชาญชุดแรกครบวาระ และหัวหน้าผู้เชี่ยวชาญครบเกษียณอายุ Dr. N.S. Rajan                ได้เป็นหัวหน้าผู้เชี่ยวชาญคนต่อมา และมีผู้เชี่ยวชาญคนใหม่คือ
Mr. H. Hansen ผู้เชี่ยวชาญช่างยนต์
Mr. I. Davies ผู้เชี่ยวชาญช่างโลหะ
Mr. L. Dellenborg ผู้เชี่ยวชาญช่างก่อสร้าง
Dr. Tha Hla ผู้เชี่ยวชาญวิชาสามัญ
Mr. R.D. Drury ผู้เชื่ยวชาญช่างไฟฟ้ากำลัง

อาจารย์ของวิทยาลัยฯ ที่ได้รับทุนการศึกษา และฝึกอบรมต่างประเทศชุดแรก คือ
1. นายอุทัย แก้วช่าง ไปประเทศอังกฤษ
2. นายเจริญ วัฏฏะสิงห์ ไปประเทศอังกฤษ
3. นายสุทนทร สกุลโพน ไปประเทศอังกฤษ
4. น.ส.เฟื่องศิลป์ ศรายุทธพิทักษ์ ไปประเทศอังกฤษ
5. นายเชิดเชลง ชิตชวนกิจ ไปประเทศเดนมาร์ค

ปี 2506 - 2510

ปี 2506

มีนาคม 2506          มีผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ป.วส. รุ่นแรก 119 คน ได้แก่ ช่างก่อสร้าง 36 คน ช่างไฟฟ้า 41 คน ช่างยนต์ 31 คน และช่างโลหะ 11 คน

ปีการศึกษา 2506          กระทรวงศึกษาธิการอนุมัตให้ใช้ระเบียบวิทยาลัยฯ ฉบับใหม่

 – แบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริการ และฝ่ายธุรการ                                                                                                                  – เปลี่ยนระเบียบการศึกษาเป็น ๒ ภาคเรียน เปลี่ยนเวลาเรียนเป็น 8.30-16.35 น.
 – เริ่มใช้หลักสูตรฉบับปรับปรุงใหม่
 – เริ่มใช้ระบบหน่วยกิต คณะผู้เชี่ยวชาญ
 – ฝ่ายวิชาการเสนอโครงการปรับปรุงคุณวุฒิของครู โดยการคัดเลือกอาจารย์บางท่านไปรับการอบรมฝึกฝนจากโรงงานอุตสาหกรรม และจัดอบรมวิชาพื้นฐาน เช่น ภาษาอังกฤษ (นอกจากจ้างฝรั่งมาสอนที่วิทยาลัยแล้ว ยังจัดเป็นทีมส่งไปเรียนกับ ม.ร.ว.นิ่มสาย อัมรนันท์ ณ ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนอีก 2 สัปดาห์) คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ ทางด้านการบริหารวิทยาลัยฯ มีคำสั่งแต่งตั้งหัวหน้างานต่างๆ ดังนี้

อาจารย์สุนทร ศรีนิลทา
อาจารย์อุบล จันทกมล
 อาจารย์ประสาธน์ กล้าหาญ

1. ฝ่ายวิชาการ

หัวหน้าฝ่าย นายสุนทร ศรีนิลทา
หัวหน้าคณะวิชาช่างกล นายสุนทร ศรีนิลทา
หัวหน้าคณะวิชาช่างไฟฟ้า ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ รักษาการ
(ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะวิชาช่างไฟฟ้า ตั้งแต่ 2 กุมภาพันธ์ 2507)
หัวหน้าคณะวิชาช่างโยธา นายโสภณ สุวรรณนาคินทร์ รักษาการ
หัวหน้าคณะวิชาสามัญ นายอุทัย เผ่าภู่
หัวหน้าแผนกวิชาช่างยนต์ นายประยูร สาชาติ
หัวหน้าแผนกวิชาช่างโลหะ นายสุจินต์ มาประจง
หัวหน้าแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง นายสมัคร จรูญพันธ์
หัวหน้าแผนกวิชาช่างก่อสร้าง นางจันทนา วัฏฏะสิงห์
หัวหน้าแผนกวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นางคลอใจ บุญยสิงห์
หัวหน้าแผนกวิชาภาษาและสังคมศึกษา นางจารุณีล์ ทรัพย์มณี

2. ฝ่ายบริการ

หัวหน้าฝ่าย นางสาวอุบล จันทกมล
หัวหน้าแผนกทะเบียน นายสมศักดิ์ จวงสวัสดิ์
หัวหน้าแผนกแนะแนว หัวหน้าฝ่ายฯ รักษาการ
หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ นายสมศักดิ์ จวงสวัสดิ์
หัวหน้าแผนกสวัสดิการ ร.ต. หญิงสุจิตรา พึ่งวุฒิ
หัวหน้าแผนกเอกสารการพิมพ์ นายประดวน พัฒนโชติ
หัวหน้าแผนกอุปกรณ์และวิจัย นางสาวเอมอร กกกำแหง

3. ฝ่ายธุรการ

หัวหน้าฝ่าย นายประสาธน์ กล้าหาญ
หัวหน้าแผนกสารบรรณ นางสาวจินตนา พรหมายน
หัวหน้าแผนกการเงิน นายประสาธน์ กล้าหาญ
หัวหน้าแผนกอาคารและสถานที่ นางสาวสมศรี กาญจนสุต
หัวหน้าแผนกบุคลากร หัวหน้าฝ่ายฯ รักษาการ

ปี 2507

15 กรกฎาคม 2507          กระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานตาม Plan of Operation ของกองทุนพิเศษสหประชาชาติ ประกอบด้วย

1. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการ
2. อธิบดีกรมอาชีวศึกษา รองประธานกรรมการ
3. ผู้อำนวยการกองการสัมพันธ์ต่างประเทศ กรรมการ
4. หัวหน้าสำนักงาน UNTAB กรรมการ
5. หัวหน้าสำนักงาน UNESCO กรรมการ
6. ผู้แทนกรมวิเทศสหการ กรรมการ
7. หัวหน้าผู้เชี่ยวญาญ UNESCO ประจำวิทยาลัย กรรมการ
8. ผู้อำนวยการวิทยัยเทคนิค ธนบุรี กรรมการ
9. หัวหน้ากองวิทยาลัยเทคนิค กรรมการและเลขานุการ

–  คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เสนอแนะให้วิทยาลัยฯ จัดหลักสูตรฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูงต่อจากหลักสูตรเดิมอีก 2 ปี เพื่อช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครูช่างผู้ทรงคุณวุฒิให้แก่วิทยาลัยเทคนิคทุกแห่ง นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญยังได้เสนอแนะให้วิทยาลัยฯ ดำเนินการขอความช่วยเหลือไปยัง UNDP เพื่อสนับสนุนกิจการของโครงการฝึกหัดครูอีกด้วย วิทยาลัยฯ ได้ดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ ตามลำดับพร้อมทั้งแต่งตั้ง ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ เป็นหัวหน้าคณะวิชาช่างกล และ ดร.หริส สูตะบุตร เป็นหัวหน้าแผนกช่างโลหะ ปีการศึกษานี้ได้อาคารวิทยาศาสตร์ (อาคารเรียน 2) โรงฝึกงาน ช่างหล่อ โรงฝึกงานช่างไฟฟ้า และต่อเติมโรงฝึกงานช่างก่อสร้าง

– อาจารย์ชุดแรกที่ไปต่างประเทศเดินทางกลับ อาจารย์ชุดที่สองจึงทยอยไปศึกษาต่อบ้าง ท่านเหล่านั้น ได้แก่

1. นายสุจินต์ มาประจง ไปนิวซีแลนด์
2. ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ ไปสหรัฐอเมริกา
3. นายเจตน์ ไชยาคำ ไปสาธารณรัฐจีน
4. นายสิษบ์ษราวุฑฒิ์ พูนทวี ไปสหรัฐอเมริกา
5. นายประยูร สาชาติ ไปนิวซีแลนด์
6. นายชูศักดิ์ เปลี่ยนภู ไปอังกฤษ

ปี 2508

ปีการศึกษา 2508

– วิทยาลัยฯ แต่งตั้งนายวุฑฒิ พันธุมนาวิน เป็นหัวหน้าคณะวิชาสามัญ
– กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติหลักสูตรฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) และให้ตั้งคณะวิชาการฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง เริ่มจากสาขาช่างยนต์ และช่างโลหะ ปีการศึกษา 2509 จึงเริ่มหลักสูตร ปทส. สาขาช่างโยธา และช่างไฟฟ้า

 อาจารย์วุฑฒิ พันธุมนาวิน

พฤศจิกายน 2508

ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ
ดร.หริส สูตะบุตร

หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองบริการเครื่องจักรกล กรมอาชีวศึกษา วิทยาลัยฯ แต่งตั้ง ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และดร. หริส สูตะบุตร เป็นหัวหน้าคณะวิชาช่างกล คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เสนอแนะให้วิทยาลัยฯ ของบประมาณสร้างหอพัก สำหรับนักศึกษาโครงการฝึกหัดครูฯ และได้รับงบประมาณ เพื่อดำเนินการดังกล่าวในปีงบประมาณ 2510 จำนวน 2,000,000 บาท

ปี 2509

ปีการศึกษา 2509             เปิดสอนสาขาช่างโยธา และช่างไฟฟ้า ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จ ป.วส. จากวิทยาลัยเทคนิคแห่งอื่นๆ มาสมัครสอบแข่งขันด้วย                                                                   ปีนี้วิทยาลัยฯ ได้โรงฝึกงานช่างเชื่อมและโลหะแผ่น และตึกอำนวยการ

15 เมษายน 2509             คณะกรรมการประสานงาน ซึ่งมีท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอภัย จันทวิมล เป็นประธาน มีมติให้วิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี                                                                     ดำเนินการร่างโครงการสถาบันเทคโนโลยี ธนบุรี จากข้อเสนอของคณะผู้บริหารวิทยาลัยฯ และคณะผู้เชี่ยวชาญ UNESCO วิทยาลัยฯ                                                     จึงแต่งตั้งกรรมการร่างโครงการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

ดร. หริส สูตะบุตร ประธาน
Dr. N.S. Rajan รองประธาน
นายสุนทร ศรีนิลทา กรรมการ
ดร.ไพบูลย์ หังสพฤก์ กรรมการ
ดร. นาท ตัณฑวิรุฬห์ กรรมการ
นายเจิรญ วัฏฏะสิงห์ กรรมการ
ดร. ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ กรรมการ
นางสาวอุบล จันทกมล กรรมการ
Dr. Tha Hla กรรมการ
Mr. H. Hansen กรรมการ
Mr. I. Davies กรรมการ
Mr. L. Dellenborg กรรมการ
Mr. B.G. Dahlborg กรรมการ
Mr. R.D. Drury กรรมการ
นายวุฑฒิ พันธุมนาวิน กรรมการและเลขานุการ

1 กันยายน 2509               UNDP เริ่มโครงการช่วยเหลือวิทยาลัยฯ เป็นโครงการที่สอง (ชื่อโครงการ Technical Technical Training Project SF. THA. 22)                                                           ตั้งแต่ 1 กันยายน 2509 ลักษณะความช่วยเหลือไม่แตกต่างกับโครงการแรก มีกำหนดเวลา 4 ปี ยอดเงินช่วยเหลือ 935,100 เหรียญ                                                         อเมริกัน เน้นหนักในการผลิตครูเทคนิคชั้นสูงที่มีคุณภาพ เพื่อบรรจุเข้ารับราชการครู ในสถานอาชีวศึกษาทั่วพระราชอาณาจักร                                                               คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ชุดใหม่ของ THA 22 ประกอบด้วย

1. Dr. Tha Hla หัวหน้าคณะ
2. Mr. G.J. de Morree ผู้เชี่ยวชาญสาขาเครื่องกล
3. Mr. R.P. Anthony ผู้เชี่ยวชาญสาขาเทคนิคการผลิต
4. Mr. H.N. Bange ผู้เชี่ยวชาญสาขาก่อสร้าง
5. Mr. B.G. Dahlborg ผู้เชี่ยวชาญสาขาไฟฟ้ากำลัง
6. Dr. M.P. Varshney ผู้เชี่ยวชาญสาขาอีเลคทรอนิกส์
7. Prof. L.J. Wierzbicki ผู้เชี่ยวชาญสาขา Drawing and design
8. Mr. William Dickinson ผู้เชี่ยวชาญสาขาครุศาสตร์
9. Mr. I. Davies ผู้เชี่ยวชาญสาขาเทคนิคการผลิต
Dr. Tha Hla

ปี 2510

14 กุมภาพันธ์ 2510             กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้แผนกวิชาช่างโลหะเปลี่ยนชื่อเป็น แผนกวิชาเทคนิคการผลิตได้ ตามที่วิทยาลัยฯ เสนอ

12 มิถุนายน 2510                วิทยาลัยเสนอโครงการ “สถาบันเทคโนโลยี ธนบุรี” (Thonburi Institute of Technology)” ขยายหลักสูตรเป็น 5 ปี ต่อจาก                                                                            ม.ศ.5 กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้หลักการเมื่อ 3 ตุลาคม 2510

ปีการศึกษา 2510                 คณะวิชาช่างก่อสร้าง จัดหลักสูตรพิเศษเกี่ยวกับ “เทคนิคการสร้างถนน” ให้แก่ข้าราชการจากประเทศลาว จำนวน 8 คน ในความ                                                                   อุปถัมภ์ขององค์การ USOM (United States Operation Mission, Bangkok) กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 5 มิถุนายน – 7 ตุลาคม 2510

โครงการ THA 7 ใกล้จะสิ้นสุด สำรวจแล้ว มีเงินเหลือจำนวนหนึ่ง พอที่จะจัดเป็นทุนการศึกษาต่อต่างประเทศระยะสั้นเพียง 1 ปีได้ ผู้อำนวยการฯ เสนอแนะคณะผู้เชี่ยวชาญให้เป็นทุนสาขา Library Science เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการจัดบริการวิชาการ สำหรับโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฯ ในอนาคต หัวหน้าแผนกอุปกรณ์ และวิจัย ได้รับทุนนี้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ Wayne State University ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 19 มิถุนายน 2510 ผู้รับทุนศึกษาต่อตามโครงการ THA 22 ได้แก่

1. น.ส. อุบล จันทกมล ไปสหรัฐอเมริกา
2. นายอุทัย เผ่าภู่ ไปสหรัฐอเมริกา
3. นายไพโรจน์ ตีรณธนากุล ไปสหรัฐอเมริกา
4. นายจรัล ธนัญชัย ไปสหรัฐอเมริกา
5. นายไมตรี ปชาเดชสุวัฒน์ ไปสหรัฐอเมริกา
6. นายเกษม เลิศรัตน์ ไปสหรัฐอเมริกา
7. นายโสภณ สุวรรณนาคินทร์ ไปออสเตรเลีย

ปี 2511 - 2515

ปี 2511

13 กรกฎาคม 2511
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโครงการสถาบันเทคโนโลยีธนบุรี แต่ให้เรียกชื่อใหม่ว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยี” ผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี รับเป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยี และเสนอร่างพระราชบัญญัติ

16 กรกฎาคม 2511
กรมอาชีวศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา วิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในวงการอุตสาหกรรม และหน่วยราชการ ที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนากำลังคนดังต่อไปนี้

1. นายเทียน อัชกุล อธิบดีกรมแรงงาน
2. ร.ท. ชุบ ศิริเจริญ ร.น. นายช่างวิศวกร บริษัทกรุงเทพฯ อบพืชผลและ ไซโล จำกัด
3. นายสำราญ วรรณพฤกษ์ ผู้จัดการฝ่ายงานบุคคล บริษัท ลีเวอร์บราเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
4. นายขจร สุขพานิช ที่ปรึกษาฝ่ายเทคนิค บริษัทฟีลโก้-ฟอร์ด คอเปอเรชั่น
5. นายปฏิพันธ์ อารยะศาสตร์ รองผู้ว่าการฝ่ายธุรการ การไฟฟ้ายันฮี
6. ดร. วีระชัย สุวรรณาคาร ผู้อำนวยการและผู้จัดการบริษัทวีระชัย และสหาย
7. นายสุนทร ศรีนิลทา หัวหน้ากองบริการเครื่องจักรกล กรมอาชีวศึกษา
8. ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ

นอกจากกรรมการต่างๆ ดังกล่าวแล้ว วิทยาลัยฯ ยังมีคณะกรรมการบริหารอีกชุดหนึ่ง ประกอบด้วย

ผู้อำนวยการ ประธานกรรมการ
รองผู้อำนวยการ รองประธานกรรมการ
หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กรรมการ
หัวหน้าฝ่ายบริการ กรรมการ
ดร. หริส สูตะบุตร กรรมการ
นายเจริญ วัฏฏะสิงห์ กรรมการ
นางเอมอร ศรีนิลทา กรรมการ
นางนันทา โกวงศ์ กรรมการ
หัวหน้าฝ่ายธุรการ กรรมการและเลขานุการ

23 กรกฎาคม 2511
คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการสถาบันเทคโนโลยี ธนบุรี ในที่ประชุม และเห็นชอบให้จัดตั้งได้ แต่ให้เรียกชื่อใหม่ว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยี” กับให้รวมวิทยาลัย เทคนิคไทย-เยอรมัน พระนครเหนือ และวิทยาลัยโทรคมนาคม ไว้ในสังกัดด้วย ท่านอธิบดีพงศ์ศักดิ์ จึงเรียกประชุมผู้อำนวยการเทคนิค ธนบุรี รับเป็นผู้ดำเนินการเอง และได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อกรมอาชีวศึกษาในวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2511 หลังจากมีการประชุมคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยี ในระดับกระทรวง 2 ครั้ง ท่านอธิบดีกรมอาชีวศึกษา ได้เรียกประชุมผู้อำนวยการ และหัวหน้าฝ่ายวิชาการของทั้ง 3 วิทยาลัย เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ อีก 2 ครั้ง แล้วจึงเสนอเข้าที่ประชุมฯ ระดับกระทรวง เป็นครั้งที่ 3 ที่ประชุมลงมติผ่านร่างนี้ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2511 และเสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ต่อผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายระดับกระทรวง แก้ไขปรับปรุงถ้อยคำเป็นขั้นสุดท้าย ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี

ต้นปีการศึกษา 2512 นักศึกษาตั้งข้อกล่าวหาหัวหน้าฝ่ายธุรการ ไม่ยอมฟังคำชี้แจง และข้อเท็จจริงต่างๆ กรมฯ มีคำสั่งด่วนย้ายหัวหน้าฝ่ายธุรการเข้ากรมฯ โดยไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสอบสวน เมื่อเหตุการณ์สงบลงแล้ว นายประภา ประจักษ์ศุภนิติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยจึงขอลาออกจากราชการ และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2512

หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ในขณะที่เปลี่ยนผู้อำนวยการใหม่ ประกอบด้วย

1. ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการชั้นพิเศษ
2. นายสมพงษ์ ปัญญาสุข รองผู้อำนวยการ
3. ดร. หริส สูตะบุตร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าคณะวิชาช่างกล
4. นายอุทัย แก้วช่วง หัวหน้าแผนกวิชาช่างยนต์
5. นายสุจินต์ มาประจง หัวหน้าแผนกวิชาเทคนิคการผลิต
6. นายประพันธ์ เนื่องสิกขาเพียร หัวหน้าคณะวิชาช่างไฟฟ้า และรักษาการหัวหน้าแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
7. นายชูศักดิ์ เปลี่ยนภู่ รักษาการ หัวหน้าแผนกอีเลคทรอนิคส์
8. นายเจริญ วัฏฏะสิงห์ หัวหน้าคณะวิชาช่างโยธา
9. นายอุทัย เผ่าภู่ หัวหน้าแผนกวิชาช่างก่อสร้าง
10. นายสมหมาย สีมากุล หัวหน้าคณะวิชาการฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง
11. นายสมพงษ์ ปัญญาสุข รักษาการ หัวหน้าคณะวิชาสามัญ
12 นางคลอใจ บุณยสิงห์ หัวหน้าแผนกวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
13. นางนันทา โกวงศ์ หัวหน้าแผนกวิชาภาษา และสังคมศึกษา
14. นายเสรี สุขเกษม หัวหน้าฝ่ายธุรการ
15. นายประจวบ ทรัพย์สงวน หัวหน้าแผนกการเงิน
16. นายพนม ภัยหน่าย หัวหน้าแผนกสารบรรณ
17. นายธวัชชัย นาคพุ่ม หัวนห้าแผนกบุคลากร
18. นางสาวเฉลิมวรรษ์ ชูทัย หัวหน้าแผนกอาคารและสถานที่
19. นางสาวพเยาว์ จันทร์เฉลิม หัวหน้าแผนกบัญชี
20. นายสุรเทพ อภัยจิตร หัวหน้าแผนกวัสดุอุปกรณ์
21. นางอุบล จันทกมล หัวหน้าฝ่ายบริการ และรักษาการหัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์
22. นายสมศักดิ์ จวงสวัสดิ์ หัวหน้าแผนกสวัสดิการ
23. เรือตรีหญิงสุจิตรา พึ่งวุฒิ หัวหน้าแผนกสวัสดิการ
24. นายวุฒิ อินทร์แก้ว หัวหน้าแผนกเอกสารการพิมพ์
25. นางเอมอร ศรีนิลทา หัวหน้าแผนกห้องสมุด และรักษาการหัวหน้าแผนกโสตทัศนศึกษา
26. นางนลินี ไกรคุณาศัย หัวหน้าแผนกวิจัยการศึกษา
27. นายพยูร เกตุกราย หัวหน้าแผนกหอพัก

คณะกรรมการบริหารก็เปลี่ยนตัวไปตามตำแหน่งใหม่ มีกรรมการเพิ่มเติม คือ

1. นายอุทัย เผ่าภู่
2. นายสมหมาย สีมากุล
3. นายประพันธ์ เนื่องสิกขาเพียร
4. นายสันติ พัสดร
5. ดร. ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์

ปี 2512

มิถุนายน 2512

แผนกอุปกรณ์และวิจัย ย้ายออกจากอาคารไม้ ไปให้บริการในอาคารเอกเทศ 2 ชั้น และ    นางเอมอร ศรีนิลทา เป็นหัวหน้าแผนก

10 กันยายน 2512

ผู้อำนวยการวิทยาลัยได้รับอนุมัติให้ลาออกจากราชการ โดยมีอาจารย์สมพงษ์ ปัญญาสุข เป็นรองผู้อำนวยการต่อไปตามเดิม และให้ ดร. หริส สูตะบุตร เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการอีกตำแหน่งหนึ่ง

 อาจารย์เอมอร ศรีนิลทา

ปี 2513

13 มกราคม 2513
คณะรัฐมนตรีลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติฯ ที่เสนอไป ให้คงชื่อ “สถาบันเทคโนโลยี” ไว้ตามเดิม แต่ให้แก้ร่างพระราชบัญญัติเดิมให้ชัดว่า การศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญา ในวิทยาลัยทั้งสาม ที่ดำเนินการอยู่แล้ว จะต้องให้คงดำเนินการอยู่ต่อไป และสำหรับผู้ที่จะศึกษาเป็นครูปริญญาทางนี้ ให้คัดเลือกจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาข้างต้น คือระดับวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งมีผลการศึกษาดีเด่น และมีคุณสมบัติเหมาะสม

28 พฤษภาคม 2513
สถาบันเทคโนโลยีธนบุรี ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้นาม “พระจอมเกล้า” เป็นชื่อของสถาบัน นามภาษาอังกฤษ “King Mongkut’s Institute of Technology”

7 กันยายน 2513
คณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเสร็จเรียบร้อย เสนอเข้า ค.ร.ม. คณะรัฐมนตรีรับหลักการในวันรุ่งขึ้น แล้วส่งเรื่องให้พรรคสหประชาไทย เพื่อให้คณะกรรมการการศึกษาของพรรคพิจารณา

คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ในที่ประชุมสภาผู้แทนฯ ซึ่งได้พิจารณา และลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในการประชุมครั้งที่ 10/2514 (วิสามัญ) วันพฤหัสดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ซึ่งบังเอิญตรงกับวันที่ระลึกแห่งการสถาปนาวิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี พอดี ต่อจากนั้นจึงส่งร่างพระราชบัญญัติฯ ให้คณะกรรมาธิการการศึกษา การสาธารณสุข และการสาธารณูปการพิจารณา เมื่อคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ต่อสภาผู้แทนฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2514 (วิสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ที่ประชุมลงมติให้ใช้ได้ และให้เสนอต่อวุฒิสภา เพื่อพิจารณาต่อไป วุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติฯ ไว้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ในที่สุดโครงการสถาบันเทคโนโลยี ซึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการถึง 5 ปี ก็สัมฤทธิผล พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ฉบับที่ 1 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 88 ตอนที่ 43 วันที่ 23 เมษายน 2514 สถาบันฯ มีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หลักการสำคัญคือ เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญา และให้การศึกษาทางเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ ทั้งระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลให้บรรดาผู้ได้รับประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ป.ท.ส.) ของวิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ฯลฯ ก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ มีศักดิ์ และสิทธิเท่ากับผู้ได้รับปริญญาบัตรตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่ต้องชื่นชมกันเป็นพิเศษ เพราะมีความหมายอย่างมากในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

 ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์

มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยี ฉบับที่ 1 ระบุว่า “ในระยะเริ่มแรกที่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี และหัวหน้าสำนักงานอธิการบดี ให้สภาสถาบันประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นนายกสภาสถาบัน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองนายกสภาสถาบัน อธิบดีกรมอาชีวศึกษา เป็นกรรมการสภาสถาบันโดยตำแหน่ง และกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คน แต่ไม่เกินเก้าคน และให้อธิบดีกรมอาชีวศึกษา เป็นเลขานุการสภาสถาบันอีกตำแหน่งหนึ่ง” สภาสถาบันชุดแรก จึงประกอบด้วย

1. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ นายกสภาสถาบัน
2. นายบุญถิ่น อัตถากร รองนายกสภาสถาบัน
3. พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
4. พลโทบุญเรือน บัวจรูญ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
5. นาวาอากาศเอก วิมล วิริยะวิทย์ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
6. นายจ่าง รัตนะรัต กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
7. นายดำรง ชลวิจารณ์ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
8. พระประกอบยันตรกิจ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
9. นายพงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ

ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้จัดแบ่งหมวดวิชา ในภาควิชาต่างๆ ดังนี้

1. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering Department)

– หมวดวิชาโครงสร้าง (Structural Technology Division)
– หมวดวิชาการทาง (Highway Technology Division)
– หมวดวิชาช่างสุขาภิบาล (Sanitary Technology Division)
– หมวดวิชาช่างก่อสร้าง (Construction Technology Division)
– หมวดวิชาการขนส่ง (Transportation Technology Division)
– หมวดวิชาธรณีวิทยา (Geology Division)

2. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม (Production Engineering Department)

– หมวดวิชาช่างกลโรงงาน (Machine Tool Technology Division)
– หมวดวิชาช่างเชื่อมและโลหะแผ่น (Welding & Sheet Metal Tech. Division)
– หมวดวิชาช่างหล่อ (Foundry Technology Division)
– หมวดวิชาช่างทั่วไป (Basic Workshop Technology Division)
– หมวดวิชาการบริหารอุตสาหกรรม (Industrial Management Division)
– หมวดวิชาวัสดุวิทยา (Materials Technology Division)
– หมวดวิชาออกแบบเครื่องมือการผลิต (Tool Design Division)

3. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering Department)

– หมวดวิชาความร้อนประยุกต์ (Thermal Engineering Department)
– หมวดวิชากลศาสตร์ของไหล (Fluid Mechanics Division)
– หมวดวิชากลศาสตร์ประยุกต์ (Applied Mechanics Division)
– หมวดวิชาออกแบบและควบคุมอัตโนมัติ (Design & Automatic Control Division)
– หมวดวิชาช่างยนต์ (Automotive Technology Division)
– หมวดวิชาเครื่องกล (Mechanical Technology Division)

4. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering Department)

– หมวดวิชาเครื่องจักรกลไฟฟ้าและระบบไฟฟ้ากำลัง (Electrical Machine & Power Systems Division)
– หมวดวิชาทฤษฎีวงจรไฟฟ้า (Circuit Theory Division)
– หมวดวิชาควบคุมอัตโนมัติ (Control & Automation Division)
– หมวดวิชาอีเลคทรอนิคส์ (Electronics Division)
– หมวดวิชาโทรคมนาคม (Communication Division)
– หมวดวิชาอีเลคทรอนิคส์อุตสาหกรรม (Industrial Electronics Division)
– หมวดวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง (Electrical Technology Division)
– หมวดวิชาช่างอีเลคทรอนิคส์ (Electronic Technology Division)

5. ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (Mathematics & Science Department)

– หมวดวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics Division)
– หมวดวิชาวิธีกาคำนวณ (Computing Technique Division)
– หมวดวิชาฟิสิคส์ (Physics Division)
– หมวดวิชาเคมี (Chemistry Division)

6.ภาควิชาภาษาและสังคมศาสตร์ (Language & Social Sciences Department)

– หมวดวิชาภาษาอังกฤษ (English Division)
– หมวดวิชาสังคมศาสตร์ (Social Sciences Division)

7. ภาควิชาครุศาสตร์ (Education Department)

– หมวดวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Education Division)
– หมวดวิชาโสตทัศนศึกษา (Instructional Technology Division)
– หมวดวิชาจิตวิทยาและแนะแนว (Psychology & Guidance Division)
– หมวดวิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา (Evaluation & Educational Research Division)

21 กันยายน 2513             เช่าเครื่องถ่ายเอกสารครั้งแรก

ตุลาคม 2513                        โทรศัพท์สาธารณะประจำวิทยาลัย เครื่องแรกได้รับการติดตั้ง ตามการร้องขอจากนายสุธี ภัทราคร ประธานสภานักศึกษา

ปี 2514

4 กุมภาพันธ์ 2514          สภาผู้แทนราษฎร ลงมติรับหลักการแห่งพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยี พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า                                                                           พ.ศ. 2514 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 88 ตอนที่ 43 หลักสำคัญคือ ผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญา

2 สิงหาคม 2514               ประชุมสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ครั้งแรก

กันยายน 2514                   ตู้ไปรษณีย์ตู้แรกประจำวิทยาลัย ได้รับการติดตั้ง

5 พฤศจิกายน 2514
สภาสถาบันมีมติ ให้รับวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง ของกรมอาชีวศึกษา เข้าสมทบ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และให้จัดตั้งเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2516 เป็นต้นไป คณะกรรมการดำเนินการสถาบันฯ จึงให้เลิกรับนักศึกษา สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2515

17 พฤศจิกายน 2514
คณะปฏิวัติ (มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าคณะปฎิวัติ ยึดอำนาจตนเองซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐนตรี) ยึดอำนาจปกครองประเทศ มีคำสั่งให้ปลัดกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบงานในกระทรวง นายบุญถิ่น อัตถากร ปลัดกระทรวง ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงเป็นนายกสภาสถาบันท่านที่สอง และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายพงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ เป็นอธิการบดี ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2514

22 ธันวาคม 2514
– มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายพงศ์ศักดิ์ วรสุนทรโรสถ เป็นอธิการบดี
– สถาบันฯ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญ “พระมหามงกุฏ” เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตามแบบตัวอย่างตราเครื่องหมายที่โปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบใหม่โดยใช้ตราเครื่องหมายรัชกาลที่ ๔ เป็นหลัก และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2514

ศ.บุญถิ่น อัตถากร

ปี 2515

29 มกราคม-4 กุมภาพันธ์ 2515
นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี จัดนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 1 (นายเกษม โสตถิวัฒน์ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ รองอธิการบดี เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา) ในบริเวณสถาบันฯ เพื่อแสดงผลงานทางเทคโนโลยี ของนักศึกษาทุกแผนก และเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สู่ประชาชน มูลนิธิเอเซีย สนับสนุนด้านกำลังเงิน จำนวน 15,000 บาท สถานฑูตต่างๆ ส่งโปสเตอร์มาแสดง ร้านค้ามาร่วมแสดงสินค้าในงานกว่า 10 ร้าน นักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ มาแข่งตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์อย่างคับคั่ง ประชาชนสนใจเข้าชมงานประมาณ 19,000 คน พลเรือตรีชลี สินธุโสภณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันฯ ได้มาชมนิทรรศการนี้เป็นการส่วนตัว และได้นำไปกล่าวชมเชยในที่ประชุมสภาสถาบัน ต่อหน้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอธิการบดี

1 มีนาคม 2515
UNDP เริ่มโครงการช่วยเหลือคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เป็นโครงการที่สาม คือ โครงการ Technical Teacher Training Programme, King Mongkut’s Institute of Technology Thonburi (Phase II) SF. THA. 72/005 ลักษณะความช่วยเหลือเช่นเดียวกับโครงการก่อน มีกำหนดเวลา 3 1/2 ปี คิดเป็นมูลค่า 735,790 เหรียญอเมริกัน คณะผู้เชี่ยวชาญชุดนี้ประกอบด้วย

1. Mr. H.N.C. Stam Chief Technical Adviser (ชาวเนเธอร์แลนด์)
2. Mr. I. Davies Production Engineering Expert
3. Mr. D.P. Morrion Electrical Engineering Expert
4. Mr. A. Stromberg Civil Engineering Expert
5. Mr. D.E. Alexander Mechanical Engineering Expert
6. Mr. John McGreal Expert in Principles and Methods of Education
7. Mr. D. Blumel Associate Expert in Production of Technical Learning Materials
8. Mr. P. Alexandre Electrical Engineering Expert
9. Mr. H. Bange Civil Engineering Expert
10. Mr. C.E. Strand Associate Expert in Mechanical Engineering Teaching

– ผู้รับทุนศึกษาต่อตามโครงการ THA 72 ได้แก่

1. นายบันเทิง สุวรรณตระกูล ไปอังกฤษ
2. นายชัยนนท์ ศรีสุภินานนท์ ไปสหรัฐอเมริกา
3. นายขจรศักดิ์ คันธพนิต ไปสหรัฐอเมริกา
4. นายสัมพันธ์ หาญชเล ไปสหรัฐอเมริกา
5. นายพิสิษฐ์ อาวัชนากร ไปสหรัฐอเมริกา
6. นายชูศักดิ์ เปลี่ยนภู่ ไปสหรัฐอเมริกา

14 มีนาคม 2515
สภาสถาบันฯ ประกาศใช้ระเบียบฯ ว่าด้วยการเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษา และค่าธรรมเนียมการศึกษา พ.ศ. 2515 (แก้ไขเพิ่มเติม 17 กรกฎาคม 2515)

ปีการศึกษา 2515
ภาควิชาภาษาและสังคม เปลี่ยนหลักสูตรและการสอนวิชาภาษาอังกฤษเป็นแบบ Intensive

5 มิถุนายน 2515
สภาสถาบันฯ กำหนดมาตรฐานการวัดผลการศึกษาใหม่ ให้คณะกรรมการประจำคณะพิจารณาผลของการวัดผลการศึกษาทุกระดับ และทุกภาคเรียน ให้คณบดีเป็นผู้อนุมัติผลของการวัดผลการศึกษาทุกระดับ และทุกภาคเรียน ให้คณบดีเป็นผู้อนุมัติผลของการวัดผลการศึกษาของแต่ละคณะ และในกรณีที่มีปัญหาให้อธิการบดี เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

6 มิถุนายน 2515
สำนักงาน ก.พ. รับรองปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาโยธา สาขาไฟฟ้ากำลัง สาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สาขาเครื่องกล และสาขาอุตสาหการ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ว่าเป็นปริญญา ซึ่งอาจบรรจุผู้สำเร็จการศึกษาเข้ารับราชการได้ไม่สูงกว่าชั้นตรี อันดับ 2 ขั้น 1,250 บาท ตามข้อ 6 (2) แห่งกฎ ก.พ. ฉบับที่ 622 (พ.ศ.2513)

9 มิถุนายน 2515
สภาฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า อนุมัติให้จ้างแพทย์ (นายแพทย์กุดั่น ปัทมสูต) เพื่อบริการสุขภาพแก่นักศึกษาเป็นครั้งแรก

19 ธันวาคม 2515
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอภัย จันทวิมล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายอภัย จันทวิมล เป็นนายกสภาสถาบันท่านที่สาม

18 ตุลาคม 2515
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ทูนเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรขึ้นเป็นครั้งแรก ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ

ศ.อภัย จันทวิมล

ปี 2516 - 2520

ปี 2516

3 กรกฎาคม 2516
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลตรีประมาณ อดิเรกสาร และศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร เป็นกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ

14 ตุลาคม 2516
เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอภัย จันทวิมล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกวาระหนึ่ง พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งเดิมสถาบันฯ กำหนดจะจัดในวันที่ 25 ตุลาคม 2516 จำเป็นต้องงดโดยปริยาย เนื่องจากพระราชบัญญัติ แบ่งส่วนราชการภายในสถาบัน ยังไม่เรียบร้อย บุคคลในคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ซึ่งยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ตลอดมา กับกรรมการฝ่ายวิชาการ เกือบจะเป็นชุดเดียวกันอยู่แล้ว ท่านรองอธิการบดี จึงมอบหมายให้กรรมการฝ่ายวิชาการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพียงชุดเดียว ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2516 กรรมการชุดนี้ ประกอบด้วย

1. ดร.หริส สูตะบุตร ประธาน
2. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ กรรมการ
3. ดร.วรศักดิ์ วรภมร กรรมการ
4. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร กรรมการ
5. นายสมหมาย สีมากุล กรรมการ
6. นางคลอใจ บุญยสิงห์ กรรมการ
7. นางนันทา โกวงศ์ กรรมการ
8. นายไพโรจน์ ตีรณธนากุล กรรมการ
9. นายอุทัย เผ่าภู่ กรรมการ
10. ดร.นระ คมนามูล กรรมการ

โดยที่รัฐบาลมีนโยบาย ที่จะให้สถาบันการศึกษาที่มีกฎหมาย ให้อำนาจประสาทปริญญา ในสาขาที่เปิดสอน ไปสังกัดอยู่ในทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ คณะรัฐมนตรี จึงประกาศ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2516 ให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ไปเป็นส่วนราชการ ในทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ และให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2515 ด้วย

ธันวาคม 2516
นักศึกษา “วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้” จังหวัดเชียงใหม่ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ และมหาวิทยาลัย     แม่โจ้ ตามลำดับ) ขอเข้ามารวมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ที่ประชุมวิชาการเสนอแนะ ให้ดำเนินเรื่องเสนอทบวงฯ จัดตั้งเป็นสถาบันใหม่

ปี 2517

11 มกราคม 2517
นักเรียนอาชีวศึกษากลุ่มหนึ่งเดินขบวนเรียกร้องให้พวกตน ได้มีโอกาสเรียนต่อถึงขั้นปริญญา ขอให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า กลับมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามเดิม และให้สถาบันฯ รับนักเรียนที่จบ มศ.6 เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2517 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี รับข้อเสนอไว้ สภานักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ยื่นหนังสือคัดค้านในวันรุ่งขึ้น คณะอาจารย์ของสถาบันประชุมกันแล้ว ลงมติตั้งกรรมการชุดหนึ่ง จำนวน 17 คน เป็นผู้แทนดำเนินการร่างคำร้องเรียนเสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการเสนอ ฯพณฯ ว่าการตัดสินเรื่องนี้ น่าจะมอบให้เป็นหน้าที่ของสภาสถาบัน ตามที่ พ.ร.บ. สถาบันฯ พ.ศ. 2514 กำหนดไว้ พร้อมทั้งได้ชี้แจงข้อขัดข้องต่างๆ ประกอบไปด้วย

ปีการศึกษา 2517 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เปิดสอนวิชาชั้นปริญญาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยรับนักศึกษารุ่นแรกเพียง 31 คน

ศ.เกษม สุวรรณกุล

28 มิถุนายน 2517

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 112 ฉบับพิเศษ ให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไปสังกัดและเป็นส่วนราชการในทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์เกษม สุวรรณกุล รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เป็นนายกสภาสถาบันท่านที่สี่ ก่อนหน้านั้นได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลตรีประมาณ อดิเรกสาร และศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร เป็นกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2516

24 กรกฎาคม 2517
สภาสถาบันอนุมัติให้ เปิดสอนสาขาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ได้ ในปีการศึกษา 2518 ตามที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ธนบุรี เสนอ

21 สิงหาคม 2517
สถาบัน ประกาศระเบียบสถาบันเทคโนโลยี ว่าด้วยการวัดผลการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ. 2517

20 กันยายน 2517
เส้นทางคมนาคมมายังสถาบันฯ ลาดยางตลอดแล้ว รถเมล์ประจำทางยังคงมีแค่ 2 สาย คือ 84 และ 88 ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้จำเป็นต้องโดยสาร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าสมัยก่อนหลายเท่า สถาบันฯ ธนบุรี จึงร้องขอกรมการขนส่งทางบก ให้รถเมล์สาย 75 (หัวลำโพง-วิทยาลัยพาณิชยการเชตุพน) และ 87 (สนามม้านางเลิ้ง-วิทยาลัยพาณิชยการเชตุพน) ซึ่งมาสุดทางที่หน้าวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน ได้เลยเข้ามาถึงสถาบันฯ ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งประชุม เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2517 อนุมัติให้รถเมล์สาย 87 วิ่งผ่านหน้าสถาบันฯ ไปสิ้นสุดปลายทางที่สวนธนบุรีรมย์

19 ตุลาคม 2517
สถาบันประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เป็นครั้งที่ 2 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ดร.จ่าง รัตนะรัต และศาสตราจารย์พงศ์ศักดิ์ วรสุนทรโรสถ ได้รับพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

20 ตุลาคม 2517
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า นำกฐินพระราชทาน ถวาย ณ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร จังหวัดชัยนาท

นักศึกษาวิศวกรรมโยธา สาขาโครงสร้าง ของวิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง โอนมาเรียนชั้นปีที่ 4 ที่วิทยาเขตธนบุรี ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2517 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้จัดชั้น เรียนเพิ่มให้ต่างหาก

5 พฤศจิกายน 2517
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เพิ่มจะประกาศใช้ ให้แบ่งส่วนราชการออกเป็น คณะ ภาค กอง และแผนก (ได้แก่ กองกลางของสำนักงานอธิการบดี และกองธุรการของแต่ละวิทยาเขต ยังไม่มีกองบริการการศึกษา ประจำวิทยาเขต)

18 ธันวาคม 2517
ดร.หริส สูตะบุตร แต่งตั้งเป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ อย่างเป็นทางการ

19 ธันวาคม 2517
ดร.วุฑฒิ พันธุมนาวิน ได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ อย่างเป็นทางการ

ปี 2518

 พลเรือตรีชลี สินธุโสภณ

20 มกราคม 2518
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเรือตรีชลี สินธุโสภณ เป็นนายกสภาสถาบัน ท่านที่ 5

26 มกราคม 2518
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสถาบันออกเป็นคณะ ภาควิชา และกองธุรการ ดร. หริส สูตะบุตร ได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ อย่างเป็นทางการ

มีนาคม 2518
ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ เสนอโครงการสำนักศึกษาและวิจัยพลังงานและวัสดุ เพื่อให้การศึกษาระดับปริญญาโท ทางวิศวกรรมศาสตร์ ในสาขาที่เป็น Multidisciplinary ได้แก่ สาขาพลังงาน, สาขาเทคโนโลยีวัสดุ, และสาขาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเพื่อทำการวิจัยพลังงานและวัสดุ โดยเน้นในด้านที่จะสามารถนำมาประยุกต์กับความต้องการของประเทศได้ ทบวงมหาวิทยาลัย พิจารณาแล้ว เห็นว่าพระราชบัญญัติสถาบันฯ พ.ศ.2514 ไม่ได้ให้อำนาจตั้งสำนักไว้ ถ้าตั้งสำนักขึ้นมา ก็จะทำได้แต่งานวิจัย จัดสอนนักศึกษาไม่ได้ ถ้าจะเปิดสอนต้องตั้งเป็นคณะ คณะกรรมการวางแผนและพัฒนาสถาบัน จึงขอให้ตั้งเป็น คณะพลังงานและวัสดุ และดำเนินการตามจุดประสงค์เดิม

ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสด

ปีการศึกษา 2518
เริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกลรุ่นแรก จำนวน 15 คน คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เริ่มงานวิจัยด้านพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และจัดโปรแกรมฝึกอบรมระยะสั้นและระยะยาว โดยงบอุดหนุนของ UNDP

2 เมษายน 2518
โครงการช่วยเหลือคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ THA 72/005 ใกล้จะสิ้นสุด มีเงินเหลืออยู่บ้าง หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญฯ จึงจัดโปรแกรมการดูงานและฝึกอบรมระยะสั้นในยุโรปให้แก่ผู้ประสานงาน และอาจารย์ของคณะฯ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ฝึกอบรมระยะสั้น และดูงานประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 2 เมษายน – 1 มิถุนายน 2518 ประกอบด้วย

1. นายไพโรจน์ ตีรณธนากุล
2. นายผจญ ขันธชวนะ
3. น.ส.เพราพรรณ ประพิตรภา
4. น.ส.จริยา ปัญราช
5. นายประยูร กิจพานิชวิเศษ
6. นายสุทัศน์ พรอานุภาพกุล
7. นายพลรัตน์ ลักษณียนาวิน

กลุ่มที่ 2 ดูงานการศึกษาด้านเทคโนโลยี ตั้งแต่ระดับช่างฝีมือ ถึงระดับมหาวิทยาลัยในผรั่งเศส เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ รวม 30 แห่ง ระหว่างวันที่ 7 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2518 ประกอบด้วย

1. ดร. หริส สูตะบุตร
2. นายสมพงษ์ ปัญญาสุข
3. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์
4. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร
5. ดร.นระ คมนามูล
6. นางคลอใจ บุณยสิงห์
7. นางนันทา โกวงศ์

3 กรกฎาคม 2518
ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดี อย่างเป็นทางการ

18 ตุลาคม 2518
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 3 ศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ และนายคาร์ล สตีทสเล่อร์ ได้รับพระราชทานปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ บัณฑิตจากวิทยาเขตธนบุรี เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร 164 คน

11 ธันวาคม 2518
นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้จัดนิทรรศการเทคโนโลยี ณ สถาบันฯ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 11-17 ธันวาคม 2518 นายสุข ชัยศิริถาวรกุล เป็นประธานกรรมการดำเนินงาน ดร.หริส สูตะบุตร เป็นประธานกรรมการอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับความร่วมมือจากสถานฑูต บริษัท ห้าง ร้าน ศิษย์เก่า นักเรียน และประชาชน เช่นเดียวกับครั้งที่หนึ่ง นอกจากแสดงผลงานของภาควิชาต่างๆ แล้ว ยังแสดงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์, โครงงานกำจัดสิ่งโสโครก, โครงการพลังงาน และโครงงาน “อุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้าง” ด้วย

ปี 2519

ปีการศึกษา 2519
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ได้ขยายส่วนราชการเดิมที่เป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ออกเป็น 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาเคมี และภาควิชาฟิสิกส์ และได้เริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ 26 คน สาขาคณิตศาสตร์ 25 คน ส่วนสาขาเคมี จะเริ่มในปีการศึกษาต่อไป หลักสูตรนี้ใช้เวลาศึกษา 4 ปี เน้นหนักทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อการพัฒนาทางอุตสาหกรรม คณะฯ ได้รับงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 15 ล้านบาท ในการสร้างอาคาร ซึ่งใช้เป็นสำนักงาน, ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการภาคฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ และอีก 24 ล้านบาท สำหรับสร้างอาคารเรียน และปฏิบัติการภาคเคมีแทนที่อาคารเรียนไม้ ซึ่งมีอายุ 22 ปีแล้ว คาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยในปี 2524

6 ตุลาคม 2519
เกิดการจลาจลที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาของสถาบันฯ ถูกจับไปหลายคน สถาบันฯ ได้ตั้งศูนย์กลางการติดต่อและประมวลข่าวเกี่ยวกับนักศึกษาของสถาบันฯ ให้ทันกับเหตุการณ์ ให้เจ้าหน้าที่ไปติดต่อหน่วยควบคุมที่บางเขน และหน่วยควบคุมที่นครปฐม ให้แผนกทะเบียนส่งจดหมายติดต่อผู้ปกครองนักศึกษาที่ถูกควบคุมตัว เพื่อขอประกันตัว ส่วนผู้ที่ผู้ปกครองไม่สามารถไปขอประกันได้ทัน รองอธิการบดี คณบดี และรองคณบดี ได้ไปประกันตัวให้

18 ตุลาคม 2519
เลื่อนกำหนดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งกำหนดไว้วันที่ 18 ตุลาคม 2519 ไม่สามารถจัดได้ แต่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2520

ปี 2520

24 มีนาคม 2520
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ หอประชุมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เวลา 16.00 น. นาวาอากาศเอกวิมล วิริยะวิทย์, นายดำรง ชลวิจารณ์, และนายชิเงโยชิ มัทซิมาเอะ ได้รับพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ บัณฑิตจากวิทยาเขตธนบุรี เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร 293 คน

ปีการศึกษา 2520
สถาบันฯ เริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีพลังงาน 14 คน และสาขาวิศวกรรมโยธา 15 คน เริ่มจัดโควต้ารับนักศึกษาหลักสูตร วศ.บ. และ วท.บ. จากส่วนภูมิภาค โดยอิงมหาวิทยาลัยในภูมิภาคนั้นๆ คัดเลือกให้ ภาควิชาภาษาและสังคมเสนอโครงการภาษาอังกฤษเทคนิค (The Project of English for Science and Technology) และขอความช่วยเหลือจากโครงการโคลัมโบ สหราชอาณาจักรได้ให้ความช่วยเหลือผ่าน British Council ส่ง Mr. Andrew Dunlop มาช่วยวางหลักสูตรเตรียมเนื้อหาวิชา แนะนำและอบรมวิธีสอน ให้อาจารย์ในภาค ตั้งแต่กันยายน 2519

  • ปีนี้สถาบันฯ เริ่มออก “วารสารวิจัยและพัฒนา สจ.ธ.” (KMITT Research and Development Bulletin) ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ เป็นบรรณาธิการท่านแรก
  • อาสาสมัครคานาดา

1) Mr.Frank Summerville ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
2) นายสงวน ปานมุข ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม
3) Mr.Kenneth Cooper ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
4) Mr.David Ford ภาควิชาเคมี
5) Mr.Ralph Pynn ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

  • อาสาสมัครอังกฤษ

1) Mr.Peter Friend ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
2) Mr.James Stockwell ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

  • อาสาสมัครอเมริกัน

1) Mr.Lucy Locorcaro ภาควิชาภาษาและสังคม
2) Dr.Conrad Weiffenbach ภาควิชาฟิสิคส์
3) Mr.Joe Cummings ภาควิชาภาษาและสังคม
4) Mr.N.C. Gordon ภาควิชาภาษาและสังคม
5) Mr.George Thompson ภาควิชาวิศกวรรมเคมี

  • อาสาสมัครเยอรมัน

1) Mr.Rudolf Konzelmann ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ปี 2521 - 2525

ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร
ศ.บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ
ศ.จำรัส ฉายะพงศ

ปี 2521

13 มกราคม 2521
พลเรือตรีชลี สินธุโสภณ นายกสภาสถาบัน ถึงแก่อนิจกรรม สภาสถาบันมีมติให้ ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ปฏิบัติราชการแทน

20 เมษายน 2521
ภาควิชาภาษา จัด Inservice Training Workshop for English Teachers ระหว่าง 20 เมษายน – 19 พฤษภาคม 2521 มีอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษ จากวิทยาเขตอื่น จากวิทยาลัยและโรงเรียนเทคนิคทั่วประเทศ เข้ารับการอบรม 82 คน

1 ตุลาคม 2521
ศาสตราจารย์พงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ อธิการบดี ประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรม

3 พฤศจิกายน 2521
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ เป็นอธิการบดี

12 ธันวาคม 2521
สถาบันฯ จัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง Solar Energy and Applications หรือ การประชุมสัมมนาวิชาการในชุดพลังงานนอกแบบและการประยุกต์เป็นครั้งแรก ร่วมกับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ณ ห้องสัมมนาของสมาคมฯ ระหว่างวันที่ 12-16 ธันวาคม 2521 การสัมมนาประกอบด้วย การบรรยายของวิทยากร การเสนอผลงานวิจัยและพัฒนา การอภิปรายของผู้เข้าร่วมสัมมนา การชมงานวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ นอกสถานที่ ณ วิทยาเขตธนบุรี และได้จัดพิมพ์รายงานการสัมมนา เพื่อเผยแพร่ด้วย

พระราชบัญญัติเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 55 หน้า 36-46 พ.ร.บ. ฉบับนี้สอดคล้องกับลักษณะการบริหารงานของวิทยาเขตธนบุรีมากที่สุด

20 ธันวาคม 2521
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์จำรัส ฉายะพงษ์ เป็นนายกสภาสถาบัน ท่านที่ 7

ปี 2522

ปีการศึกษา 2522
– อาคารหลังแรกของสถาบันฯ ถูกรื้อลง เพื่อสร้างอาคารเคมี
– จัดตั้งคณะพลังงานและวัสดุโดยเน้นการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา การวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีพลังงานและสาขาที่เกี่ยวข้อง

7 ธันวาคม 2522
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเปิดงานนิทรรศการเทคโนโลยีครั้งที่ 3 กับงานฉลองครบรอบ 20ปี วิทยาเขตธนบุรี

ปี 2523

16 มกราคม 2523
สถาบันเสนอโครงการจัดตั้งกองบริการการศึกษา และสำนักหอสมุด

25 กันยายน 2523
สถาบันออกกฎระเบียบว่าด้วยการรับบุคคล ภายนอกเข้ารับการอบรมในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปประกอบการขอรับใบควบคุมการประกอบอาชีพ วิศวกรรมได้

ตุลาคม 2523
สำนักงานพลังงานแห่งชาติ และ USAID สนับสนุนให้วิทยาลัยธนบุรี ทำโครงการพัฒนาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Process Heat) ในชนบท กำหนดเวลา 4 ปี

18 ตุลาคม 2523
สถาบันทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร และปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรสยามบรมราชกุมารี

31 ธันวาคม 2523
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสถาบัน พ.ศ. 2523 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 97 ตอนที่ 208 (หน้า 1-3)

ปี 2524

12 มีนาคม 2524
คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย มีมติให้จัดตั้งห้องสมุดวิทยาลัยเขตธนบุรีเป็นส่วนราชการระดับกองในสำนักงานรองอธิการบดี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 205 ฉบับพิเศษ หน้า 18 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524

2 กรกฎาคม 2524
ประกาศของทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องการแบ่งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2524 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 117 ฉบับพิเศษ

กรกฎาคม 2524
วิทยาเขตธนบุรี เข้าร่วมในโครงการอาเซียนด้านการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางอาหารและ เกษตร และเป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทยในการบริหารโครงการความร่วมมือระหว่างอา เซียนและประเทศออสเตรเลีย

13 สิงหาคม 2524
มีการประชุมสภาสถาบันเพื่อพิจารณาเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีใน วาระต่อไป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นวิกฤตการณ์ทางด้านบริหารในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า อย่างชัดเจน

ปี 2525

2 กุมภาพันธ์ 2525
สถาบันอนุมัติการจัดตั้ง หอจดหมายเหตุสถาบัน ในห้องสมุดวิทยาเขตธนบุรี

กุมภาพันธ์ – เมษายน 2525
สภาสถาบันพิจารณาว่า ปัญหาความขัดแย้งและเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น เป็นผลจากโครงสร้างของสถาบัน ซึ่งรวม 3 วิทยาลัย ซึ่งมีประวัติ ปรัชญา และแนวทางการจัดการศึกษาแตกต่างกัน ดังนั้นสภาสถาบันจึงเสนอรูปแบบการปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารสถาบัน รวม 4 แบบผ่านทบวงมหาวิทยาลัย

14 เมษายน 2525 และ 3 สิงหาคม 2525
คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันตามรูปแบบที่ 2 กล่าวคือ จะมีการจัดตั้งเป็น 3 สถาบันโดยเป็นนิติบุคคล มีอธิการบดีและสภาสถาบันของตนเอง การบริหารงานส่วนใหญ่จะเสร็จสิ้นในระดับสถาบัน

ปีการศึกษา 2525
เริ่มหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพในคณะพลังงานและวัสดุ และหลักสูตร วท.บ. สาขาจุลชีววิทยา ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

22 ตุลาคม 2525
แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อสักการะบูชาในโอกาสครบ 180 ปี แห่งวันพระราชสมภพ (18 ตุลาคม 2527) และ 25 ปี แห่งการสถาปนาวิทยาเขตธนบุรี (4 กุมภาพันธ์ 2528)

8 ธันวาคม 2525
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเปิดงาน นิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 ทรงเปิดอาคารคณะพลังงานและวัสดุ อาคารภาควิชาเคมี และห้องสมุด

ปี 2526 - 2530

ปี 2526

ปีการศึกษา 2526
เริ่มหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมีในภาควิชาวิศวกรรมเคมี

1 กรกฎาคม 2526
ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย แบ่งส่วนราชการในสถาบัน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2526 ตั้งกองบริการการศึกษาในสำนักงานรองอธิการบดี วิทยาเขตธนบุรี

4 กรกฎาคม 2526
มีการสรรหาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์โดยกระบวนการสรรหาเป็นครั้งแรกของสถาบัน

4 สิงหาคม 2526
ทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล ครุศาสตร์ไฟฟ้า และจุลชีววิทยา ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

22 สิงหาคม 2526
สภาสถาบันอนุมัติให้ ศาสตราจารย์ บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดี และแต่งตั้งให้รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตผลัดกันเป็นผู้รักษาการแทน อธิการบดี คนละ 3 เดือน

6 กันยายน 2526
คณะรัฐมนตรีให้ส่งร่าง พ.ร.บ. สถาบันซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาแล้ว ให้ทบวงมหาวิทยาลัยและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พิจารณาร่วมกันถึงผลกระทบที่อาจมีต่อมหาวิทยาลัยที่มีหลายวิทยาเขต

1 ตุลาคม 2526
นาย Alan G. Waters ผู้เชี่ยวชาญชาวอังกฤษ มาประจำภาควิชาภาษาและสังคมในตำแหน่ง MA Advisor ภายใต้แผนโคลัมโบ เป็นเวลา 4 ปี

10 พฤศจิกายน 2526
น้ำท่วมใหญ่ทั้งวิทยาเขตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม โรงฝึกงานที่ประสบความเสียหายได้แก่ โยธา 1, อุตสาหกรรมโรง 2 และโรง 3 บุคลากรที่มาทำงานต้องนั่งเรือเข้ามา

20 ธันวาคม 2526
ร้านสหกรณ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ร้านสหกรณ์ สจ.ธ. จำกัด) ได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ และเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2527

ปี 2527

11 มกราคม 2527
สถาบันฯ อนุมัติให้ใช้อาคารวิศวกรรมเคมีเป็นที่ตั้งสำนักงานโครงการหลวงอาหารสำเร็จ รูป และโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ รวมทั้งสร้างโรงเก็บผลิตภัณฑ์ของโครงการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแจ้งว่า ทรงพอพระราชหฤทัยที่ได้รับการสนับสนุนโครงการและความร่วมมือจากสถาบัน

24 มกราคม 2527
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติและทบวงมหาวิทยาลัย เสนอความเห็นร่วมต่อคณะรัฐมนตรีว่า โครงสร้างและระบบบริหารของสถาบันฯ ตามร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา พระราชบัญญัติดังกล่าวอีก 2 ครั้ง ในวันที่ 17 เมษายน 2527 และ 24 กรกฎาคม 2527

พฤษภาคม 2527
อาจารย์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เข้าร่วมเป็นกรรมการนโยบาย กรรมการบริหาร และกรรมการวิชาการ ของศูนย์วิจัยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ปีการศึกษา 2527
เริ่มหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (ภาษาอังกฤษเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ในภาควิชาภาษาและสังคม และเริ่มใช้หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุงใหม่สำหรับนักศึกษาใหม่

26 มิถุนายน 2527
ลงนามในข้อตกลงโครงการวิจัยการเก็บรักษาธัญพืชกับประเทศออสเตรเลีย มูลค่า 51,000 เหรียญ ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี

สิงหาคม 2527
รัฐบาลออสเตรเลียให้ความช่วยเหลือในการจัดตั้งสำนักประสานงานด้านมาตรฐาน อาหารของอาเซียน (ASEAN- CODEX Coordinating Center) และสำนักประสานงานด้านพลังงานของอาเซียน (ASEAN Energy Secretariat) ณ อาคารวิศวกรรมเคมี

11 ตุลาคม 2527
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แจ้งว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระบรม ราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามที่รองอธิการบดีวิทยาเขตธนบุรีขอพระราชทานพระกรุณาแล้ว

18 ตุลาคม 2527
อาจารย์ประภา ประจักษ์ศุภนิมิต อดีตผู้บริหารท่านแรกของสถาบันรับพระทานปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

พฤศจิกายน 2527
เริ่มโครงการวิจัยและพัฒนา เพื่อใช้ประโยชน์ และเพื่อกำจัดน้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง โดยได้รับเงินอุดหนุนจากศูนย์วิจัยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ 4 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี

25 ธันวาคม 2527
ลงนามในสัญญาปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประติมากร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ พิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์ กรมศิลปากร

ปี 2528

2-8 กุมภาพันธ์ 2528
คณะกรรมการเฉพาะกิจซึ่งมีอาจารย์ อุบล จันทกมล เป็นประธานได้จัดงานครบรอบ 25 ปี แห่งการสถาปนาวิทยาเขตธนบุรี เพื่อระดมเงินทุนสนับสนุนโครงการพระบรมราชานุสาวรีย์อย่างเป็นทางการเป็น ครั้งแรก

4 มีนาคม 2528
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา แจ้งว่าได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันเสร็จแล้ว และได้เสนอไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

16 เมษายน 2528
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่าง พระราชบัญญัติสถาบัน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วมีการแก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติและ บันทึกหลักการและเหตุผลบางประการ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภาพิจารณาต่อไป ร่างพระราชบัญญัติสถาบันฯ บรรจุอยู่ในวาระปกติลำดับที่ 141

13 พฤษภาคม 2528
คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้เสนอร่าง พระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 ต่อสภาผู้แทนราษฎร

ปีการศึกษา 2528
สภาสถาบันฯ อนุมัติให้คณะพลังงานและวัสดุเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ

20 มิถุนายน 2528
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 10/2528 (สมัยสามัญ) ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันตามที่เสนอ และตั้งกรรมการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่ง จำนวน 25 ท่าน เพื่อพิจารณา

11 กรกฎาคม 2528
สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสถาบันฯในวาระ 2 และ 3 โดยไม่มีผู้คัดค้าน และให้เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

12 กรกฎาคม 2528
ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 10/2528 (สมัยสามัญ) มีมติไม่เห็นด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันฯ 51 ต่อ 31 เสียง และงดออกเสียงจำนวนหนึ่ง

25 กรกฎาคม 2528
นายพิชัย พันธวงศ์ เริ่มก่อสร้างแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์

7 สิงหาคม 2528
คณะกรรมการพิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์ กรมศิลปากร ตรวจดูหุ่นดินรอบสุดท้าย

1 กันยายน 2528
สมาคมนักศึกษาเก่าจัดโบว์ลิ่งการกุศล เพื่อระดมทุนให้โครงการพระบรมราชานุสาวรีย์

12 กันยายน 2528
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาญัตติเรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ขึ้นพิจารณาใหม่ ก่อนพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2529 ที่ประชุมลงมติให้ยืนยันร่างเดิม จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว

14 กันยายน 2528
อาจารย์นนทฤทธิ์ ศโรภาส และคณะมาทำพิธีบวงสรวงเพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

16 กันยายน 2528
นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานวุฒิสภา แจ้งที่ประชุมวุฒิสภารับทราบเรื่องสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราช บัญญัติเดิม มาตรา 129 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมวิทยาลัยเข้าด้วยกัน จึงได้แยกออกเป็นสถาบันอิสระ 3 สถาบัน

18 ตุลาคม 2528
สถาบันทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม แด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

4 พฤศจิกายน 2528
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรี ย์ และทรงเททองหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เวลา 09.09 น.

1 ธันวาคม 2528
พิธีอัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งรมดำเรียบร้อยแล้วขึ้นแท่นประดิษฐาน

7 ธันวาคม 2528
อาจารย์นนทฤทธิ์ ศโรภาส และคณะพร้อมด้วยผู้บริหารสถาบัน ทำพิธีบวงสรวง ณ พระบรมราชานุสาวรีย์

9 ธันวาคม 2528
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดงานนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 5 และทรงเปิดสำนักงานโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ภายใต้โครงการหลวงและโครงการพระราชดำริ ในความรับผิดชอบของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ปี 2529

20 กุมภาพันธ์ 2529
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นกรมสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 103 ตอนที่ 26 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2529

20 มีนาคม 2529
สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่ออธิการบดี

28 มีนาคม 2529
คณะกรรมการนโยบายสถาบันฯ มีมติให้คณะกรรมการร่างข้อบังคับว่าด้วยการสรรหาผู้บริหาร ดำเนินการร่างข้อบังคับในการสรรหาผู้บริหารตำแหน่งต่างๆ

16 พฤษภาคม 2529
ศ.จำรัส ฉายะพงศ์ นายกสภาสถาบัน ประกาศใช้ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2529 เป็นฉบับแรก

3 มิถุนายน 2529
สภาสถาบันประกาศใช้ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วยการสรรหานายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบัน พ.ศ. 2529 และแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สถาบัน โดยมี ศ.ประเสริฐ ณ นคร กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานกรรมการ

2 กรกฎาคม 2529
สภาสถาบันประกาศใช้ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วย การสรรหาคณบดี พ.ศ. 2529 ต่อมามีการแก้ไขเล็กน้อย

15 กรกฎาคม 2529
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รศ. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อครบวาระท่านก็ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกวาระหนึ่งจนถึงปัจจุบัน

16 กรกฎาคม 2529
ประกาศใช้ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วย การแต่งตั้งผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ พ.ศ. 2529 และต่อมาในวันที่ 13 สิงหาคม 2529 ก็ได้ประกาศใช้ข้อบังคับอีกฉบับหนึ่ง ว่าด้วย การสรรหาหัวหน้าภาควิชา พ.ศ. 2529

18 สิงหาคม 2529
เริ่มจัดงานวันวิทยาศาสตร์ไทย ณ สถาบัน ฯ และต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม 2529 ได้ดำเนินการเชิญชวนวางพวงมาลา เนื่องในวาระวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ และจัดต่อ ๆ มาเป็นประเพณีทุกปี

18 ตุลาคม 2529
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ประจำปีการศึกษา 2528 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

27 ตุลาคม 2529
ประกาศใช้ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วยสภาคณาจารย์ พ.ศ. 2529 และได้อาจารย์ปรีชา แก้วทอง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นประธานสภาคณาจารย์ท่านแรกตามพระราชบัญญัติสถาบันฯ พ.ศ. 2528 เริ่มปฏิบัติภารกิจตั้งแต่ 30 มกราคม 2530 จนตลอดวาระ 2 ปี

9 พฤศจิกายน 2529
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์ ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ เป็นราชบัณฑิตในประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สถาบันนำผ้ากฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวงวัดโบสถ์ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

27 พฤศจิกายน 2529
ประกาศใช้ข้อบังคับสถาบันฯ ว่าด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าศูนย์และหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาหรือศูนย์ พ.ศ. 2529

อ.ปรีชา แก้วทอง

ปี 2530

1 กุมภาพันธ์ 2530
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์จำรัส ฉายะพงศ์ เป็นนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมด้วยกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ คือ นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ นายบุญเยี่ยม มีศุข ศ.ไพรัช ธัชยพงศ์ นายวันชัย ศิริรัตน์ และ ศาสตราจารย์สง่า สรรพศรี

9 กุมภาพันธ์ 2530
รศ. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ อธิการบดี เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายประถมาภรณ์ช้างเผือก ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา

พฤษภาคม 2530
สถาบันตั้งคณะทำงานส่งเสริมและประสานงานการวิจัยและพัฒนารวมทั้งเริ่มจัดสรร เงินรายได้เป็น “ทุนวิจัยพระจอมเกล้าธนบุรี” เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้มีนักวิจัยใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ตลอดจนกระตุ้นให้นักวิจัยทั้งใหม่และเก่าเสนอโครงการวิจัยที่เป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติ

1 พฤษภาคม 2530
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเจ้าภาพจัดสัมมนา สภาคณบดีวิศวกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 9 โดยมี นายสุบิน ปิ่นขยัน รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธาน ณ โรงแรมสวนบวกหาด อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

ปีการศึกษา 2530
– คณะพลังงานและวัสดุ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต และระดับปริญญาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ
– ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รับนักศึกษาเข้าศึกษาเป็นปีแรก
– สถาบันได้ลงนามสัญญาความร่วมมือระหว่างสถาบันฯ กับมหาวิทยาลัยคาสเซล

15 มิถุนายน 2530
รัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการความร่วมมือของ ASEAN – Australia Microelectronicsได้มอบคอมพิวเตอร์ Sun Workstation 3/110 สำหรับออกแบบวงจรแผงไฟฟ้า (Integrated Circuit) ให้สถาบันติดตั้งใช้งานเป็นเครื่องแรกในประเทศไทย

19 มิถุนายน 2530
ศ. จำรัส ฉายะพงศ์ เปิดศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีรถยนต์ ณ อาคารวิศวกรรมอุตสาหกรรม 5 ด้วยความร่วมมือของบริษัทเดมเลอร์เบ็นซ์ จำกัด ประเทศเยอรมนี และบริษัทธนบุรีพานิช จำกัด มี Mr. Wolat เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์

18 ตุลาคม 2530
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

30 กันยายน 2530
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STDB) มอบทุนสนับสนุนโครงการวิจัย รศ. ดร. พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ เป็นหัวหน้าโครงการและ STDB ยังได้มอบทุนวิจัยโครงการต่าง ๆ อีกหลายโครงการ

1 พฤศจิกายน 2530
นำผ้ากฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

17 ธันวาคม 2530
บริษัทซูมิโตโม อิเล็กตริก อินดัสตรีส์ จำกัด มอบอุปกรณ์ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยเส้นใยแสงให้สถาบัน เพื่อเริ่มสื่อสารข้อมูลระหว่างส่วนราชการต่างๆ ของสถาบัน

ปี 2531 - 2535

ปี 2531

8 มกราคม 2531
นพ. ณรงค์ นิ่มสกุล ผ่าตัดไฝ โดยใช้เครื่องคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ ซึ่งเป็นผลงานประดิษฐ์ของดร. พิเชษฐ์ ลิ้มสุวรรณ, อาจารย์ดิลก ศรีประไพ และอาจารย์พายับ เรืองแก้ว จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ โรงพยาบาล บางกอกเนอสซิ่งโฮม

19 กุมภาพันธ์ 2531
รศ.ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ อธิการบดี ลงนามในสัญญาแปลตำราให้กับศูนย์ฝึกอบรมการประปานครหลวง

11 มีนาคม 2531
กระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครรับจดทะเบียนจัด ตั้ง “มูลนิธิประภา – สมพงษ์” เป็นนิติบุคคล วัตถุประสงค์เพื่อให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน สนับสนุนการวิจัย หรือให้รางวัลเกียรติยศแก่ผู้สร้างชื่อเสียงและคุณประโยชน์แก่สถาบันและ ประเทศชาติ

5 พฤษภาคม 2531
พระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้ง “สำนักห้องสมุดและบรรณสารสนเทศ” ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 73 หน้า 136-137 เพื่อให้เป็นองค์กรกลางในการจัดและบริหารงานห้องสมุดและสารนิเทศ และสนับสนุนภารกิจของสถาบันในการจัดการศึกษา สำนักฯ แบ่งส่วนราชการเป็น 4 กอง ได้แก่ สำนักงานผู้อำนวยการ ฝ่ายบรรณสารสนเทศ ฝ่ายบริการห้องสมุด และฝ่ายวารสาร

10-11 พฤษภาคม 2531
ประชุมสัมมนาผู้บริหารสถาบันร่วมกับนักศึกษาเก่าเป็นครั้งแรก เรื่อง “ทิศทางของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีในทศวรรษหน้า (2532-2541)” ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี

10 กรกฎาคม 2531
พระองค์เจ้าภานุพันธ์ ยุคล องคมนตรี ผู้แทนพระองค์ เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ จำรัส ฉายะพงศ์ ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส

30 มิถุนายน 2531
ศาสตราจารย์ จำรัส ฉายะพงศ์ ถึงแก่อนิจกรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายบุญเยี่ยม มีศุข เป็นนายกสภาสถาบัน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 – 1 กันยายน 2541

6 สิงหาคม 2531
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4/2531 มีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งภาษาอังกฤษ ได้แก่

  • อธิการบดี President
  • รองอธิการบดี Vice – President
  • นายกสภามหาวิทยาลัย Chairman of University Council
  • ที่ประชุมอธิการบดีฯ The Council of University President of Thailand

12 สิงหาคม 2531
สมาชิกชมรมไฟฟ้าและสโมสรนักศึกษา ได้ออกบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ร่วมกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

28 กันยายน 2531
รศ.ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ อธิการบดี ลงนามในสัญญาทุนวิจัย Industrial Fish Sauce Fermantation by Recycling System ของ ผศ. สายพิณ ไชยนันทน์ จาก กพวท. (STDB)

17 ตุลาคม 2531
ทบวงมหาวิทยาลัยประกาศแบ่งส่วนราชการในสำนักงานอธิการบดีของสถาบันเป็นกองกลาง กองกิจการนักศึกษา กองบริการการศึกษา และกองแผนงาน ต่อมาในวันที่ 3 มีนาคม 2532 ทบวงฯ ประกาศให้มีศูนย์การศึกษาต่อเนื่องเพิ่มในสำนักงานอธิการบดี

18 ตุลาคม 2531
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2530 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

5 พฤศจิกายน 2531
สถาบันนำผ้ากฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

ปี 2532

17 มกราคม 2532
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ เรียกร้องให้ลดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์จาก 5 ปี เป็น 4 ปี รอฟังผลการประชุมจากคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตร์

27 มกราคม 2532
รศ.ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ อธิการบดี ให้สัมภาษณ์คุณศรีพิไล ทองพรหม เนื่องในโอกาสครบรอบ 29 ปีของสถาบัน

1 กุมภาพันธ์ 2532
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายบุญเยี่ยม มีศุข เป็นนายกสภาสถาบัน พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ สง่า สรรพศรี นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ นายวันชัย ศิริรัตน์ ศาสตราจารย์ ไพรัช ธัชยพงศ์ และนายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ เป็นกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ


ดร.บวร ปภัสราทร

ปีการศึกษา 2532
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาอุตสาหการ เปิดสอนระดับปริญญาโท

7 กันยายน 2532
รศ.ดร. พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น (รางวัลที่ 3) จากผลงานวิจัยเรื่อง “คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ และการประยุกต์ใช้งาน”

9 กุมภาพันธ์ 2532
พระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้ง “ สำนักคอมพิวเตอร์” เพื่อให้เป็นส่วนราชการที่ทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา วิจัยและพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ สำนักคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 กอง คือ สำนักงานผู้อำนวยการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายพัฒนาระบบ ฝ่ายวิจัยและฝึกอบรม โดยมี ดร. บวร ปภัสราทร เป็นผู้อำนวยการสำนักท่านแรก

18 ตุลาคม 2532
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2531 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

4 พฤศจิกายน 2532
สถาบันนำผ้ากฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

24-26 พฤศจิกายน 2532
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ บรมราชกุมารี ทรงเสด็จเยี่ยมโรงงานหลวง อาหารสำเร็จรูป พร้อมทั้งเยี่ยมชมกิจการของโครงการหลวง อ.แม่จัน จ.เชียงราย อาจารย์บุญเยี่ยม มีศุข นายกสภาสถาบัน, รศ.ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ อธิการบดี และคณะ เฝ้ารับเสด็จ

6 ธันวาคม 2532
กระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิเพื่อการพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” เป็นนิติบุคคล เพื่อพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันให้เกิดความก้าวหน้าและ มีประสิทธิภาพสูงทั้งด้านวิชาการและด้านอื่นๆ ในการให้บริการวิชาการแก่สังคม สถาบันได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ปี 2533

31 มีนาคม – 1 เมษายน 2533
จัดสัมมนาเรื่อง “ทิศทางแผนพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระยะที่ 7” ณ โรงแรมกาลพฤกษ์ จ.สุพรรณบุรี

14 พฤษภาคม 2533
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมเคมี และสายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ จัดสัมมนานานาชาติเรื่อง “ASEAN – EC Workshop on Biochemical Engineering” ระหว่างวันที่ 14 – 18 พฤษภาคม 2533 โรงแรม เอเซีย

17-18 พฤษภาคม 2533
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล สจธ. และเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล จัดสัมมนาทางวิชาการ ทางวิศวกรรมเครื่องกล ครั้งที่ 4 เรี่อง “วิศวกรรมเครี่องกล กับประเทศอุตสาหกรรมใหม่”

27 พฤษภาคม 2533
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน นำนักเรียนนายร้อย จปร. เยี่ยมชมโรงงานหลวง อาหารสำเร็จรูป อ.ระหานทราย จ.บุรีรัมย์ โดยมี รศ.ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ อธิการบดี และคณะ เฝ้ารับเสด็จ

ปีการศึกษา 2533

  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  • ภาควิชาคณิตศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • คณะพลังงานและวัสดุ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตและปริญญาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวด ล้อม และหลักสูตรปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีพลังงาน

15 สิงหาคม 2533

  • คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับการอนุมัติให้แยกออกจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 146 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2533 มี ดร.ปรุงจันทร์ วงศ์วิเศษ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีท่านแรก
  • พระราชกฤษฎีกาให้ จัดตั้ง “สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ” เพื่อเป็นองค์กรกลางในการพัฒนาโรงงานต้นแบบ และจัดฝึกอบรมในด้านการออกแบบการสร้างอุปกรณ์ การติดตั้ง การเดินเครื่องของโรงงาน การซ่อมแซมบำรุงรักษาโรงงาน ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต
    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประกอบด้วย
ดร.ปรุงจันทร์ วงศ์วิเศษ

– สำนักงานอธิการบดี
– คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
– คณะพลังงานและวัสดุ
– คณะวิทยาศาสตร์
– คณะวิศวกรรมศาสตร์
– สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
– สำนักคอมพิวเตอร์
– สำนักห้องสมุดและบรรณสารสนเทศ

27 กันยายน 2533
คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการอนุมัติแบ่งส่วนราชการตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 190 ดังนี้

1) สำนักงานคณบดี
2) ภาควิชาคณิตศาสตร์
3) ภาควิชาเคมี
4) ภาควิชาจุลชีววิทยา
5) ภาควิชาฟิสิกส์
6) ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานและอุตสาหกรรม

11 ตุลาคม 2533
จัดสัมมนาเรื่อง “การกำหนดกรอบ แนวคิด เพื่อการจัดทำแผนแม่บท และแผนปฏิบัติการของสถาบันพัฒนาฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ”

15 ตุลาคม 2533
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2532 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

21 พฤศจิกายน 2533
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ร่วมกับภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จัดประชุมทางวิชาการเรื่อง “นวัตกรรมการศึกษาใน ทศวรรษใหม่” เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีของสถาบัน ระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2533

27 พฤศจิกายน 2533
ศูนย์การการศึกษาต่อเนื่องร่วมกับคณะพลังงานและวัสดุ และกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน ประชุมนานาชาติเรื่อง “International Conference on Energy and Environment”

ปี 2534

18 มิถุนายน 2534
สภาคณาจารย์จัดอภิปรายเรื่อง “สถาบันออกนอกระบบราชการเป็นอย่างไร” ผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย รศ.ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์, ผศ. สิริศักดิ์ ปโยธรสิร,ิ คุณปราโมทย์ โชติมงคล, ผศ.ลาวัลย์ ไกรเดช, รศ.ดร.องค์การ อินทรัมพรรย์ โดยมีอาจารย์พนม ภัยหน่าย เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์จำรัส ฉายะพงศ์

10 กรกฏาคม 2534
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร, ศ.ดร.ไพรัตน์ ธัชยะพงษ์, ดร.บวร ปภัสราทร และตัวแทนจากภาคเอกชนร่วมแถลงข่าวเปิดตัว หน่วยบริการสารสนเทศธนบุรี (Thonburi Infortech) โดยการสนับสนุนของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กส์ทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

19 กันยายน 2534
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ชี้แจงเรื่อง “มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล” ให้กับบุคลากรของสถาบัน ณ ห้อง ประชุม ศาสตราจารย์จำรัส ฉายะพงษ์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลชมเชย รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ ระบบดายเลเซอร์ ของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานอุตสาหกรรม (รศ.ดร.วุฑฒิ พันธุมนาวิน และคณะ) และเรือกำจัดผักตบชวา ของภาควิชาวิศวกรรมเครี่องกล (ผศ.จำรูญ ตันติพิศาลกุล และคณะ)

24 ตุลาคม พ.ศ.2534
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 6 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันฯ ได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม SALC หรือ ศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง ของคณะศิลปศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างบรรยากาศในการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ

29 ตุลาคม พ.ศ.2534
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2533 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

ปี 2535

9 มกราคม 2535
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ชี้แจงเรื่อง มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล แก่ข้าราชการของสถาบัน

ปีการศึกษา 2535

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาระบบควบคุมและเครื่องมือวัด วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม                      และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • คณะพลังงานและวัสดุ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ

3 สิงหาคม 2535
รศ.ดร.พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ และคณะ รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประจำปี 2535 ของสภาวิจัยแห่งชาติ (รางวัลที่ 3) เรื่อง “การสร้างเครื่องสปัตเตอริงแบบแมกนิตรอนรูปทรงกระบอก”

27 ตุลาคม 2535
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2534 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

3 ธันวาคม 2535
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 15

24 ธันวาคม 2535
สภามหาวิทยาลัยฯ อนุมัติให้จัดตั้ง สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.) และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2540

ปี 2536 - 2540

ปี 2536

26 มกราคม 2536
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ แห่งประเทศไทย เรื่อง “โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และการจัดการปิโตรเคมี”

28 มกราคม 2536
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี, ดร.เกษรา วามะศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา และรศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ บรรยายพิเศษเรื่อง “ระบบมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลดีกว่าระบบมหาวิทยาลัยปัจจุบันอย่างไร”

27 กุมภาพันธ์ 2536
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดย รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี, บริษัท วันไทย คอมพิวเตอร์ จำกัด โดยคุณปรีชา เลาหพงศ์ชนะ กรรมการผู้อำนวยการ และบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด โดยคุณนิวัฒน์ บุญทรง กรรมการผู้อำนวยการ เซ็นสัญญาความร่วมมือในการผลิต จัดจำหน่ายดิคชันนาเรเตอร์

10 มีนาคม 2536
ศ.ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และคณะ ให้การต้อนรับ พ.ต.บัญชา ไชยประติยุทธ ผู้อำนวยการกองกลาง สำนักราชเลขาธิการ และคณะมาทดสอบการใช้งาน ดิคชันนาเรเตอร์ ก่อนนำเครื่องขึ้นทูลเกล้าถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

18 พฤษภาคม 2536
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดบรรยายพิเศษเรื่อง “มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล” โดยเชิญคุณปราโมทย์ โชติมงคล ผู้ช่วยปลัดทบวงมหาวิทยาลัย บรรยายเรื่อง “หลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และบทเฉพาะการ” และ รศ. ดร.องค์การ อินทรัมพรรย์ บรรยายเรี่อง “การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล” โดยมี รศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ เป็นผู้ดำเนิน การบรรยาย

19 พฤษภาคม 2536
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดสัมมนาสำหรับผู้บริหารเรื่อง “การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ณ โรงแรมสยามซิตี้

28 -29 พฤษภาคม 2536
สำนักห้องสมุดและบรรณสารสนเทศ ร่วมกับชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา จัดประชุมทางวิชาการ เรื่อง “ระบบห้องสมุดอัตโนมัติและสำนักงานอัตโนมัติ” ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์

ปีการศึกษา 2536

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งตนเอง
  • คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาเคมีอุตสาหกรรม และสาขาวิชาฟิสิกส์
  • คณะพลังงานและวัสดุ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอุณหภาพ

17 มิถุนายน 2536
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี ชี้แจงผลการสัมมนากลุ่มย่อย เรื่อง “การนำสถาบันเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล” ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายาพงศ์

16 กรกฎาคม 2536
จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง “ISO 9000 การบริหารงานของระบบมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลในอนาคตให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล”

1 กันยายน 2536
กรมเจ้าท่า ลงนามว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ต่อสร้างเรือกำจัดผักตบชวา

4 กันยายน 2536
จัดประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ (ปอมท) ในโอกาสนี้ ศ.ดร.วิจิตร      ศรีสอ้าน บรรยายพิเศษเรื่อง “ทิศทางมหาวิทยาลัยในอนาคต”

11 ตุลาคม 2536
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง ร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมเคมี สจธ. จัดการประชุมวิชาการทางวิศวกรรมเคมีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3

18 ตุลาคม 2536
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2535 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

19 ตุลาคม 2536
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี รับมอบรถไฟเครื่องจักรไอน้ำจำลองจาก ศ.คิโยยาซึ โอกาวา อธิการบดี Nippon Institute of Technology ประเทศญีปุ่น

ปี 2537

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งขึ้นในปี 2537 โดยมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

9 กุมภาพันธ์ 2537
ศ.ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์, อาจารย์บุญเจริญ      ศิริเนาวกุล, อาจารย์นวลทิพย์ ตันติเศวตรัตน์ และคณะ เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช เพื่อถวาย Dictionarater ณ คณะเหลืองรังษี วัดบวรนิเวศวรมหาวิหาร

25 เมษายน 2537
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับคณะกรรมการวิจัยพลังงานนอกแบบแห่งอาเชี่ยน และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จัดประชุมนานาชาติ The 5th ASEAN Conference on Energy Technology ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2537

13 พฤษภาคม 2537
สภาคณาจารย์ จัดสัมมนาเรื่อง พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของสจธ.

ปีการศึกษา 2537

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบันฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
  • คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทและประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรชีวมวลและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ตามโครงการความร่วมมือผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับสภาอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโครงการพิเศษจัด การเรียนการสอนภาคค่ำเป็นปีแรก

15 มิถุนายน 2537
ชมรมข้าราชการสาย ค. สาย ข. และลูกจ้าง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดเสวนาเรื่อง “สถานภาพของท่านจะ เป็นอย่างไร ใน ม. กำกับ”

30 มิถุนายน 2537
สภาคณาจารย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดเสวนาเรื่อง การเปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล

17 สิงหาคม 2537
ศ.ดร.พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ และคณะ เข้ารับรางวัลชมเชย ผลงานคิดค้น หรือสิ่งประดิษฐซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประจำปี 2537 เรื่อง “การสร้างและพัฒนาเตาไฟฟ้าอุณหภูมิสูง สำหรับใช้ในการเผาพลอย”

26 กันยายน 2537
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี ร่วมสนทนาในรายการ ตรงประเด็น ทางช่อง 9 ในหัวข้อเรื่อง บทบาทของทบวง มหาวิทยาลัย กับการพัฒนามหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล ผู้ร่วมสนทนาประกอบด้วย ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ผศ. ผาสุข กุลละวณิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีคุณถวัลย์ศักดิ์ สุขะวัลย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

30 กันยายน 2537
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี เปิดงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 190 ปี วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

14 ตุลาคม 2537
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดพิมพ์หนังสือ “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื่องด้วยเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 190 พรรษา

18 ตุลาคม 2537
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2536 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

5 พฤศจิกายน 2537
นำผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวาย ณ วัดสมุหประดิษฐาราม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

12 ธันวาคม 2537
จัดหาที่ดินใหม่ เพื่อสร้างวิทยาเขตบางขุนเทียน

25 ธันวาคม 2537
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี และคณะ เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เพื่อทูลเกล้าถวายปริญญาดุษฏี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศาสตร์

ปี 2538

มิถุนายน 2538
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดตั้งศูนย์วิจัยกลศาสตร์ของไหลและเครื่องจักรกลเทอร์โบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้การใช้วัสดุ ครุภัณฑ์ และสถานที่ของภาควิชามีประสิทธิภาพสูงสุด

5 กรกฎาคม 2538
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี เป็นประธานเปิดศูนย์พัฒนาเด็ก สจธ.ศูนย์พัฒนาเด็ก สจธ. จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการของบุคคลากรของสถาบัน
ดำเนินการโดยสภาคณาจารย์ รับดูแลเด็กตั้งแต่อายุขวบครึ่งถึงสามขวบ ชั้น 1 อาคารสัมมนา

9 ตุลาคม 2538
พระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้ง “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์” ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนที่ 43ก หน้า 8-10

ปีการศึกษา 2538

  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ และเปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรต่อเนื่อง)
  • คณะรัฐมนตรีลงมติรับหลักการแห่ง พรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจแก้ไข ร่างพรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

ปี 2539

4 กุมภาพันธ์ 2539
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันครบรอบ 36 ปี สถาบันได้จัดให้มีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 37 รูป พิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระ อริยพรหม นอกจากนี้ยังจัดให้มีพิธีมอบเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการ มอบโล่ เกียรติบัตรแก่ผู้มีอุปการะคุณต่อสถาบัน รวมทั้งจัดพิธีน้อมรำลึกพระคุณผู้ก่อตั้งสถาบัน และในตอนเย็นได้จัดให้มีงานราตรีบางมดด้วย

 6 กุมภาพันธ์ 2539
รศ.ดร. พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ และคณะ เข้ารับรางวัลสิ่งประดิษฐคิดค้นประจำาปี 2539 ประเภททั่วไป รางวัลที่ 2 ผลงาน เครื่องแกะสลักด้วยเลเซอร์ จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ รศ.ดร.จงจิตร หิรัญลาภ ได้รับรางวัลชมเชย ผลงาน เครื่องอบแห้ง จากมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

10 กุมภาพันธ์ 2539
สถาบันได้จัดอบรมสัมมนาเรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของผู้บริหารในสำนักงานอธิการบดี” เมื่อวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2539 ณ โรงแรมหมู่บ้านแม่น้ำแคว จ.กาญจนบุรี เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และหาแนวทางในการพิจารณา แก้ไขปัญหารวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้อำนวยการกองและหัวหน้า หน่วยงานต่างๆ

21 มีนาคม 2539
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีร่วมกับกองบรรณาธิการรายการไอที-11 และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จัดสัมมนาเรื่อง “บทบาสื่อมวลชนและการรายงานข่าวเทคโนโลยี” โดยมี นายจุมพล เหราปัตย์ ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา ณ ศูนย์ฝึกอบรมองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

26 เมษายน 2539
สถาบันจัดปฐมนิเทศข้าราชการใหม่ประจำปี 2539 เมื่อวันที่ 26-28 เมษายน 2539 ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์ และโรงแรมสวนบวกหาด อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี โดยจัดให้ข้าราชการทั้งสาย ก,ข และ ค ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เพื่อเป็นการเสริมสร้างให้ข้าราชการได้รับรู้ถึงนโยบาย เป้าหมาย การบริหารงานของสถาบัน รวมทั้งได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประสานงานและการพัฒนาสถาบัน

20 มิถุนายน 2539
สถาบันฯ ได้ร่วมลงนามเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการกับสถาบัน MIT (Massachusette Institute of Technology) โดยมีข้อผูกพันร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานของสถาบันฯ ต่อไป ในอนาคต ทั้งยังสามารถเป็นโครงการนำร่องในการที่มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาในประเทศจะได้นำเป็นแนวปฎิบัติในการแสวงหาความร่วมมือกับ ต่างประเทศ

15 กรกฎาคม 2539
รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดีร่วมลงนามในสัญญากับ มร. ไบรอัน บอลด์วิน กรรมการผู้จัดการบริษัทคาสตรอล (ไทยแลนด์) จำกัด ในความตกลงร่วมกันจัดทำ KMITT-Castrol Seminar Room เพื่อปรับปรุงห้องสัมมนาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมให้เป็นห้องสัมมนาระดับ มาตรฐานที่ทันสมัยและสมบูรณ์ที่สุด เพื่อใช้ฝึกอบรมนักศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ

18 สิงหาคม 2539
สถาบันฯ จัดพิธีวางพานพุ่มบูชาพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์

2 กันยายน 2539
ศูนย์หนังสือพระจอมเกล้าธนบุรี (KMITT Book Center) ได้เริ่มเปิดดำเนินการ ณ ชั้นล่างอาคารพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ 190 ปี โดยให้บริการจำหน่ายหนังสือและรับสั่งซื้อหนังสือ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ข้าราชการและบุคคลทั่วไป

27 กันยายน 2539
สถาบันได้จัดงานเสวนาพิเศษ ให้กับรองศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ ที่ปรึกษาสถาบันและอดีตอธิการบดีคนแรกของสถาบัน เพื่อเป็นการแสดงมุทิตาจิต เนื่องในวโรกาสเกษียณอายุราชการ ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์ และในตอนค่ำได้จัดให้มีงานเลี้ยงเกษียณอายุให้กับท่านที่ปรึกษาและข้าราชการ ท่านอื่นๆ ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารเรียนรวม 5

1 ตุลาคม 2539
รองศาสตราจารย์ ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี เป็นประธานในงานบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต จัดให้มีพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ และทำพิธีสงฆ์ ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์

18 ตุลาคม 2539
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2538 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

25 ตุลาคม 2539
ศาสตราจารย์ ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ คณะพลังงานและวัสดุ ได้รับเลือกจากสภาวิจัยแห่งชาติ ให้เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) คัดเลือกให้เป็นเมธีวิจัยอาวุโส ประจำปี 2539

31 ตุลาคม 2539
กองบริการการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เรียนเชิญ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นผู้บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “ก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัยเอ็นทรานซ์ระบบใหม่” เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมกับการเอ็นทรานซ์ระบบใหม่ที่เริ่มใช้ในปีการ ศึกษา 2542 โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก

14 พฤศจิกายน 2539
ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ โปรดเกล้าฯ ให้ ฯพณฯ พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ เป็นผู้แทนพระองค์ในการเปิดสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเปิดนิทรรศการเทคโนโลยีเพื่อศตวรรษหน้า ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

  • รศ.ดร.หริส สูตะบุตร อธิการบดี ร่วมลงนามกับ Mrs. Doris Wibunsin ผู้อำนวยการ NTU/Thailand ในข้อตกลงให้สถาบันฯ เป็นศูนย์เครือข่ายรับสัญญาณของ NTU (National Technological University) โดย NTU เป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดสัญญาณการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 50 แห่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ของอาจารย์นักศึกษาของสถาบันที่จะได้รับวิทยาการใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
  • นายกฤษณ์ ทองขุนดา นักศึกษาโครงการพิเศษฯ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้รับรางวัลที่ 2 จากการส่งโครงงานเข้าประกวดงานสิ่งประดิษฐ์ด้านเครื่องกลไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 1 (กลุ่มอายุ 18-25 ปี) ประจำปี 2539 ซึ่งจัดโดยบริษัทฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผลงานที่ได้รับรางวัล คือ “กุญแจคอมพิวเตอร์ความปลอดภัยสูง”
  • คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อร่าง พรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และให้นำเสนอรัฐสภาต่อไป

ปี 2540

มจธ. โดยความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาจูเซส (MIT) จัดตั้งโครงการทักษะวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering Practice School, ChEPS)

21 พฤษภาคม 2540
จัดตั้งสำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.) ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 16ก หน้า 3-5

22 พฤษภาคม 2540
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ

  • คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมซอฟแวร์
  • คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวเคมี

19 ตุลาคม 2540
พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประจำาปีการศึกษา 2539

ปี 2541 - 2545

ปี 2541

สภาผู้แทนราษฎรรับทราบมติการให้ความเห็นชอบร่าง พรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะรัฐมนตรีรับทราบมติของรัฐสภาที่เห็นชอบร่างพรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรี และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำร่างพรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

6 มีนาคม 2541
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ปรับระบบเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลอย่างเป็นทางการ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 11ก

เมษายน 2541
มจธ. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ รุ่นที่ 1 ในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Juior Science Talent Project : JSTP)

18 สิงหาคม 2541
สมเด็จพระญานสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดแพรคลุมป้าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)

1 ธันวาคม 2541
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร อธิการบดี ได้เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาเชื่อมต่อระบบ internet ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับบริษัท internet และระบบ UniNet ของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งจะส่งผลให้ช่องสัญญาณเชื่อมต่อเครือข่ายของ มจธ. เปลี่ยนความเร็วจากเดิม 128 Kbps ไปเป็นความเร็ว 512 Kbps

  • จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (The Join Graduate School of Energy and Environment : JGSEE) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันศึกษา 5 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มช.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สจพ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งเป็นแกนนำและที่ตั้งของสถาบัน
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามาตรวิทยาทางอุตสาหกรรม และสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดีย
  • คณะพลังงานและวัสดุ เปิดสอนหลักสูตรปรัชญามหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการ จัดการพลังงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและสาขาวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ

ปี 2542

16 กันยายน 2542 และ 21 ตุลาคม 2542
สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบคำประกาศวิสัยทัศน์และภารกิจของมหาวิทยาลัยดังนี้

  • วิสัยทัศน์ พระจอมเกล้าธนบุรี

มุ่งมั่น เป็นมหาวิทยาลัยที่ใฝ่เรียนรู้
มุ่งสู่ ความเป็นเลิศในเทคโนโลยีและการวิจัย
มุ่งธำรง ปณิธานในการสร้างบัณฑิตที่เก่งและดี
มุ่งสร้าง ชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้เป็นที่ภูมิใจของประชาคม
มุ่งก้าว ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก

  • ภารกิจ

1. พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเรียนรู้ พัฒนานักศึกษาให้มีความเป็นเลิศ ทางวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
2. พัฒนาระบบการศึกษา ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ระบบการเรียนรู้ และ ระบบบริหารงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
3. วิจัยและนำผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างองค์ความรู้และการพัฒนา ประชาคมไทย

18 ตุลาคม 2542
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ประจำปีการศึกษา 2541 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ รับนักศึกษาโครงการผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระยะที่ 2 (ปี 2542-2546)
  • คณะวิทยาศาสตร์ เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ (ภาคพิเศษ)
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม

ปี 2543

ปีการศึกษา 2543
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยทัสมาเนีย ประเทศออสเตรเลีย เปิดโครงการวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตนานาชาติ – สองสถาบัน ในสาขาวิศวกรรมโยธา โดยเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2543 คาดว่าจะมีนักศึกษารุ่นแรกประมาณ 45 คน สำหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตนานาชาติ นักศึกษาจะศึกษาที่ มจธ. โดยใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร ในขณะที่หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน นักศึกษาบางส่วนจะศึกษาที่ มจธ. เป็นเวลา 2 ปี และสามารถสมัครเรียนต่อในชั้นปีที่ 3 และ 4 ณ มหาวิทยาลัยชั้นนำของออสเตรเลียที่มีความร่วมมือกับ มจธ. เช่น มหาวิทยาลัยทัสมาเนีย โดยนักศึกษาสามารถรับปริญญาจากมหาวิทยาลัยทั้งสอง

21 กรกฎาคม พ.ศ.2543
ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ

  • จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ ซึ่งได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 117 ตอนที่ 899
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดรับตรงนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมวัสดุ
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)

ปี 2544

ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ จัดตั้งโครงการทักษะวิศวกรรมอาหาร (Food Engineering Practice School Program : FEPS)

เมษายน 2544
ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ส่งทีมนักวิจัยของศูนย์ฯ เพื่อทำงานร่วมกับวิศวกรของบริษัท รีทไรท์ ประเทศไทย (ReadRite Thailand RRT) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านอุตสาหกรรมไมโคร – อิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตหัวอ่านฮาร์ดดิสก์แบบแม่เหล็ก และเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก

17 พฤษภาคม 2544
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) โดยมุ่งที่จะเป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 1 ในระดับอาเซียนและมีเป้าหมายหลักในการพัฒนา 6 ด้าน (แผนกลยุทธ์ 6 Flagships) คือ

1. มหาวิทยาลัยวิจัย (Research University)
2. มหาวิทยาลัยเสมือน (Virtual University)
3. การสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์ (Science Strengthening)
4. การสร้างความเข้มแข็งทางด้านการบริหารจัดการ (Management Strengthening)
5. องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
6. การบริหารรายได้และต้นทุน (Cost Conscious and Revenue Driven)

ในระหว่างการระดมสมองต่อมา ผู้เข้าประชุมเห็นพ้องตรงกันว่า ถ้ามหาวิทยาลัยบรรลุวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยต้องให้ความสำคัญแก่ยุทธศาสตร์ด้านคนโดยเฉพาะนักศึกษา มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องแสวงหานักศึกษาที่มีความสามารถโดดเด่นและมีลักษณะ เฉพาะ จึงกำหนดเป้าหมายเพิ่มเติมเรียกว่า การพัฒนานักศึกษาที่มีความเป็นผู้นำและความสามารถเฉพาะ (The Best and The Brightest) เป็นเป้าหมายหลักที่เจ็ด และเรียกแผนกลยุทธ์ใหม่ว่า “แผนกลยุทธ์ 6+1 Flagships”

16 มิถุนายน 2544
ฯพณฯ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางมาเยี่ยมชมผลการดำเนินงาน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมี คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา นายกสภามหาวิทยาลัย นำคณะผู้บริหารให้การต้อนรับและนำชมผลงานวิจัย ซึ่งอธิการบดีสรุปการดำเนินงานของ มจธ. ร่วมกับมูลนิธิศึกษาพัฒน์ทำโครงการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ที่โรงเรียนกำแพงแสน การจัดตั้งโรงเรียนดรุณสิกขาลัย โครงการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงงานกลุ่มปิโตรเคมี โครงการปฏิรูปการเรียนรู้ร่วมกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดเชียงราย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวชมเชยการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย รวมทั้งให้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อ มจธ. และวงการศึกษาไทย

27 ตุลาคม 2544          มจธ. นำผ้ากฐินไปทอดถวาย ณ วัดคลองสวน จังหวัดสมุทรปราการ

6 ธันวาคม 2544
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแปร์ปินญอง (University of Perpignan หรือ UP) และมหาวิทยาลัย นีซ-โซเฟีย อองติโปลี (University of Nice-Sophia Antipolis หรือ UNSA) ประเทศฝรั่งเศส ผลิตดุษฎีบัณฑิตสอง ปริญญา ทางด้านเทคโนโลยีพลังงานเป็นแห่งแรกในเอเชีย เปิดห้องสอบพร้อมแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ ให้ประชาชนที่สนใจเข้าชมและซักถามได้

ปี 2545

17 มกราคม 2545
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินยังโครงการหลวง ดอยอ่างขาง เพื่อทอดพระเนตรการคัด บรรจุ และระบบ Pre-Cooling ของอาคารผลิตผล สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

25 มกราคม 2545
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานพิธีเปิด    งานเทคโนโลยีแฟร์ และโรงเรียนดรุณสิขาลัย ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

4 กุมภาพันธ์ 2545
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ผู้แทนพระองค์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จยังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน เพื่อทำพิธีเปิดป้ายชื่อมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ

12 กรกฎาคม พ.ศ.2545
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ครั้งที่ 44 มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (Graduate School of Management and Innovation : GMI) และแต่งตั้ง ผศ.ดร.พาสิทธิ์                หล่อธีรพงศ์ เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ

15 กรกฎาคม พ.ศ.2545

  • ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
  • ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

27 สิงหาคม 2545
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2544 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

24 ตุลาคม 2545
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับมติให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ โครงการ Greater Mekong Subregion Tertiary Education Consortium (GMSTEC) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการวิจัยและการพัฒนาบุคลากรร่วมกันในสาขาที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภูมิภาค (Regional Development)

พฤศจิกายน 2545
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดหน่วยงานใหม่ ชื่อว่า “บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม” หรือ Graduate School of Management and Innovation

25 ธันวาคม 2545
จัดตั้งสำนักงานเทคโนโลยี SMEs มจธ. (University Technology Office for SMEs หรือ UTO)

28 ธันวาคม 2545
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเปิดอาคารผลิตผล โครงการหลวงหนองหอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ พร้อมทั้งทอดพระเนตรผลิตผลของเกษตรกรชาวเขา การตรวจสอบสารพิษตกค้าง และการทำงานของเครื่องเย็นเร็วโดยใช้น้ำและลมเย็น

ปี 2546

14 มีนาคม 2546
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 52) มีมติ ดังนี้

  • ยินดีกับอาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัล :

1) รางวัลชมเชยจากสภาวิจัยแห่งชาติ ประเภทรางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2545 สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย เรื่อง “ระบบบำบัดน้ำเสียไร้อากาศประสิทธิภาพสูง สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร” โดยมี ผศ.ดร. ภาวิณี ชัยประเสริฐ เป็นหัวหน้าวิจัย

2) รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2546 ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์จากผลงาน เรื่อง ” การสร้างบทเรียนสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมที่นำเสนอบนเว็บวิชาการ ตรวจสอบโดยใช้ภาพถ่ายรังสี (Radiographic Testing) ตามโครงสร้างแบบ IMMCAI” ของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์

  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารโครงการ (M. Sc. Project Management) หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2545 ของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม
  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์เพื่อการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2545 ของภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
  • อนุมัติหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมความเที่ยงตรง หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2545 ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์

9 พฤษภาคม 2546
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 54) มีมติดังนี้ :

  • อนุมัติหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ เป็น สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ ของภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) ของคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ร่วมกับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ของสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม
  • 3) กลุ่มความเชี่ยวชาญด้านวัสดุ
    – ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการประยุกต์กลศาสตร์ของโลหะและพอลิเมอร์

21 พฤษภาคม 2546
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ดังนี้

  • รางวัลโครงการดีเด่นด้านพลังงานใหม่และหมุนเวียนของประเทศไทย ปี 2546 ประเภท Off-Grid คือ โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศแบบตรึงฟิล์ม (Thai Biogas Plants-High Rate Anaerobic Fixed Film Technology for Agro-Industry Waste Water) โดย ผศ.ดร. ภาวิณี ชัยประเสริฐ และคณะวิจัยของหน่วยปฏิบัติการด้านบำบัดและใช้ประโยชน์จากของเสีย มจธ.
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ โครงการระบบผลิตกระแสไฟฟ้าแบบผสมผสานด้วยพลังงานสะอาดสำหรับอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (Clean Energy Hybrid Electricity Generating Systems for National Parks and Wild Life Sanctuary) โดย อาจารย์ธวัชชัย สุวรรณคำ และคณะวิจัยของสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจธ.

13 มิถุนายน 2546
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 55) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรขนส่ง
  • อนุมัติหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

1 กรกฎาคม 2546
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีผลบังคับให้ต้องปรับ “ทบวงมหาวิทยาลัย” ไปเป็น “สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา” สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

28-29 กรกฎาคม 2546
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเจ้าภาพจัดประชุม Greater Mekong Subregion Tertiary Education Consortium (GMSTEC) ครั้งที่ 4

8 สิงหาคม 2546
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 57) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติหลักสูตรอนุปริญญา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรมภายใน และสาขาศิลปอุตสาหกรรม (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)

5-7 กันยายน 2546
การสัมมนาสภามหาวิทยาลัยร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย (Retreat) ครั้งที่ 1 ซึ่งทำให้มีการสัมมนาในลักษณะดังกล่าวต่อเนื่องมาทุกๆ 6 เดือน โดยเป็นการระดมสมองเรื่อง การพัฒนามหาวิทยาลัยในด้านหลักสูตร การเรียนการสอน วิจัย บุคลากร การเงินและวิทยาเขต รวมทั้งตรวจสอบ ประเมิน และการปรับทิศทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัยในอนาคต

22 กันยายน 2546
สภาวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 10/2546 เห็นชอบให้คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เปิดโครงการพิเศษความร่วมมือกับกรมอาชีวศึกษา เพื่อผลิตบุคลากรทางครุศาสตร์อุตสาหกรรม ระดับบัณฑิตศึกษา ณ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา

10 ตุลาคม 2546
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 59) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันเชิงอุตสาหกรรม ของสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม
  • อนุมัติหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

13 ตุลาคม 2546
ตั้ง “สโมสรพนักงานข้าราชการและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สโมสร มจธ.”

18 ตุลาคม 2546
นำผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวาย ณ วัดนาชื่น อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

6 พฤศจิกายน 2546
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2545 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

10 พฤศจิกายน 2546
ศ.ดร. สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ เข้ารับรางวัล UNESCO Science Prize ประจำปี 2003 ในสาขาพลังงานทดแทน เฉพาะทางด้านเทคโนโลยีการอบแห้ง ณ เมืองบูดาเปส ประเทศฮังการี โดยได้รับประกาศเกียรติคุณเงินรางวัล และเหรียญรางวัล Albert Einstein

14 พฤศจิกายน 2546
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 60) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ของภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • อนุมัติหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ของสาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี
  • อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อหลักสูตร “วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์เพื่อการคำนวณทางวิทยาศาสตร์” เป็นหลักสูตร”วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์”

12 ธันวาคม 2546
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 61) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อสาขาวิชาในหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต จากเดิม “สาขาวิชาจุลชีววิทยาและเทคโนโลยีการอาหาร” เป็น “สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ”

ปี 2547

  • อนุมัติแต่งตั้ง รศ. ดร. เอก ไชยสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งคณบดีวิศวกรรมศาสตร์
  • ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2547 สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากสภาวิจัยแห่งชาติ
  • ผศ.ดร. สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2547 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
  • “ทุนเพชรพระจอมเกล้าธนบุรี” เป็นทุนที่เปิดโอกาสให้กับนักศึกษาที่มีผลเรียนดี กิจกรรมเด่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ โดย มจธ.ได้ดำเนินการให้ทุนแก่นักศึกษาปีนี้ เป็นปีแรกทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา โดยแบ่งเป็น ทุนส่งเสริมผู้มีความสามารถด้านวิชาการดีเด่น และทุนส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านความเป็นผู้นำ ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านกีฬาและด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์
  • เริ่มดำเนินการโครงการ 2B-KMUTT

ปีการศึกษา 2547
มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานภายในที่มีหน้าที่จัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย คณะวิชา จำนวน 8 คณะ บัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 2 แห่ง สถาบันซึ่งจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรเฉพาะทางอีก 2 แห่ง รวม 12 หน่วยงาน โดยมหาวิทยาลัยมีจำนวนสาขาวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรภาษาอังกฤษ จำนวน 9 สาขาวิชา และหลักสูตรนานาชาติ จำนวน 15 สาขาวิชา

9 มกราคม 2547
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 62) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีศึกษา หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2547 เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2547
  • อนุมัติหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโทรคมนาคม หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2547 เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2547
  • อนุมัติหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2547
  • อนุมัติหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2547 เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2547

27 มกราคม 2547
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง เซลล์แสงอาทิตย์ ครั้งที่ 14 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ และนิทรรศการ ภาพประกอบ

6 กุมภาพันธ์ 2547
หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากมูลนิธิโทเร เพื่อส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2546 โดยได้เข้ารับโล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวน 300,000 บาท จาก ฯพลฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อวันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ณ โรงแรมปาร์คนายเลิศ แรฟเฟิลส์ อินเตอร์เนชั่นแนล

13 กุมภาพันธ์ 2547
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 62) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติในหลักการเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ 2547 ปีละ 2 ครั้งในกรอบวงเงินร้อยละ 7 ของฐานเงินเดือนพนักงาน
  • อนุมัติการจัดสรรเงินรางวัล ประจำปีงบประมาณ 2546
  • อนุมัติแนวทางการดำเนินการในการทำงานข้ามหน่วยงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • อนุมัติการจัดตั้งโครงการสถาบันการเรียนรู้ โดยให้ปรับชื่อจากที่เสนอ “โครงการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” เป็น “โครงการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้”
  • อนุมัติโครงการจัดตั้ง City Center โดยวงเงินลงทุนไม่เกิน 45 ล้านบาท และให้จัดทำรายละเอียดโครงการซึ่งรวมถึง การออกแบบ การใช้สถานที่ กิจกรรมต่างๆ ฯลฯ เสนอสภามหาวิทยาลัยต่อไป
  • อนุมัติการปรับปรุงแบบแสดงความคิดเห็นซึ่งแนบท้ายข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการสรรหาคณบดี พ.ศ. 2543 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2544
  • อนุมัติการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2547) โครงสร้างหลักสูตรภายหลังการปรับปรุงลดลงจากเดิม 39 หน่วยกิต เหลือ 36 หน่วยกิต เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2547

1-15 มีนาคม 2547
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดโครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน ที่จังหวัดน่าน โดย ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร อธิการบดี และคณาจารย์ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรม และสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จัด “โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน” เพื่อสนับสนุนแผนงานพัฒนาเด็ก และเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

12 มีนาคม 2547
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 64) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติแต่งตั้ง ผศ. ดร. พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2547 ถึงวันที่ 14 มีนาคม 2549
  • อนุมัติระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับพนักงานสมทบ (Adjunct Staff) ซึ่งปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2547 และประกาศมหาวิทยาลัยฯ เรื่องสวัสดิการของพนักงานสมทบ (Adjunct Staff) พ.ศ. 2547
  • อนุมัติหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคุณภาพ ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) แล้ว เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2547

9 เมษายน 2547
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 65) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษาหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2547 ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ เสนอหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษา ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) แล้ว เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2547
  • อนุมัติหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2547 คณะวิทยาศาสตร์ เสนอหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) แล้ว เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2547
  • อนุมัติหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและผลิตแบบบูรณาการ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2547 สายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณะพลังงานและวัสดุ เสนอหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและผลิตแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2547 ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) แล้ว เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2547
  • อนุมัติหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและผลิตแบบบูรณาการ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2547 สายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณะพลังงานและวัสดุ เสนอหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและผลิตแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) แล้ว เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2547

14 พฤษภาคม 2547
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 66) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติแต่งตั้ง รศ.ดร.เอก ไชยสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ในวาระต่อไป
  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษา ของภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
  • อนุมัติหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ของคณะวิทยาศาสตร์
  • อนุมัติหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและผลิตแบบบูรณาการ ของสายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณะพลังงานและวัสดุ
  • อนุมัติหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและผลิตแบบบูรณาการ ของสายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณะพลังงานและวัสดุ

7 มิถุนายน 2547
สำนักหอสมุดและบรรณสารสนเทศ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักหอสมุด ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 63ง. มีผศ.นงนุช ภัทราคร เป็นผู้อำนวยการ

11 มิถุนายน 2547
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 66) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติเปลี่ยนชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญา และชื่อสาขาวิชาดังนี้
    เดิมหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) Master of Architecture (Industrial Design)
    เปลี่ยนเป็น หลักสูตรการออกแบบมหาบัณฑิต/วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบโดยเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (หลักสูตรนานาชาติ) Master of Design / Master of Science (Human-Centered Design)
  • อนุมัติการเปิดโครงการความร่วมมือกับสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เพื่อผลิตบุคลากรทางครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับบัณฑิตศึกษา

21-25 มิถุนายน 2547
วิทยาเขตบางขุนเทียนจัดงาน “เปิดโลกเทคโนโลยีและสวนอุตสาหกรรม มจธ.” ครั้งที่ 1 : 24 มิถุนายน 2547 ฯพณฯ จาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรีให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “เปิดโลกเทคโนโลยีและสวนอุตสาหกรรม มจธ. ครั้งที่ 1″ ณ สวนอุตสาหกรรม มจธ. บางขุนเทียน

 24 มิถุนายน 2547
ฯพณฯ จาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรีให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “เปิดโลกเทคโนโลยีและสวนอุตสาหกรรม มจธ. ครั้งที่ 1“ ณ สวนอุตสาหกรรม มจธ. บางขุนเทียน

9 กรกฎาคม 2547
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 68) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติแต่งตั้ง รศ.ดร. เอก ไชยสวัสดิ์ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2547 ถึงวันที่ 17 มกราคม 2548
  • อนุมัติรายละเอียดหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2547

30 กรกฎาคม 2547
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ร่วมลงนาม ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม”

12 สิงหาคม 2547
ดร. ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมแสดงความยินดีและให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการชุมชนน่าอยู่ กรุงเทพ หรือ บางกอกโค้ด (Bangkok Community of Desirable Environment) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองย่านสาทร

20 สิงหาคม 2547
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการประชุมครั้งที่ 69 มหาวิทยาลัยขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการ จัดการทรัพยากรชีวภาพ แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

  • อนุมัติแต่งตั้ง รศ.ดร.บุญเจริญ ศิริเนาวกุล ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฏาคม 2547
  • อนุมัติหลักสูตรการออกแบบมหาบัณฑิต/วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบโดยเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (หลักสูตรนานาชาติ) ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
  • ด้วย รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 และได้ขอลาออกจากตำแหน่งรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร และเลขานุการสภามหาวิทยาลัย
    สภามหาวิทยาลัยฯ อนุมัติแต่งตั้ง ดร.เกษรา วามะศิริ ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารและตำแหน่งเลขานุการสภามหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฏาคม 2547

8 ตุลาคม 2547
สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบปรับโครงสร้างองค์กร “สำนักหอสมุด” โดยมีเพียงสำนักงานผู้อำนวยการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการให้บริการของสำนักหอสมุด

13 ตุลาคม 2547
ผศ.ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี 2547 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

15 ตุลาคม 2547
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานนิทรรศการเทิดพระเกียรติ 200 ปี พระจอมเกล้า เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปี วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

21 ตุลาคม 2547
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโล่เกียรติยศแก่ผู้ที่ได้รับรางวัลเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี 2546 บุคลากรมจธ.ที่ได้รับรางวัล 2 ท่าน คือ ศ.ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ (รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ระยะที่สอง) และศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ

4 พฤศจิกายน 2547
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2546 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

12 พฤศจิกายน 2547
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 72) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ (Center for Logistics Excellence : LOGEX)
  • อนุมัติเปลี่ยนชื่อคณะ และภาควิชา ดังนี้

1) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (Faculty of Industrial Education) เปลี่ยนเป็น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (Faculty of Industrial Education and Technology)
2) ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ (Department of Printing Technology) เปลี่ยนเป็น ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ (Department of Printing and Packaging Technology)
3) ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี (Department of Technology Education) เปลี่ยนเป็น ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Department of Educational Technology and Communications)
4) สำนักหอสมุด ขอยุบฝ่ายต่างๆ ให้คงเหลือเพียงสำนักงานผู้อำนวยการ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารการจัดการ

  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2548 ของภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • อนุมัติการเปิดโครงการผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรสองภาษา (Bilingual)

16-30 พฤศจิกายน 2547
คณะวิศวกรรมศาสตร์ เตรียมเปิดโครงการวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตรสองภาษา

17 ธันวาคม 2547
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 72) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการพิมพ์ (ระบบสหกิจศึกษา) ของภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • อนุมัติปรับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุมศึกษา ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) เพื่อบรรจุหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) จำนวน 6 หลักสูตร ดังนี้

1) หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
2) หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
3) หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
4) หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
5) หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
6) หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารและสนเทศศาสตร์

  • นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย รางวัลที่ 1 สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ในผลงาน “เครื่องตัดเสาเข็ม”

ปี 2548

13 มกราคม 2548
นางสาววรพนิต ลิมปภาส นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร และดร.อาลักษณ์ ทิพยรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอาหาร ได้รับรางวัล Distinguished paper award จากการเข้าร่วมประชุมนานาชาติ 2nd International Conference on Innovations in Food Processing Technology and Engineering (ICFPTE’04) ณ Asian Institute of Technology ระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม 2548 โดยนางสาววรพนิต ลิมปภาส ได้นำเสนอบรรยายงานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษในหัวข้อเรื่อง “Model Mechanism of Salted Duck Yolk Formation in Separated Yolk Brining”

14 มกราคม 2548
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 72) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติแต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยตามมาตรา 16(3) (4) (7) โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2548 – วันที่ 17 มกราคม 2551 ดังนี้ :

รศ.ดร.เอก ไชยสวัสดิ์
รศ.ดร.สุวิทย์ เตีย
ศ.ดร.สมชาย ชูชีพสกุล
ผศ.ดร.ทิพาพร อยู่วิทยา
ผศ.ดร.สุพัฒน์พงษ์ ดำรงรัตน์
นางสาวธีราพร ชัยอรุณดีกุล
รศ.ศิริวัฒน์ ไชยชนะ

2-4 กุมภาพันธ์ 2548

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมมือกับโครงการมหาวิทยาลัยรวมพลังหารสอง และศูนย์การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (EESH) เตรียมจัดโครงการ “รวมพลคนหารสอง ฉลอง 45 ปี มจธ.” ระหว่าง วันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2548 เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงาน และใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และประกาศเจตนารมณ์ของการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) รวมทั้งเป็นการเฉลิมฉลองในวาระโอกาสมหาวิทยาลัยมีอายุครบ 45 ปี ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548
  • รศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปี 2548 รางวัลชมเชย สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เรื่อง “การพัฒนาและผลิตไม้พีวีซี”

 2 กุมภาพันธ์ 2548

  • สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มอบรางวัล
  • ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2547 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
  • รศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ปี 2548 รางวัลชมเชย ผลงานการพัฒนาและผลิตไม้พีวีซี

11 กุมภาพันธ์ 2548
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 75) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการขึ้นรูปพอลิเมอร์ ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • อนุมัติการยกเลิกหลัก สูตรประกาศนีบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี และสาขาวิชาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งตนเอง คณะศิลปศาสตร์
  • อนุมัติโครงการก่อสร้างหอพักรวมส่วนอำนวยความสะดวกที่ใช้ร่วมกันทั้งวิทยาเขตที่ มจธ. บางขุนเทียน ในวงเงิน 300 ล้านบาท

18 กุมภาพันธ์ 2548
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2547 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

25 กุมภาพันธ์ 2548
รศ.ดร.สุวิทย์ เตีย ได้รับรางวัล PTIT Award ประเภท PTIT Fellow ประจำปี 2548-2549 จากสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

11 มีนาคม 2548
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 76) มีมติ ดังนี้

  •  อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ ของภาควิชาคณิศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
  • อนุมัติหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์

8 เมษายน 2548
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 77) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ ด้านการสอนภาษาอังกฤษ (โครงการพิเศษ หลักสูตรนานาชาติ) ของคณะศิลปศาสตร์
  • อนุมัติหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตและระบบ ของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • อนุมัติหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต/วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน และสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม หลักสูตรนานาชาติ ของบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • ผศ.ดร.ธวัชชัย เหล่าศิริหงษ์ทอง และคณะได้รับรางวัลจากสภาวิศวกร ภายใต้โครงการประกวดผลงานวิจัยด้านวิศวกรรมการจราจร ดังนี้

1) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัล Best Research จากผลงานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับความรุนแรง            ของอุบัติเหตุจราจรทาง ถนน”
2) รางวัลประกาศเกียรติคุณ จากผลงานวิจัยเรื่อง “แนวทางป้องกันอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนในช่วงเทศกาล”
3) รางวัลประกาศเกียรติคุณ จากผลงานวิจัยเรื่อง “ปัญหาความปลอดภัยบริเวณทางโค้งอันตรายในประเทศไทย”

24 พฤษภาคม 2548
หม่อมเจ้าหญิงสิริวัณวรี มหิดล เสด็จเป็นองค์ประธานเทรงปิดการฝึกเยาวชนสัมพันธ์ รุ่นที่ 521 ณ อาคารพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ 190 ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งจัดขึ้นโดยกองบัญชาการตำรวจนครบาลร่วมกับสถานีตำรวจนครบาลทุ่ง-ครุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และโรงเรียนราษฎร์บูรณะ ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤษภาคม 2548

2 มิถุนายน 2548
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานประเภทสถาบันการศึกษา จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พ.พ.)

10 มิถุนายน 2548
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 79) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติการปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2548
  • มีมติให้ความเห็นชอบแต่ตั้งคณะกรรมการบริหารการเงินและทรัพย์สิน ดังเสนอ ทั้งนี้มีวาระตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2548 ถึง วันที่ 15 พฤษภาคม 2550
  • อนุมัติการปรับปรุงหลักสูตรของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
  • อนุมัติการปรับปรุงหลักศุตรของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

30 มิถุนายน 2548
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารปฏิบัติการทางวิศวกรรมศาสตร์ และทรงเปิดหอบรรณสารสนเทศ ห้อง KLINICS และทอดพระเนตรนิทรรศการ มจธ.กับมิติด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้และอยู่อาศัย ณ อาคารสำนักหอสมุด

8 กรกฎาคม 2548

  •  รศ.ดร.สมชาย จันทร์ชาวนา รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการ เป็นประธานเปิดสโมสร มจธ. ซึ่ง มจธ. จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2546 โดยใช้ชื่อว่า “สโมสรพนักงานข้าราชการและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือเรียกย่อว่า สโมสร มจธ.” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกได้พบปะสังสรรค์ และจัดให้มีนันทนาการ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี และความเอื้ออาทรระหว่างพนักงาน ข้าราชการ และลูกจ้างของมหาวิทยาลัย และข้าราชการที่เกษียณอายุแล้ว
  • อนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาผลิตภาพอุตสาหกรรม (Center for Industrial Productivity Development)
  • อนุมัติโครงการความร่วมมือกับกรมอาชีวศึกษา เพื่อผลิตบุคลากรทางครุศาสตร์อุตสาหกรรม ระดับบัณฑิตศึกษา ณ วิทยาลัยเทคนิคหนองคาย

26 กรกฎาคม 2548
University of Electro-Communications ประเทศญี่ปุ่น ได้มีกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการ กับภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม มจธ. ด้านการแลกเปลี่ยนบุคลากรและการเรียนการสอนทางไกลระหว่างกัน

2 กันยายน 2548
คณะพลังงานและวัสดุ มจธ. ร่วมกับกองฝึกอบรม และพัฒนาพนักงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล โรงงานยาสูบ จัดโครงการฝึกอบรมทักษะด้านการจัดการพลังงาน ของบุคลากรโรงงานยาสูบ เพื่อให้บุคลากรสามารถนำความรู้ด้านการจัดการพลังงาน มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับโรงงานยาสูบและสังคม และเพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง มีระบบคิดและมีความสามารถในการจัดการพลังงานในระยะยาว

9 กันยายน 2548
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 82) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติแต่งตั้ง รศ.ดร.หริส สูตะบุตร ดำรงตำแหน่งอุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

14 ตุลาคม 2548
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 83) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติโครงการจัดตั้งส่วนคัดเลือกนักศึกษา(สังกัดสำนักงานอธิการบดี) โครงการจัดตั้งศูนย์บูรณาการเทคโนโลยี เพื่ออุตสาหกรรมไทย (สังกัดสำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและบริการวิศวกรรมการเชื่อม (สังกัดสำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
  • อนุมัติหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี

11-12 พฤศจิกายน 2548
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม(ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยทางด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ “FIBOLUTION” ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้งสถาบันฯ ณ บริเวณชั้น 1 อาคารสำนักงาน อธิการบดี

7 ธันวาคม 2548
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปี 2547 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

11-15 ธันวาคม 2548
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการประชุมวิชาการไทย-อเมริกัน เรื่อง การพัฒนาสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวชในประเทศไทยสู่มาตรฐานสากล(US-Thai Symposium on Biomedical Engineering in Thailand) ซึ่งจัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุ 50 พรรษา

ปี 2549

13 มกราคม 2549
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 86) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ของ รศ.ดร.ณรงฤทธิ์ สมบัติภพ ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2548
  • อนุมัติปรับแผนปฏิบัติราชการแผ่นดิน 4 ปี เพื่อบรรจุหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวาริชวิศวกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดทำหลักสูตรร่วมกับภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ให้ความเห็นชอบการเปิดวิชา SSC 232 การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) ตามที่สายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์เสนอ

 7 กุมภาพันธ์ 2549
พิธีลงเสาเอกอาคารปฏิบัติการทางวิศวกรรมศาสตร์
มีพระครูศิวาจารย์ เป็นผู้อ่านโองการบวงสรวงขอพร
เทพยดาประธานในพิธีผูกผ้าแพรและคล้องพวงมาลัย
เสาเอก พร้อมเจิมแผ่นอิฐทอง นาก เงิน และตอกไม้มงคล          ก้นหลุม 9 ชนิด เพื่อความเป็นสิริมงคล

15 กุมภาพันธ์ 2549
ได้มีพิธียกเสาเอกอาคารหอพักนักศึกษา มจธ. บางขุนเทียน สามารถรองรับผู้เข้าพักได้ 500 คน โดยระยะเวลาการก่อสร้าง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2549 พร้อมให้บริการเต็มรูปแบบภายในเดือนมกราคม 2550

25 กุมภาพันธ์ 2549
โครงการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ระดับบัณฑิตศึกษา ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

21 เมษายน 2549
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 88) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติให้คณะศิลปศาสตร์ดำเนินโครงการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยการเรียนแบบเข้มข้น เริ่มในปีการศึกษา 2549
  • อนุมัติโครงการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาเพื่อผลิตบุคลากร ทางครุศาสตร์อุตสาหกรรม ระดับบัณฑิตศึกษา ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฏร์ธานี

19 พฤษภาคม 2549
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 89) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติการแต่งตั้ง ดร. ไมเคิล ปริพล ตั้งตรงจิตร เป็น คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มีวาระตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 – 30 มิถุนายน 2553
  • อนุมัติการแต่งตั้ง รศ.ดร. ศักดิ์ กองสุวรรณ เป็น คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มีวาระตั้งแต่ วันที่ 29 พฤษภาคม 2549 – 28 พฤษภาคม 2553

9 มิถุนายน 2549
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 90) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติโครงการปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ ที่จังหวัดอุบลราชธานี และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2549 ของภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • อนุมัติโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อพัฒนาระบบบัณฑิตศึกษา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์

28 มิถุนายน 2549
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่าง มจธ. กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

กรกฎาคม 2549
สำนักงานเทคโนโลยี SMEs ออกวารสาร Technopreneur Toworrow-Today ฉบับปฐมฤกษ์

14 กรกฎาคม 2549
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 91) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและ โครงการตามพระราชดำริ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • อนุมัติแต่งตั้ง ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัย และที่ปรึกษามหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 16 กรฏาคม 2549 เป็นต้นไป
  • อนุมัติโครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสำหรับผู้บริหารและเจ้าของกิจการ (Master of Business Adminitration (M.B.A.) for Young Executives and Executives) ของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม
  • อนุมัติแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ.2549-2563 (KMUTT Roadmap 2020) เพื่อเป็นกรอบการพัฒนามหาวิทยาลัยในระยะยาวและเป็นคู่มือผู้บริหาร มหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายในใช้การกำกับการทำงานของมหาวิทยาลัยใน 15 ปี ข้างหน้า
  • รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน์ สังกัดภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิก The International Academy of Food Science and Technology (IAFoST)
  • รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มจธ. (FIBO) แจ้งข่าวการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติที่ประเทศเยอรมันว่า ทีมสร้างหุ่นยนต์ Humanoid ของ มจธ. ชื่อ “จี๊ดและใจดี” ได้ผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายในการแข่งขัน Robo Cup ณ ประเทศเยอรมัน

16 กรกฎาคม 2549
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายไกรวุฒิ เกียรติโกมล ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2549

17 กรกฎาคม 2549

  •  เริ่มก่อสร้างอาคารปฏิบัติการทางวิศวกรรมศาสตร์ 9 ชั้น คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 5 กรกฎาคม 2551
  • ได้มีพิธีลงนามข้อตกลงโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาการศึกษาและ บุคลากรของสถานศึกษาเครือข่าย ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับกองทัพอากาศ

19 กรกฎาคม 2549
ศ.ดร. สำเริง จักรใจ ได้รับรางวัลเมธีส่งเสริมนวัตกรรม สาขาพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ศ.ดร. จงจิตร์ หิรัญลาภ ได้รับรางวัลเมธีส่งเสริมนวัตกรรม สาขาพลังงานและสิ่งแวดล้อม
รศ.ดร. เพลินพิศ บูชาธรรม ได้รับรางวัลเมธีส่งเสริมนวัตกรรม สาขาธุรกิจชีวภาพ

11 สิงหาคม 2549
ศ.ดร. สมชาย วงศ์วิเศษ ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2549

13 สิงหาคม 2549
สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมาคมนักศึกษาเก่าฯ อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีชื่อเป็นทางการว่า “สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในพระบรมราชูปถัมภ์” “King Mongkut’s University of Technology Thonburi Alumni Association under Royal Patronage”

8 กันยายน 2549
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 92) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวาริชวิศวกรรม (Aquaculture Engineering) หลักสูตรใหม่ เป็นหลักสูตรความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มจธ. และมหาวิทยาลัยบูรพา
  • อนุมัติให้คณะพลังงาน วัสดุ และสิ่งแวดล้อม (School of Energy Materials and Environment) เปลี่ยนชื่อเป็น คณะพลังงาน สิ่งแวดล้อมและวัสดุ (School of Energy Environment and Materials)
  • อนุมัติแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ.2549-2563 (KMUTT Roadmap 2020)
  • แต่งตั้ง นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธาน อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย (ข้าราชการ)
  • อนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์การจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ (Gifted Education for Gifted Learner)
  • อนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมระบบ (Center of Systems Innovations)
  • สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มจธ. (FIBO) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ประเภท Humanoid League ในการแข่งขัน Robocup Soccer 2006 ที่ Bremen, Germany
  • สำนักงานเทคโนโลยี SMEs มจธ. (University TEchnology Office for SMEs) ได้จัดทำวารสาร Technopreneur Tomorrow Today ฉบับปฐมกฤษ์เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2549

2 ตุลาคม 2549
น.ส.ภาวิณี เกิดฤทธิ์, Dr.Sanjukta Subuhi, รศ.ดร.สุภาภรณ์ ชีวะธนรักษ์, ดร.อภิรดี หงส์ทอง (มจธ.) และ น.ส.พีรดา พรหมมีเนตร (ศช.) ขอยื่นจดสิทธิบัตรเรื่อง การพัฒนากระบวนการสร้างกรดไขมันที่มีพันธะคู่สามพันธะในโมเลกุล, gammalinolenic acid หรือ GLA และ alpha-linolenic acid หรือ ALA โดยการพัฒนาลำดับนิวคลีโอไทด์และลำดับกรดอะมิโนของยีนเดลต้า 6-ดีแสททูเรส (Delta 6-desaturase) และยีนเดลต้า 12-ดีแสททูเรส (Delta 12-desaturase) ของไซยาโนแบคทีเรียสไปรูลิน่า (Spirulina platensis) ในเซลล์ยีนต์ (Saccharomyces cerecisiae)

5 ตุลาคม 2549
โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสังคม Social Award ประจำปี 2549 รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์ด้วย ปัญญา Constructionism จาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

13 ตุลาคม 2549
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 93) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติแต่งตั้ง ผศ.ดร. บวร ปภัสราทร เป็น คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มีวาระตั้งแต่ วันที่ 21 ตุลาคม 2549 – 20 ตุลาคม 2553
  • อนุมัติแต่งตั้งผศ.ดร. พัฒนะ รักความสุข เป็น คณบดีคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มีวาระตั้งแต่ วันที่ 21 ตุลาคม 2549 – 20 ตุลาคม 2553

ตุลาคม 2549
อาคารบริการอุปกรณ์/กระบวนการต้นแบบและหน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยี (PIP3/PIP4) 1 หลัง เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม ระยะเวลาโครงการ 3 ปี (เริ่มปีงบประมาณ 2550 – ปีงบประมาณ 2552) คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2552

14 พฤศจิกายน 2549
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2548 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ปี 2550

11 มกราคม 2550
ผู้ แทนมหาวิทยาลัย/สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ทั้ง 3 แห่ง ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล จำนวน 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้จากลิขสิทธิ์การถ่ายภาพเนื่องในพระราชพิธีพระราชทานปริญญา บัตรประจำปี พ.ศ.2549 การถวายเงินจากลิขสิทธิ์การถ่ายภาพครั้งนี้เป็นครั้งแรก

12 มกราคม 2550
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 95) มีมติ ดังนี้

  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรเกล้าฯ แต่งตั้ง ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549

16 มกราคม 2550

  • นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัย และอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติคุณจากคุรุสภาให้เป็นผู้มีคูณูปการต่อการศึกษาของ ชาติ พ.ศ.2550 กำหนดมอบพิธีรับมอบรางวัลจากนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 16 มกราคม 2550 ณ หอประชุมคุรุสภา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
  • ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ตอบรับ เข้าร่วมเป็นกรรมการประจำสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • อนุมัติแต่งตั้ง รศ.ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2550
  • ตามมติสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 44 วันที่ 12 กรกฎาคม 2545 อนุมัติให้จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรมนั้น บัดนี้คณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม เสนอขอเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเพื่อให้เป็นสากล พร้อมปรับส่วนงานให้สอดคล้องกัน สภามหาวิทยาลัย มีมติ

1) เปลี่ยนชื่อส่วนงาน จากเดิม สำนักงานผู้อำนวยการ เป็น สำนักงานคณบดี
2) เปลี่ยนชื่อตำแหน่งหัวหน้าส่วนงาน จากเดิม ผู้อำนวยการ เป็น คณบดี
3) ชื่อหน่วยงาน “บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม” (Gradute School of Management and Innovation : GMI) ยังคงเดิม

  • อนุมัติแต่งตั้ง รศ.ดร.บุญเจริญ ศิริเนาวกุล ดำรงตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม
  • อนุมัติให้คณะพลังงาน สิ่งแวดล้อมและวัสดุ เปลี่ยนชื่อเป็น คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ (School of Energy, Environment and Materials)
  • มีมติแต่งตั้ง นายธีระพล พฤกษาทร เป็นประธานกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย (พนักงาน) และประธาน อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย (ข้าราชการ)
  • อนุมัติโครงการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสำหรับเป็นผู้ประกอบการ (ภาคปกติ) (M.B.A. in Entrepreneurship Management) ของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม

2 กุมภาพันธ์ 2550
วัน คล้ายวันสถาปนา มจธ. ครบรอบ 47 ปี รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล อธิการบดี เป็นประธานพิธีทำบุญตักบาตร ณ บริเวณสวนสุขภาพ พิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระอริยพรหม พิธีมอบโล่แก่ผู้มีอุปการะคุณที่สนับสนุนกิจการมจธ. ถวายภัตตาหารเพล และเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ ณ ห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์

3 กุมภาพันธ์ 2550
ดร.พีรดา พรหมเนตร ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเยี่ยมสาขาเกษตรศาสตร์ และชีวิทยาจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เรื่อง การศึกษาลักษณะของ Complex ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจใน thylakoid membrane (Characterization of respiratory complexes of the thylakoid membrane)

9 กุมภาพันธ์ 2550
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 96) มีมติ ดังนี้

  • แต่งตั้งนายเกียรติศักดิ์ จีรเธียรนาถ ดำรงตำแหน่งกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2550
  • แต่งตั้ง ดร.วิรัช อภิเมธีธำรง ดำรงตำแหน่งที่คณะกรรมการบริหารการเงินและทรัพย์สิน ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2550
  • แต่งตั้ง รศ.นฤมล จียโชค ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2550 ถึงวันที่ 16 มีนาคม 2554

9 มีนาคม 2550
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 97) มีมติ ดังนี้

  • ดร. พิสิฐ ลี้อาธรรม กรรมการมหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 และได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
  • อนุมัติเปลี่ยนชื่อส่วนงานภายใต้สังกัดสำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จากเดิม ” ศูนย์วิจัยและบริการอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมชีวเคมี”เป็น”ศูนย์วิจัย และบริการเพื่อชุมชนและสังคม”
  • อนุมัติแต่งตั้งนายเกียรติศักดิ์ จีรเธียรนาถ เป็นกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2550
  • อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย (ตามมติของคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2550 โดยเสนอแนะให้สภาสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนทุกแห่งจัดให้มีคณะ กรรมการตรวจสอบประจำสถาบันอุดมศึกษา เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดวางระบบและการดำเนินการตรวจสอบภายใน ทั้งในการตรวจสอบการดำเนินงาน การเงินและบัญชี การควบคุมภายใน การประเมินและการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งอาจให้ทำหน้าที่ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามมติสภาสถาบันอุดม ศึกษาในบางเรื่องที่สภาสถาบันอุดมศึกษามอบหมาย
    ทั้งนี้ คณะกรรมการการตรวจสอบประจำสถาบันอุดมศึกษาไม่มีอำนาจสั่งการในทางบริหาร จัดการใดๆ แต่คณะกรรมการฯ ต้องรับผิดชอบในการรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาอย่างสม่ำ เสมอทุกๆ ระยะเวลาที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด) ดังนี้

1. ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ประธาน
2. ดร.หริส สูตบะบุตร กรรมการ
3. นายเขมทัต สุคนธสิงห์ กรรมการ
4. นายสมประสงค์ บุญยะชัย กรรมการ
5. นางยุพา บัวธรา กรรมการ
6. นางมาลี สายวงศ์ เลขานุการ
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2550 เป็นต้นไป

  • อนุมัติในหลักการเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยประจำปี พ.ศ.2550 ปีละ 2ครั้ง ในกรอบวงเงินร้อยละ 6 ของฐานเงินเดือนพนักงานผู้มีสิทธิได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
  • อนุมัติร่างหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของ พนักงานกลุ่มวิชาการและข้าราชการสาย ก. พ.ศ.2550 และให้ปรับเป็นเกณฑ์เดียวกันเมื่อมีโอกาส ขอให้พิจารณาข้อเสนอของคณะทำงานเพื่อปรับระบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ตามหนังสือลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 และเมื่อจะปรับตามข้อเสนอที่เห็นสมควร ให้นำมาเสนอสภา มจธ.อีกครั้งหนึ่ง
  • อนุมัติคำจำกัดความ “เอกสารหรือสื่อการสอน” : เป็นเอกสารคำบรรยาย หรือตำรา หรือหนังสือวิชาใดวิชาหนึ่ง และชุดสื่อการสอนที่มีความสมบูรณ์มากกว่าเอกสารคำสอน โดยต้องสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายและพัฒนาการของศาสตร์แต่ละสาขาวิชา นั้นๆ อาจนำเสนอในรูปแบบสิ่งพิมพ์ หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ที่ใช้สื่อประสม (Mulimedia) ทั้งภาพและเสียง หรือวีดิทัศน์ (Video) ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ในการเรียนการสอน และมีการสอดแทรกผลงานวิจัยที่สามารถแสดงประสบการณ์ความเป็นผู้เชี่ยวชาญใน ศาสตร์นั้นๆ – อนุมัติโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการเพิ่มคุณวุฒิของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ระยะเวลาดำเนินการโครงการ 3 ปี (งบประมาณประจำปี 2550-2552) งบประมาณ 18 ล้านบาท (เฉลี่ยภาควิชาละ 1.5 ล้านบาทต่อปี)
  • อนุมัติ ร่างข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซี่งจดทะเบียนแล้ว พ.ศ.2550 โดยให้ตรวจสอบและแก้ไขข้อ 43 ให้ถูกต้องตามกฎหมายหลัก
  • อนุมัติ ร่างระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยพิเศษพนักงานและลูกจ้างของมหาวิทยาลัย พ.ศ.2550
  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2550 ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติราชการแผ่นดิน 4 ปี (พ.ศ.2548-2551) เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2550
  • อนุมัติแต่งตั้ง ดร.วิรัช อภิเมธีธำรง เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารการเงินและทรัพย์สิน
  • นักศึกษคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ เข้ารับรางวัลการประกวดสื่อโฆษณา ประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์ศาลปกครอง ในโอกาสที่ศาลปกครองครบรอบ 6 ปี ให้หัวข้อ ” 6 ปี ศาลปกครอง ศาลปกครองไทย ก้าวไกลสู่สังคมโลก” ณ ห้องฟิลิปินส์ เจ้าพระยาทาวเวอร์ โรงแรมแชง กรีล่า ดังนี้
  1. รางวัลชนะเลิศ ทีม Outing ประกอบด้วย น.ส.ขวัญนึง สุขบารมี, น.ศ.พรรณเพ็ญ หวังบำรุงศักดิ์
  2. รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม Green Nature ประกอบด้วย นายธีรวัฒน์ พรสกุลชาติ, น.ส.กฤชวัลย์ ตั้งภาธร
  3. รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่
  • ทีมนาฬิกา ประกอบด้วย นายศุภโชค ธรรมครุฑ, นายนฤชิต จิตตฤกษ์, นายบารมี ฟักสวัสดิ์
  • ทีม G-Gang ประกอบด้วย น.ส.ภรทิลา เนียมท้วม, น.ศ.วิทิดา บุญสิริ, น.ส.รัฐภรณ์ วิเวก

3-7 เมษายน 2550
มจธ. จัดกิจกรรมโครงการพัฒนาเสริมสร้างความรู้และงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ระบบโลก (ESS-KMUTT)

20 เมษายน 2550
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 98) มีมติ ดังนี้

  • นายไพบูลย์ วัฒนธรรมศิริ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองนายก รัฐมนตรี
  • นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักศึกษาเก่า มจธ. และเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง แทน รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ ผู้ที่ครบวาระ
  • สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบการแก้ไข ร่างข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซี่งจดทะเบียนแล้ว พ.ศ.2550 โดยแก้ไขความในข้อ 43 และ 48 เรื่องการจ่ายเงินแก่สมาชิกที่พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาพ ให้สอดคล้องกับคำแนะนำของ ก.ล.ต.
  • ให้คณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย เริ่มวาระแรกตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2550
  • ให้ดำเนินการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการเงินและทรัพย์สินทั้งชุด ที่จะสิ้นสุดวาระในวันที่ 15 พฤษภาคม 2550
  • มีมติให้ความเห็นชอบเสนอชื่อนายปราโมทย์ ไม้กลัด กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ร่วมเสนอชื่อคณะกรรมการการส่งเสริมมหาวิทยาลัย ชุดต่อไป
  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ ของคณะทำงาน Biological Engineering หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2550 และให้สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งหลักสูตรดังกล่าว
    บรรจุอยู่ ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2550 เน้นการผลิตบัณฑิตใน 4 สาขา คือ

1) ภาพชีวภาพ (Bioimaging)
2) กลศาสตร์ชีวภาพและวัสดุชีวภาพ (Biomechanics and Biomaterials)
3) ชีววิทยาระบบและสนเทศศาสตร์ชีวภาพ (System Biology and Bioinformatics)
4) เซนเซอร์ชีวภาพและวิศวกรรมชีวภาพระดับนาโน (Biosensor and Nanobioengineering)

  • อนุมัติหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) ของสายวิชาภาษา คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2550 ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวบรรจุอยู่ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554)

11 พฤษภาคม 2550
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 99) มีมติ ดังนี้

  • แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ให้มีหน้าที่

1) พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานของผู้ขอพระราชทานเหรียญดุษฎี มาลา เข็มศิลปวิทยา
2) ทำหน้าที่ประเมินผลงานของผู้ขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
3) พิจารณาสรุปผลการประเมินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 26 เมษายน 2552

  • แต่งตั้งกรรมการสภาวิชาการ แทนกรรมการฯ ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง
    ในวันที่ 16 มีนาคม 2550 ทั้งนี้ให้มีวาระตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2550- 19 เมษายน 2552
  • อนุมัติแต่งตั้งนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ดำรงตำแหน่งกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2550 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2550
  • อนุมัติกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ของรศ. ดร. ชัย จาตุรพิทักษ์กุล ได้ไม่ก่อนวันที่ 8 มกราคม 2550
  • เห็นชอบให้มหาวิทยาลัยยื่นคำอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดคดีการขอกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ของ ดร. จงจิตร์ หิรัญลาภ
  • อนุมัติยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต 2 หลักสูตร ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2550 ดังนี้

1) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเทคนิคธรณี เป็นหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์
2) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ เป็นหลักสูตรของคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ

  • ปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ดังนี้

1) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี ฉบับปี พ.ศ.2550
2) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ ฉบับปี พ.ศ.2550
3) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโ,ยีวัสดุ ฉบับปี พ.ศ.2547
เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุง ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2550

8 มิถุนายน 2550
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 100) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติแต่งตั้ง รศ.ดร. วิวัฒน์ เรืองเลิศปัญญากุล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้
  • เสนอ ดร.พจน์ สะเพียรชัย และดร. อาภารณ์ ศรีพิพัฒน์ เป็นกรรมการบริหารงานบุคคล แทน คณะกรรมการบริหารงานบุคคลที่จะครบวาระในวันที่ 10 กรกฎาคม 2550
  • เรื่อง การต่อเวลาของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

1) รับทราบประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 และถือปฎิบัติ
2) อนุมัติการต่ออายุราชการของ รศ. ดร. พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ เป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550-30 กันยายน 2555

  • อนุมัติบรรจุโครงการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและวางแผน ไว้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554)
  • อนุมัติบรรจุโครงการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและวางแผน (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2550
  • สภาฯ มีมติเรื่อง ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของนักวิจัย (พนักงาน) พ.ศ.2550 ดังนี้

1) มีมติให้ความเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ทางวิชาการของนักวิจัย (พนักงาน) พ.ศ.2550 และเมื่อได้รับและพิจารณาข้อมูลจากคณะทำงานปรับระบบให้เป็นมหาวิทยาลัย ในกำกับ และสวทช. แล้ว หากสรุปว่าควรปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ ก็ขอให้นำเสนอสภามหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง
2) ให้ศึกษาหาวิธีการให้มีการเสนอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์วิจัย หากปรากฎว่าสามารถเสนอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์ได้ก็ขอให้ปรับแก้ร่างหลักเกณฑ์

  • อนุมัติร่าง ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งถอดถอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์วิจัย และศาสตราจารย์วิจัย พ.ศ.2550
  • อนุมัติยกเลิกหลักสูตร และหยุดรับนักศึกษา คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ดังนี้

1.อนุมัติยกเลิกหลักสูตร ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2550 ดังนี้

1.1 ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน
1.2 ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

2. อนุมัติหยุดรับนักศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/255 โดยยกเลิกหลักสูตร เมื่อนักศึกษารุ่นสุดท้ายสำเร็จการศึกษา ดังนี้

2.1 ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน
2.2 ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ
2.3 วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตและวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน

  •  นายพิรฐะ หิญชีระนันทน์ นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และนางสาวชนิกานต์ เทียมทิพร นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับคัดเลือก ให้เป็นตัวแทนของยุวทูตวิทยาศาสตร์ไทย (Young Thai Science Ambassadors) ไปร่วมประชุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์นานาชาติแห่งลอนดอน (The London International Youth Science Forum) ณ ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2550

2 สิงหาคม 2550
ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2550 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ในผลงานเรื่อง “การออกแบบระบบผลิตไฮโดรเจนซึ่งใช้วัตถุดิบที่สามารถหาได้ในประเทศไทย”

10 สิงหาคม 2550
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 102) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติแต่งตั้ง
  1. ประธานและกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย โดยมีสาระตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2550 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2552
  2. กรรมการบริหารงานบุคคลตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2550 ข้อ 6(2)(4)(5) โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2552
  • อนุมัติสภามหาวิทยาลัยอนุมัติแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ตามความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ของรัฐบาล และคำนึงถึงเป้าหมายหลัก7 ด้าน (6+1 Flagships) และ KMUTT Roadmap 2020 เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาซึ่งมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสามารถนำ ไปใช้ในการจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีเอกภาพต่อไป
  • อนุมัติข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550
  • ยกเลิกมติสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 96 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งได้อนุมัติยกร่างข้อบังคับมหาวิทยาลัยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานและ ลูกจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
    พ.ศ.2550 และครั้งที่ 97 วันที่ 9 มีนาคม 2550 ซึ่งอนุมัติให้แก้ไขข้อความในข้อ 43
  • อนุมัติการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ดังนี้
  1. เปลี่ยนชื่อสาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษาจากเดิม Physics for Teachers เป็น Physics Education
  2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการขึ้นรูปพอลิเมอร์ ฉบับปี พ.ศ.2548 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2550 เป็นต้นไป
  3. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ ฉบับปี พ.ศ.2545 และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ ฉบับปี พ.ศ.2546 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2550 เป็นต้นไป
  4. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ฉบับปี พ.ศ.2549
  5. หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2550 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2550 โดยอนุโลมใช้หลังกับนักศึกษาที่เข้าในปีการศึกษา2548-2549 เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์คุรุสภาที่กำหนดขึ้นมาภายหลังจากที่ มจธ. เปิดหลักสูตร

7 กันยายน 2550
ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ นำผลงานเข้าร่วมแสดงในงานนิทรรศการผลงานวิจัยและกิจกรรมงานวิจัยจากหน่วยงาน และองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ในกลุ่มผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม และภาษา ระหว่างวันที่ 7-11 กันยายน 2550 ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ ดังนี้

1.โครงการการออกแบบโปรแกรมตรวจสอบไวยากรณ์ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา
2. ทัศนคติที่มีต่ออาจารย์และผู้สอนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษาและอาจารย์ชาวไทย
3.โปรแกรมเรียนภาษาอังกฤษจาก Reading Maze ผ่านโทรศัพท์มือถือ
4.Electronic Portfolic เพื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

14 กันยายน 2550
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 103) มีมติ ดังนี้
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อนุมติแผนดำเนินงานและงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2551

3 ตุลาคม 2550
คณะ รัฐมนตรี อนุมัติโครงการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนศูนย์เฉพาะทางด้านวิศวกรรมกระบวนการผลิต ทางชีวภาพและโรงงานต้นแบบ (Infrastructure Development for Bioprocess Engineering and Pilot Plant Center) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในวงเงิน 200 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551-2555 ให้แก่สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ซึ่งมีรศ.ดร.สุวิทย์ เตีย เป็นผู้อำนวยการ

11 ตุลาคม 2550
เลขาธิการ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และอธิการบดี มจธ.ได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนัก งานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการดังกล่าวคือ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภายใต้ความร่วมมือ   5 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-2556

12 ตุลาคม 2550
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 104) มีมติ ดังนี้

  • นายกสภามหาวิทยาลัยแนะนำกรรมการสภาใหม่ 2 คน ได้แก่
  1. นายสนั่น อังอุบลกุล ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่งประธานคณะกรรมการส่งเสริม มหาวิทยาลัย แทนนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ซึ่งครบวาระ
  2. ศาสตราจารย์ ดร.รัตน จิระรัตนานนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มาจากสภาวิชาการในตำแหน่งผู้แทน
    ศาสตราจารย์
  • อนุมัติร่างระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 โดยมีข้อสังเกตเรื่องคุณภาพบัณฑิต
  • อนุมัติแต่งตั้ง ดร.วิรัช อภิเมธีธำรง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารการเงินและทรัพย์สิน มีวาระตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2550 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2552 แทน ดร.หิรัญ รดีศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้ขอลาออกเนื่องจากมีปัญหาทางด้านสุขภาพ
  • อนุมัติร่างระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วยกองทุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 โดยให้เพิ่มกองทุนเงินบริจาคและกองทุนพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • อนุมัติโครงการผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร 2 ภาษา ระยะที่ 3 ปีการศึกษา 2551-2552
  • ตามที่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มีโครงการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เปิดหลักสูตรนอกสถานที่ จำนวน 6 หลักสูตร ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 นั้น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ สรุปผลการดำเนินการโครงการ ความร่วมมือเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยดังนี้
  1. หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหา บัณฑิต ที่เปิดสอน จำนวน 6 หลักสูตรได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี
  2. สถานที่เปิดหลักสูตร 3 แห่งได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา (เริ่มภาคการศึกษาที่ 2/2546), วิทยาลัยเทคนิคหนองคาย (เริ่มภาคการศึกษาที่ 1/2548), วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี (เริ่มภาคการศึกษาที่ 1/2549)
    กรรมการสภามหาวิทยาลัย รับทราบและได้มอบข้อคิดเห็นให้คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ ไปดำเนินการ
  • อนุมัติให้ปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้ทรงคุณวุฒิที่สมควรได้รับปริญญา กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประจำปีการศึกษา 2549 ดังรายนามต่อไปนี้
  1. นายเชาว์ โพธิ์ศิริสุข
    วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ
  2. นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
    ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี
  • อนุมัติโครงการผลิตวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตภาคพิเศษ สาขาวิชาวิศวกรรมระบบการผลิต ณ จังหวัดชลบุรี จำนวน 2 รุ่น เริ่มเปิดโครงการตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2550
  • อนุมัติยกเลิกหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • อนุมัติปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ดังนี้
  1. การเปิดรายวิชา MTH 103 คณิตศาสตร์สำหรับนักเทคโนโลยี และรายวิชา LNG 293 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและงานอาชีพ
  2. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ ด้านการสอนภาษาอังกฤษ ฉบับปี พ.ศ.2543 โดยเปิดวิชาเลือกเพิ่ม จำนวน 3 วิชา
  3. หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ฉบับปี พ.ศ.2549, หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม ฉบับปี พ.ศ.2542 และหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ฉบับปี พ.ศ.2545
  • นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับคัดเลือกเป็นผลงานทางด้านงานออกแบบผลิตภัณฑ์ Product Design จากงาน Degree Shows 2007 ซึ่งเป็นการคัดเลือกผลงานวิทยานิพนธ์แห่งปีของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาด้านการออกแบบ จำนวน 4 ผลงาน ได้แก่
  1. นายณัฐพงษ์ นุติพาณิชย์ จากผลงาน “Enjoyable Geometry for Kids” หรือ หรรษาเรขาคณิต
  2. นางสาวนุชจริน หวังพงษ์สวัสดิ์ จากผลงาน “UNIT FOR CARING STREET PUPPY ” หรือ ที่เลี้ยงดูลูกสุนัขจรจัด
  3. นางสาวสายศรางค์ อิศรางกูร ณ อยุธยา จากผลงาน “Lumi pixelate light screen หรือ แผ่นที่ไว้ติดกับกระจกเพื่อบังแดด และตบแต่งพื้นที่อยู่อาศัย
  4. นางสาวศรัญญา เลิศพูนวศิน ผลงาน จากผลงาน “Golden bite: Cookware for Thai Desserts” หรือ ชุดอุปกรณ์เครื่องครัว สำหรับการทำทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และเม็ดขนุน

22 ตุลาคม 2550
นักศึกษาภาควิชาจุลชีวิทยาได้รับรางวัลในการแข่งขันวิชาการและกีฬาในงาน โคโลนีเกมส์ ครั้งที่ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ระหว่างวันที่ 19-22 ตุลาคม 2550 ดังนี้

  1. นางสาวชุติมา สนธิรอด, นายภัคพล กันต์แจ่ม และนายกนก วงศ์รัฐปัญญา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันการตอบปัญหาทางวิชาการด้านจุลชีววิทยา
  2. นางสาวสุรัชนา จงเพิ่มวัฒนะผล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันเทคนิคปฎิบัติการด้านจุลชีววิทยา (Steak Plate)
  3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันกองเชียร์/เชียร์ลีดเดอร์
  4. นางสาวอริยา อ้นหอม และนายภูภิภัทร ใจแก้ว ได้รับรางวัลรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการแข่งขันแฟนพันธุ์แท้ภาพเชื้อจุลินทรีย์
  5. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการแข่งขันบาสเกตบอลชายและฟุตบอลชาย

25 ตุลาคม 2550
ด.ช.กนล ทองสมุย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประถมต้น ในการประกวด Honda ASIMO Super Idea Contest 2007 ภายใต้หัวข้อสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ จากผลงาน “หุ่นยนต์กินก๊าซเรือนกระจก”

26 ตุลาคม 2550
นางสาวพรพิมล สุทันฐรัตน์, นางสาวพิมลพรรณ ชุริบัตร และนางสาวอรัญญา นิพนธ์ศักดิ์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 จากการแข่งขันการตอบปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ในการแข่งขันวิชาการและกีฬาในงาน Open Can ครั้งที่ 16 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างวันที่ 21-26 ตุลาคม 2550

29 ตุลาคม 2550
นายพชริศ กรุงกาญจนา และนางสาวกิตยา อินทรทิพย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ และรางวัลรองชนะเลิศจากการประกวดภาพยนตร์โฆษณาแอนิเมชั่น ย้ำภาพ “เรียนบัญชีอีเลิร์นนิ่ง ไม่ยากเพียงแค่คลิก” ซึ่งจัดโดยคณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จากผลงาน “In Your Hand” และ “Just (click) do it”

30 ตุลาคม 2550
นาย ณัฐพล เกียรติวงศ์หงส์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เขียนและเผยแพร่โปรแกรม CPE17 Autorun Killer เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสผ่าน FLASH DRIVE หรือ Thumb Drive เป็นที่นิยมใช้ในอินเทอร์เน็ต

2 พฤศจิกายน 2550
ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) ได้รับคัดเลือกจากสโมสรโรตารีเจริญนคร เป็นผู้ประกอบอาชีพดีเด่นประจำปี 2550-51 ในสาขาการศึกษาและนวัตกรรม

3 พฤศจิกายน 2550
ที่ ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2 ท่าน ได้รับรางวัล “แทนคุณแผ่นดิน” จากบริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

  • ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ ได้รับรางวัลสาขาการเงินและการธนาคาร
  • คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้รับรางวัลในสาขาอุตสาหกรรม
  • ผศ.ดร.ณัฏฐ์ กาศยปนันท์ อาจารย์คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยยอดเยี่ยม ในการประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ครั้งที่ 8 จากผลงานวิจัยที่มีชื่อว่า “แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อนโดยใช้ เทคนิคสนามไฟฟ้าร่วมกับการเพิ่มพื้นที่ผิว”

9 พฤศจิกายน 2550
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 105) มีมติ ดังนี้

  • แต่งตั้งรศ.บุษยา บุนนาค ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 แทน รศ.ดร.สุวิทย์ เตีย ที่ครบวาระในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2550
  • แต่งตั้งดร.ธีราพร ชัยอรุณดีกุล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2550 ถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2554 แทน ผศ.นงนุช ภัทราคร ที่ครบวาระในวันที่ 14 ธันวาคม 2550

12 พฤศจิกายน 2550
สภามหาวิทยาลัยประกาศระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วย การกำหนดอัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างประเทศ ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2550

23 พฤศจิกายน 2550

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์กู้ภัย ชิงแชมป์ประเทศไทย 2550 ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2550 ณ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
  • มหาวิทยาลัยฯ นำกฐินไปทอดถวาย ณ วัดวังม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก

30 พฤศจิกายน 2550
ทูล กระหม่อมหญิง อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จทรงเปิดอาคารสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มูลนิธิไทยคม

3 ธันวาคม 2550
โครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว มจธ.ได้รับการคัดเลือกให้เป็นองค์กรที่ประกอบความดี “100 ตัวแทนทำดีเพื่อพ่อ”

7 ธันวาคม 2550
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 106) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติให้ยุบศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ สังกัดสำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.)
  • อนุมัติให้สายวิชาภาษา คณะศิลปศาสตร์ ปรับหน่วยชั่วโมงสอนต่อสัปดาห์ของวิชาเลือกเสรีทางภาษาจาก 4 หน่วยชั่วโมงสอน เป็น 3 หน่วยชั่วโมงสอน จำนวน 6 วิชา ดังนี้
  1. LNG 203 ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 1
  2. LNG 204 ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 2
  3. LNG 241 การเขียนเชิงวิชาการ 1
  4. LNG 241 การเขียนเชิงวิชาการ 2
  5. LNG 291 ไทยทักษะ : การพูด
  6. LNG 292 ไทยทักษะ : การเขียน
    เริ่มใช้การปรับหน่วยชั่วโมงดังกล่าวตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2550
  • อนุมัติการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ดังนี้
  1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน (หลักสูตรนานาชาติ) ฉบับปี พ.ศ.2549 ขอเปิดวิชาเลือก 1 วิชาได้แก่ INA 318 การนำเสนอทัศนียภาพสถาปัตยกรรมภายใน และ
  2. สาขาศิลปอุตสาหกรรม (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ฉบับปี พ.ศ.2542 ขอเปิดวิชาเลือก 1 วิชาได้แก่ IND 336 การออกแบบของเล่น
    เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2550
  • อนุมัติการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ ฉบับปี พ.ศ.2548 โดยขอเปิดรายวิชาเลือกเพิ่มเติม จำนวน 1 วิชา ได้แก่ PRT 617 เทคโนโลยีขั้นสูงทางหมึกพิมพ์ เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2550
  • อนุมัติแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย ให้มีวาระตั้งแต่ วันที่ 11 ธันวาคม 2550 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2552
  • อนุมัติแต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้มีวาระตั้งแต่ วันที่ 18 มกราคา 2551 ถึงวันที่ 17 มกราคม 2554

13 ธันวาคม 2550
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นิมนต์พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน) เพื่อบรรยายพระธรรมเทศนา และทอดผ้าป่า ณ ห้องประชุมชลี สินธุโสภณ อาคารสำนักหอสมุด

ปี 2551

13 มิถุนายน 2551
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 112) มีมติ ดังนี้

  1. อนุมัติการปรับอัตราเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว
  2. อนุมัติการปรับบัญชีกำหนดอัตราค่าจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษปฎิบัติงานใน มจธ.

11 กรกฎาคม 2551
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 113) มีมติ ดังนี้

  1. อนุมัติแผนปฎิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2551-2554) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  2. อนุมัติร่าง ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ พ.ศ. 2551
  3. อนุมัติการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตร 4 ปี) โครงการราชบุรี และปรับแผนการรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตร 4 ปี) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
  4. อนุมัติปรับแผนการรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรสองภาษา) จากเดิม 40 คน เป็น 80 คนในปีการศึกษา 2551 – 2552
  5. ให้ความเห็นชอบปรับมอบโรงงานจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดระยอง โดยมอบอธิการบดีวางแผนการดำเนินงานโครงการต่างๆ

30 กรกฎาคม 2551
รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล อธิการบดีได้เข้ารับรางวัลผู้ส่งเสริมด้านอนุรักษ์พลังงานและ
พลังงานทดแทน ประเภทสถาบันอุดมศึกษา ในพิธีมอบรางวัล Thailand Energy Awards 2008

8 สิงหาคม 2551
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 114) มีมติ ดังนี้

  1. อนุมัติมอบปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา แก่ศาสตราจารย์กิตติคุณ อรุณ ชัยเสรี
  2. อนุมัติแต่งตั้ง รศ. ดร. สุวิทย์ เตีย ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยตามมาตรา 16(4) โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2551 – 17 มกราคม 2554
  3. อนุมัติปรับแก้หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของพนักงานกลุ่มวิชาการและข้าราชการสาย ก. พ.ศ. 2550 โดยแก้ไขข้อความในภาคผนวก 8 วันแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ข้อ 1.2 เป็น “สำหรับตำแหน่งศาสตราจารย์ (พนักงาน) มหาวิทยาลัยนับวันที่ผลงานทางวิชาการได้ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ”
  4. อนุมัติปรับแก้หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของนักวิจัย (พนักงาน) พ.ศ. 2550 โดยแก้ไขในข้อ 2.1.2.1 ดังนี้ “รายละเอียดโครงการอย่างน้อย 1 โครงการในกรณีที่ไม่ได้เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยต้องมีความรับผิดชอบในโครงการวิจัยรวมทุกโครงการที่ผ่านการประเมิณไม่น้อยกว่าร้อยละ 50”
  5. อนุมัติการปรับอัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ โดยเริ่มใช้นักศึกษาที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2552
  6. อนุมัติการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครี่องกลหลักสูตรปรับปรุงพ.ศ.2551 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2551

12 กันยายน 2551
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 115) มีมติ ดังนี้

  1. อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 12 ท่าน โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2553
  2. อนุมัติแผนการดำเนินงาน และงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 พร้อมทั้งอนุมัติเงินสะสมเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย
  3. อนุมัติปรับอัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับปริญญาตรี ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  4. อนุมัติขยายบัญชีกำหนดอัตราค่าจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษปฎิบัติงานใน มจธ. ขั้นที่ 4
  5. อนุมัติปรับหลักการบริหารแบบ PBBS: Performance Based Budgeting System ดังนี้

5.1 ปรับหลักการบริหารแบบ PBBS: Performance Based Budgeting System (2551) และให้ใช้หลักการดังกล่าวไม่เกิน 3 ปี                                             โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 และให้มีการประเมินผลทุกปี
5.2 ให้สัตยาบันสำหรับการดำเนินการแบบ PBBS ที่ผ่านมาระหว่างปีงบประมาณ 2543 – 2551

6. เห็นชอบการปรับชื่อภาษาไทยหลักสูตรศิลปบัณฑิต จากเดิม สาขาวิชา “มีเดียอาร์ต” เป็น “มีเดียอาตส์”
7. อนุมัติการปรับปรุงหลักสูตร ดังนี้

7.1 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2551
7.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ ฉบับปี พ.ศ.2550
7.3 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดทรัพยากรชีวภาพ                                 ฉบับปี พ.ศ. 2549
7.4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ ฉบับปี พ.ศ. 2547 และหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต                                                                       สาขาวิชาเทคนิคการพิมพ์ (สหกิจศึกษา) ฉบับปี พ.ศ. 2548
เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2551

ปี 2552

9 มกราคม 2552
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 119) มีมติ ดังนี้

1. อนุมัติแต่งตั้ง ผศ. ดร. พรนภิส ดาราสว่าง ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปศาสตร์ โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 18 มกราคม 2556
2. อนุมัติหลักการจัดซื้อที่ดิน ณ บริเวณซอยประชาอุทิศ 32 อาคารและทรัพย์สินส่วนควบที่ดิน จำนวน 7-2-64 ไร่ โดยให้คณะกรรมการบริหารการเงิน              และทรัพย์สินดำเนินการในรายละเอียดต่อไป
3. อนุมัติการปรับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) และแผนปฎิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2551 –                    2554) เพื่อบรรจุหลักสูตร 2 หลักสูตร ดังนี้

3.1 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2552
3.2 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ) เริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2552

4. อนุมัติการปรับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 -2554) เพื่อรับ–โอนนักศึกษาคณะครุศาสตร์                        อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ดังนี้

4.1 การปรับแผนการรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี (หลักสูตร 2 ปี) คณะครุศาสตร์                             อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี จากเดิมรับนักศึกษารุ่นสุดท้ายปีการศึกษา 2551 เป็น ปีการศึกษา 2552 จำนวน 40 คน
4.2 การปรับแผนการโอนการรับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตสู่หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม                       และเทคโนโลยี ในปีการศึกษา 2552และ 2553

5. อนุมัติโครงการเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ณ ศาลาประชาคม วิทยาเขตราชบุรี เพื่อผลิตบุคลากรทางเทคโนโลยี                                อุตสาหกรรม ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ) สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม                                                                                                                                6. อนุมัติขยายศูนย์การศึกษา ณ วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี และวิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงปูนซีเมนต์ไทย อนุสรณ์ ตามโครงการความร่วมมือกับสำนักงาน          คณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อผลิตนักเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ระดับปริญญาตรี ณ วิทยาลัยเทคนิคฯ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ                    การอาชีวศึกษา โดยรับนักศึกษา จำนวน 1 รุ่น ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 – 2553                                                                                                   7. อนุมัติการปรับปรุงหลักสูตร ดังนี้

7.1 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552
7.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552
7.3 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552
7.4 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552
7.5 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552
7.6 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตาปรับปรุง พ.ศ. 252
เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่การศึกษาที่ 1/2552

2 กุมภาพันธ์ 2552
อาจารย์ของ มจธ.เข้ารางวัลผลงานวิจัยและรางวัลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2552 ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
และอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย รางวัลดีเยี่ยม เรื่อง นวัตกรรมกระบวนการดองไข่เค็มทันใจและผลิตภัณฑ์ไข่ไก่แดงเค็มไร้ไข้หวัดนก ผลงานของ ผศ.ดร.อาลักษณ์ ทิพยรัตน์, นางสาว วรพินิจ ลิมปภาส และนายอนนต์ เลาหรัตนาหิรัญ จากภาควิชาวิศวกรรมอาหาร สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ รางวัลชมเชย เรื่อง ระบบต้นแบบการพยากรณ์ปัญหามลภาวะหมอกควันสำหรับภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ผลงานของ ผศ.ดร.เกษมสันต์ มโนมัยพิบูลย์ จากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม รางวัลผลงานวิจัยประจำปี 2551 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย รางวัลชมเชย เรื่องการออกแบบผลิตไฮโดรเจน ซึ่งใช้วัตถุดิบที่สามารถหาได้ในประเทศไทยเป็นสารตั้งต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ประโยชน์เซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์แข็ง โดย ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ จาก JGSEE และรางวัลวิทยานิพนธ์ประจำปี 2551 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา รางวัลชมเชย เรื่อง การศึกษาการรับและส่งถ่ายสัญญาณของสภาวะความเครียดอันเนื่องมาจากการศูนย์เสียน้ำใน Synechocystis sp. PCC 6803 ด้วยการวิเคราะห์จีโนอย่างเป็นระบบ โดย ดร.กัลยาณี ไพฑูรย์รังสฤษดิ์ จากหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมี

15 กุมภาพันธ์ 2552
มหาวิทยาลัย ร่วมกับสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย และ สสส. จัดงานเดินวิ่งการกุศล พระจอมเกล้าธนบุรี มินิ-ฮาล์ฟมาราธอน ครั้งที่ 1 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

20 กุมภาพันธ์ 2552
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะ  ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเยี่ยมชมการดำเนินงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

20 พฤษภาคม 2552
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ (สรบ.) ได้รับรางวัลชมเชยด้านพลังงานทดแทน ประเภทโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) โครงการระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานด้วยพลังงานสะอาดสำหรับหมู่บ้านชนบท (กรณีหมู่บ้านเกาะจิก) โดยคุณอุสาห์ บุญบำรุง เป็นผู้เข้ารับรางวัล

28-29 พฤษภาคม 2552
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มจธ. ร่วมกับสมาคมสถิติแห่งประเทศไทยและเครือข่ายวิจัยสถิติแห่งชาติ จัดสัมมนาเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

12 มิถุนายน 2552
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 123) มีมติ ดังนี้

1. แต่งตั้งศาสตารจารย์ ดร. มรกต ตันติเจริญ เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ ในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
2. อนุมัติการปรับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อบรรจุหลักสูตรคณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 2 หลักสูตร ดังนี้

2.1 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2552 เริ่มดำเนินการตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2552
2.2 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553 เริ่มดำเนิน               การตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2553

3. อนุมัติการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (ภาคปกติ) บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม ตั้งแต่ภาคการ          ศึกษาที่ 1/2552
4. อนุมัติหลักสูตรใหม่ – หลักสูตรปรับปรุง และการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร

  • หลักสูตรใหม่
    หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในวิชาชีพและนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2552
    เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2553
  • หลักสูตรปรับปรุง

(1) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552
(2) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552
(3) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาชาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552
(4) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552
(5) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัตติมีเดีย หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552
(6) หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552

  • การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร

(1) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ ฉบับปี พ.ศ. 2546
(2) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี ฉบับ พ.ศ. 2548
เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2552

10 กรกฎาคม 2552
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 124) มีมติ ดังนี้

1. อนุมัติแต่งตั้งกรรมการบริหารงานบุคคลตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2550 ข้อ 6(2)(4)(5) โดยมีวาระตั้งแต่                          วันที่ 14 สิงหาคม 2552 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2554
2. อนุมัติข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
3. ให้ความเห็นชอบประกาศมหาวิทยาลัยฯ เรื่องโรคที่มีลักษณะต้องห้ามในการรับเข้าเป็นพนักงานและลูกจ้างของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2552
4. ให้ยกเลิก 2 หลักสูตร ดังต่อไปนี้

4.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์
4.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีและการจัดการ (หลักสูตรนานาชาติ)

14 สิงหาคม 2552
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 125) มีมติ ดังนี้

1. อนุมัติมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2551 จำนวน 3 ราย ดังนี้

1.1 ดร. มารวย ผดุงสิทธิ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ
1.2 Prof. Dr Chao – Hsiung Wang ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
1.3 Prof. Dr . Kazunari Yoshida ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ

2. อนุมัติแต่งตั้ง

2.1 ประธานและกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2552 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2554 ดังรายนามในคำสั่ง                                 สภามหาวิทยาลัยที่ 09/2552 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2552
2.2 ผศ. นิธิ บุรณจันทร์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2552                         ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2556

3. อนุมัติกำหนดตำแหน่งศาสตรจารย์ของ รศ.ดร.สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ ข้าราชการสังกัดสายวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะพลังงานสิ่งแวดล้อม                    และวัสดุ ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2552
4. ให้ความเห็นชอบการกำหนดค่านิยมองค์กรของมหาวิทยาลัย (Core Value) โดยให้ปรับปรุงตามความเห็นของที่ประชุม และให้ความเห็นชอบ                                แผนการสร้าง พัฒนา และเผยแพร่สู่ประชาคมดังเสนอ
5. อนุมัติหลักสูตรใหม่ – หลักสูตรปรับปรุง และการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ดังนี้

  • หลักสูตรใหม่
    หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา หลักสูตรใหม่พ.ศ. 2552 เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2552 หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2552 เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2553
  • หลักสูตรปรับปรุง
    หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2552
  • การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
              – หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ฉบับปี พ.ศ.2548 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2552
              – หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาชาวิชาวิศวกรรมโยธา ฉบับปี พ.ศ.2548 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2552

11 กันยายน 2552
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 126) มีมติ ดังนี้

1. อนุมัติแต่งตั้ง นายพีระพล สาครินทร์ ดำรงตำแหน่งกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2554
2. อนุมัติแผนดำเนินงานและงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2553 โดยขอให้ดำเนินการอย่างประหยัด
3. อนุมัติการปรับหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของพนักงานกลุ่มวิชาการและข้าราชการ สาย ก โดยปรับแก้ไข                      ในภาคผนวกที่ 12 เป็น ภาคผนวก 12 การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ
4. อนุมัติข้อบังคับ – ระเบียบ ดังนี้

4.1 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยวิธีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและ                             จรรยาบรรณทางวิชาการ พ.ศ. 2552
4.2 ระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการสรรหา การคัดเลือก และการทดลองปฎิบัติงาน พนักงานตำแหน่งวิชาชีพอื่นที่ไม่ใช่ตำแหน่งวิชาการ                             (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
4.3 ระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการสรรหา การคัดเลือก และการประเมินพนักงานกลุ่มบริหารและสนับสนุนที่เป็นผู้บริหารระดับ บ2-บ4 พ.ศ. 2552

5. อนุมัติให้ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2549 – 2552 จำนวน 3,333 คน
6. อนุมัติหลักสูตรใหม่ ดังนี้

6.1 หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและวางแผน (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2550
6.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ และวางแผน (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2550

21 กันยายน 2552
เปิดห้องปฏิบัติการวิจัยโครงการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนห้องปฏิบัติการวิจัย IP-Based Software อย่างเป็นทางการ โดย พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และ รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล อธิการบดีร่วมเป็นประธานในพิธี โดยมี รศ.ดร.บวร ปภัสราทร คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้การต้อนรับ

9 ตุลาคม 2552
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 127) มีมติ ดังนี้

  • อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ดังรายนามต่อไปนี้

1) ศ.ดร.พจน์ สะเพียรชัย ประธาน
2) นายเขมทัต สุคนธสิงห์ กรรมการ
3) ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ กรรมการ
4) นายสมประสงค์ บุญยะชัย กรรมการ
5) รศ.ดร.หริส สูตะบุตร กรรมการ
6) ศ.ดร.นักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย กรรมการ
7) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช กรรมการ
8) ศ.ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์ กรรมการ
9) ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการ
10) ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร กรรมการ
11) รศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ กรรมการ
12) นายแสงไชย รัตนโชตินันท์ กรรมการ
13) นายธีรพล พฤกษาทร กรรมการและเลขานุการ

  • อนุมัติข้อบังคับ – ระเบียบ ดังนี้
  1. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการอุทธรณ์และร้องทุกข์ พ.ศ. 2552
  2. ระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการอุทธรณ์และร้องทุกข์ พ.ศ.2552
  • อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2552 เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2552

13 พฤศจิกายน 2552
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 128) มีมติ ดังนี้

1. ให้ความเห็นชอบร่างคุณสมบัติผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีโดยมีการปรังปรุง
2. อนุมัติข้อบังคับ – ระเบียบ ดังนี้

2.1 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยมาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ นักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิจัย           รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์วิจัย ศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์วิจัย พ.ศ. 2552
2.2 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม พ.ศ. 2552
2.3 ระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2552

3. อนุมัติการเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน จากเดิม คณะสหวิทยาการ (School of Multidisciplinary Sciences) เป็น วิทยาลัยสหวิทยาการ                                                      (College of Multidisciplinary Sciences)
4. อนุมัติปรับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) เพื่อบรรจุหลักสูตร 2 หลักสูตร ดังนี้

4.1 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์
4.2 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติ                                                 หลักสูตนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์
เริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2553

5. อนุมัติโครงการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักศึกษา มจธ.
6. อนุมัติหลักสูตรปรับปรุง และการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ดังนี้

  • หลักสูตรปรับปรุง
    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2552 และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552 ของบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
    หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตหรือวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรเฉพาะบุคคล ฉบับปี พ.ศ.2548 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2553

ปี 2553

 20 มกราคม 2553
มหาวิทยาลัย จัดแถลงข่าวการจัดงานครบรอบ 50 ปี แห่งการก่อตั้ง โดยมี รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล อธิการบดี, คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานคณะกรรมการส่งเสริม, คุณแสงไชย รัตนโชตินันท์ นายกสมาคมนักศึกษาเก่า, รศ.ดร.สมชาย จันทร์ชาวนา ประธานจัดงาน และอาจารย์ยุทธศักดิ์ รุ่งเรืองพลางกูร ร่วมแถลงข่าว ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ มิลเลนเนียม สุขุมวิท

2 กุมภาพันธ์ 2553
ศ.ดร.รัตนา จิระรัตนานนท์ จากภาควิชาวิศวกรรมเคมีได้รับคัดเลือกเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ อาจารย์ปิยสวัสดิ์ นวรัตน์ ณ อยุธยา จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า       ได้รับรางวัลระดับดี ด้านวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรม ผลงานประดิษฐ์ คิด ค้น ประจำปี 2553

5 มีนาคม 2553
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับเกียรติบัตรผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยที่มีคะแนน ระดับดีเยี่ยม (ระดับ 5) จาก สกว. ในกลุ่มสาขาเทคโนโลยี

12 มีนาคม 2553
สภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 132) มีมติ ดังนี้

  1. ให้ความเห็นชอบเสนอชื่อ นายศักรินทร์ ภูมิรัตน ต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ เพื่อดำเนินการขอพระราชทานพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2553-15 กรกฎาคม 2557
  2. อนุมัติระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยหลักปฏิบัติการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2553
  3. ให้ความเห็นชอบการเลือกกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสามในกลุ่ม ง (สถาบันที่เน้นการวิจัยขั้นสูงและผลิตบัณฑิตระดับศึกษาโดยเฉพาะระดับปริญญาเอก)
  4. กำหนดให้ใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ 2552-2553 ในการประเมินคุณภาพหน่วยงานระดับคณะ ตั้งแต่รอบการประเมินปี 2552 เป็นต้นไป
  5. อนุมัติโครงการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา เพื่อผลิตนักเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ระดับปริญญาตรี ณ วิทยาลัยเทคนิคฯ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ระยะที่ 2 ดังนี้

5.1 ขยายเวลาการดำเนินโครงการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ระยะที่ 2 อีก 1 รุ่น คือ ภาคการศึกษาที่ 1/2553
5.2 ให้เปิดหลักสูตรสาขาวิชาชีพเทคโนโลยีเครื่องกล (เพิ่มเติม) ที่ศูนย์วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงปูนซีเมนต์ไทยอนุสรณ์ จังหวัดสระบุรี

29 มีนาคม 2553
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารเรียนและวิจัยทางวิศวกรรมศาสตร์ อาคารวิศววัฒนะ                                      และหอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการ

16 พฤษภาคม 2553
สมาคมนักศึกษาเก่า (ในพระบรมราชูปถัมภ์) และคณะกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย จัดงานการเดิน-วิ่ง มินิฮาร์ฟมาราธอน ครั้ง ที่ 2 (Mini-Half Marathon) เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

9 เมษายน 2553
สภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 133) มีมติ ดังนี้

1. อนุมัติการจัดสรรเงินรางวัล ประจำปีงบประมาณ 2552 ให้แก่พนักงานในวงเงินไม่เกินร้อยละ 80 ของฐานเงินเดือนบุคลากรผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัล ณ            วันที่ 1 กันยายน 2552
2. อนุมัติข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย พ.ศ.2553
3. อนุมัติการปรับแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) ดังนี้

3.1 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ปรับแผนการรับนักศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 – 2557 โดย
          ก. ปรับลดจำนวนนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) จากเดิม 80 คน เป็น 60 คน
           ข. ปรับเพิ่มจำนวนนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตร 4 ปี) จากเดิม 80 คน เป็น 100 คน
3.2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ยกเลิกหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการขึ้นรูปโพลิเมอร์ ที่ได้รับการบรรจุไว้ใน                      แผนพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554)
3.3 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
          ก. ยกเลิกหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประยุกต์และสารสนเทศ ที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยฯ                      ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554)
          ข. ปิดหลักสูตรเดิม คือ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (2 ปี) ซึ่งรับนักศึกษารุ่นแรกภาคการศึกษาที่                       1/2515 และยุติการรับนักศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2550 เป็นต้นมา

4. อนุมัติการเปิดรายวิชาเลือกทางภาษาและการสื่อสาร คณะศิลปะศาสตร์ จำนวน 3 วิชา
      เริ่มใช้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2553

14 พฤษภาคม 2553
สภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 134) มีมติ ดังนี้

  1. อนุมัติแต่งตั้ง รศ.ดร.สิทธิชีย แก้วเกื้อกูล ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2553 ถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2557
  2. อนุมัติระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553
  3. อนุมัติหลักสูตรปรับปรุง-หลักสูตรปรับปรุงแก้ไข

3.1 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2553 เริ่มดำเนินการ                                                 ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2553
3.2 ปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ฉบับปี พ.ศ.2551

27 พฤษภาคม 2553
สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เรื่อง ความร่วมมือด้านห้องปฏิบัติการ ระหว่างมจธ.                                      และบริษัท อีพีจี กรุ๊ป จำกัด

11 มิถุนายน 2553
สภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 135) มีมติ ดังนี้

1. อนุมัติข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการให้ปริญญากิตติมศักดิ์ พ.ศ.2553
2. อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารที่จอดรถบริเวณใกล้อาคารสัมมนา
3. อนุมัติโครงการจัดการศึกษาของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี จำนวน 3 รุ่น (ปีการศึกษา 2553-2556) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ภาคการศึกษาที่ 1/2553 ดังนี้

3.1 โครงการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งเฉพาะบางส่วนของหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต ณ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา วิทยาลัย                     เทคนิคลพบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง รับนักศึกษาสาขาละ 20 คน จำนวน 6 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาครุศาสตร์เทคโนโลยี

3.2 ขยายเวลาโครงการความร่มมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรทางครุศาสตร์อุตสาหกรรม ระดับบัณฑิตศึกษา                         ณ วิทยาลัยเทคนิค 2 แห่ง
                   1) วิทยาลัยเทคนิคหนองคาย รับนักศึกษาสาขาละ 20 คน จำนวน 5 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

                  2) วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี รับนักศึกษาสาขาละ 25 คน จำนวน 2 สาขา ได้แก่

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี

4. อนุมัติปรับแผนการรับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมตามโครงการยกระดับคุณวุฒิบุคลากรการรถไฟแห่ง                            ประเทศไทย โดยรับนักศึกษา 4 รุ่น รุ่นละ 50 คน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2553 จัดการเรียนการสอนที่ทุ่งครุ ทั้งนั้ให้ความเห็นชอบ                            ในหลักการเก็บค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษาในอัตราไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี
5. อนุมัติการใช้หลักสูตรศึกษาทั่วไป (หลักสูตรเดิม) สำหรับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ที่เข้าศึกษาปีการศึกษา                  2553 (จัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง)
6. อนุมัติหลักสูตรปรับปรุง
          – หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2553 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2553
7. ให้ความเห็นชอบผลการประเมินคุณภาพภายใน ระดับสถาบัน และระดับคณะปี 2550-2551

18 มิถุนายน 2553
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายศักรินทร์ ภูมิรัตน ให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2553

9 กรกฎาคม 2553
สภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 136) มีมติ ดังนี้

1. อนุมัติแต่งตั้ง

1.1 แต่งตั้ง รศ.ดร. ไกรวุฒิ เกียรติโกมล ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษามหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2553 เป็นต้นไป
1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองผู้สมควรได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ ดังนี้

  • รศ. ดร. หริส สูตะบุตร ประธานกรรมการ
  • นายปราโมทย์ ไม้กลัด กรรมการ
  • อธิการบดี กรรมการ
  • นายเผด็จภัย มีคุณเอี่ยม กรรมการ
  • นายพีระพล สาครินทร์ กรรมการ
  • รศ. ดร. บุญเจริญ ศิริเนาวกุล กรรมการ
  • เลขานุการสภามหาวิทยาลัย เลขานุการ
  • นางสาวนงลักษณ์ อ่องสุวรรณ ผู้ช่วยเลขานุการ
  • นางวราภรณ์ ตราชู ผู้ช่วยเลขานุการ
    โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2553 ถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2555

1.3 แต่งตั้งรักษาการรองอธิการบดีฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้

  •  ศาสตราจารย์ ดร. สมชาย ชูชีพสกุล ดำรงตำแหน่ง รักษาการรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการ
  • ดร. เกษรา วามะศิริ ดำรงตำแหน่ง รักษาการรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารและรักษาการเลขานุการสภามหาวิทยาลัย
  • รองศาสตราจารย์ ดร. โสฬส สุวรรณยืน ดำรงตำแหน่ง รักษาการรองอธิการบดีวิทยาเขต
  • รองศาสตราจารย์ ดร. สมชาย จันทร์ชาวนา ดำรงตำแหน่ง รักษาการรองอธิการบดี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต ทิพากร ดำรงตำแหน่ง รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาณี เลิศไตรรักษ์ ดำรงตำแหน่ง รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายบุคคล
  • อาจารย์ยุทธศักดิ์ รุ่งเรืองพลางกูร ดำรงตำแหน่ง รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
  • รองศาสตราจารย์ ดร. วนิดา พวกุล ดำรงตำแหน่ง รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
  • รองศาสตราจารย์ ดร. อภิชิต เทอดโยธิน ดำรงตำแหน่ง รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน
    โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2553 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2553

2. ให้ความเห็นชอบกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ของ รศ. ดร. ชัยยุทธ ชินณะราศี ข้าราชการสังกัด ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์                              ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2551 และเสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อเสนอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป
3. อนุมัติโครงการ “ทุนการศึกษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อนักศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน” แก่นักศึกษา 4 ประเทศ ได้แก่                                ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม โดยใช้เงินงบประมาณ 2554 – 2560 วงเงินประมาณ 21,264,000 บาท
4. อนุมัติในหลักการใช้งบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ ในปีงบประมาณ                  2553 – 2557
5. อนุมัติการปรับแผนการดำเนินงานและงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 4 จำนวนร้อยละ 0.71 ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมการปรับ                              งบประมาณ 4 ครั้งแล้ว คิดเป็นร้อยละ 15.62 ของงบประมาณทั้งหมด
6. อนุมัติการปรับแผนการรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยเริ่มรับ                  นักศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2/2553 จำนวน 30 คน ต่อปี จัดการเรียนการสอนที่ มจธ. ทุ่งครุ
7. ให้ความเห็นชอบการจัดการศึกษานอกพื้นที่ของโครงการผลิตวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สาขาวิชาวิศวกรรมระบบการผลิต ณ จังหวัดชลบุรี
8. ให้ความเห็นชอบสถานภาพการจัดการศึกษาในสถานที่ตั้งและนอกสถานที่ตั้ง ดังนี้

8.1 การจัดการศึกษาในสถานที่ตั้ง ได้แก่ มจธ. บางมด มจธ. บางขุนเทียน มจธ. ราชบุรี และ มจธ. Bangkok CODE หรือสถานที่อื่นใดที่จะมีขึ้น                                    ในอนาคต และมหาวิทยาลัยฯ เห็นว่าเป็นการจัดการศึกษาในสถานที่ตั้ง
8.2 การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ได้แก่ การจัดการศึกษาซึ่งนอกเหนือจากข้อ 1 ซึ่งจะต้องรายงานให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบ

9. อนุมัติการเปิดวิชา LNG 293 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและงานอาชีพ เป็นวิชาบังคับเลือก กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร หมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยใช้            รายวิชาดังกล่าวกับหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่                          1/2553 เป็นต้นไป

17 – 19 กรกฎาคม 2553
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสอาชีพ “มจธ. 50 ปี All Thailand Table Tennis Semi Pro Tour Circuit 4” ณ อาคารพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ 190 ปี มจธ

กรกฎาคม 2553
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการจัดอันดับเป็นลำดับที่ 17 ของ UI Green Metric Ranking of World Universities 2010

20 สิงหาคม 2553
สภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 137) มีมติ ดังนี้

1. อนุมัติแต่งตั้ง

1.1 แต่งตั้งรองอธิการบดีฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้

  • รองศาสตราจารย์ ดร. สุวิทย์ เตีย ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีอาวุโสผ่ายวิชาการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ คันธมานนท์ ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร
  • รองศาสตราจารย์ ดร. โสฬล สุวรรณยืน ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดี มจธ. บางขุนเทียน
  • รองศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
  • อาจารย์ธนิตสรณ์ จิระพรชัย รองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาณี เลิศไตรรักษ์ ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต ทิพากร ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษา
  • รองศาสตราจารย์ ดร. เชาวลิต ลิ้มมณีวิจิตร ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ปิ่นวนิชย์กุล ดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน

1.2 แต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ปิ่นวนิชย์กุล ดำรงตำแหน่งเลขานุการสภามหาวิทยาลัย
1.3 แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการสภามหาวิทยาลัย

  • ดร. ธีราพร ชัยอรุณดีกุล ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด
  • นางสาวนงลักษณ์ อ่องสุวรรณ หัวหน้างานการประชุมและพิธีการ
    โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป

1.4 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 12 ท่าน โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2553 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2555

2. อนุมัติข้อบังคับ – ระเบียบ – หลักปฏิบัติ ดังนี้

  • ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการ พ.ศ. 2553
  • ระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยจรรยาบรรณของพนักงานและลูกจ้าง พ.ศ. 2553
  • หลักปฏิบัติด้านจรรยาบรรณองค์กร (Code of Conduct) มจธ.

3. อนุมัติหลักสูตรปรับปรุง

  • หลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553
    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 7 หลักสูตร เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2553
  • เปลี่ยนชื่อหลักสูตรจากเดิม “หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์” เป็น
    “หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ” โดยจัดเป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ

4. อนุมัติการปิดหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ต่อเนื่อง 2 ปี) ทั้งนี้ ได้ยุติการรับนักศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่            1/2550 เป็นต้นมา
5. ให้ความเห็นชอบการประกาศรายชื่อวารสารวิชาการเพิ่มเติม

26-27 สิงหาคม 2553
คณะวิทยาศาสตร์ มจธ.เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ในหัวข้อ “การพัฒนาประเทศในอนุภาคลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน” (GMSTEC 2010 : International Conference for a Sustainable Greater Mekong Subregion)

30 สิงหาคม 2553
สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ได้รับรางวัล Thailand Energy Award 2010 รางวัลดีเด่น ประเภทโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (OFF-GRID) กังหันน้ำคีรีวง สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ร่วมกับกลุ่มชาวบ้านคีรีวง ได้ดำเนินการปรับปรุงกังหันน้ำให้มีประสิทธิภาพ

10 กันยายน 2553
สภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 138) มีมติ ดังนี้

  1. คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อนุมัติแผนการดำเนินงาน และงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554
  2. มีมติอนุมัติให้ปริญญากิตติมศักดิ์แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประจำปีการศึกษา 2552

8 ตุลาคม 2553
มหาวิทยาลัยจัดรายการระดมทุนทางโทรทัศน์ในโอกาสครบ 50 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัย เพื่อรับบริจาคเงินจากศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป เพื่อนำเงินสมทบในกองทุนสนับสนุนการวิจัยและกองทุนพัฒนานักศึกษา ระหว่างเวลา 23.00-24.00 น. ณ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เขตหนองแขม

15 ตุลาคม 2553
สภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 139) มีมติ ดังนี้

1. อนุมัติแต่งตั้ง

  • รศ.ดร.นิพนธ์ เจริญกิจการ ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ดร.พัฒนะ รักความสุข ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ

2. อนุมัติแต่งตั้ง ศ.ดร.สมชาย ชูชีพสกุล เป็นกรรมการสภาวิชาการตามมาตรา 19(3) ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2553 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2554
3. อนุมัติระเบียบมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553
4. อนุมัติให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2551 จำนวน 117 คน ปีการศึกษา 2552 จำนวน 3,335 คน และปีการศึกษา 2553 จำนวน 60 คน
5. อนุมัติการปรับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ดังนี้

  • เปลี่ยนชื่อหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต/วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาสิ่งแวดล้อม เป็น หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ยกเลิกวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต)
  • เลื่อนดำเนินการหลักสูตรดังกล่าวจากภาคการศึกษาที่ 1/2553 เป็น ภาคการศึกษาที่ 1/2554

6. อนุมัติการปรับปรุง-การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2553 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2554
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ฉบับปี พ.ศ.2548 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2553

20-22 ตุลาคม 2553
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. เป็นเจ้าภาพจัดงานเปิดโลกวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5 (Innovative Engineering : The New Frontier) ภายใต้สโลแกน “สุดยอดนวัตกรรม ก้าวนำเทคโนโลยี 50 ปี มจธ.”

24 ตุลาคม 2553
มจธ. นำผ้ากฐินไปทอดถวาย ณ วัดพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

10 พฤศจิกายน 2553
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

12 พฤศจิกายน 2553
สภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 140) มีมติ ดังนี้

  1. ให้ความเห็นชอบเครื่องหมายประดับชุดพิธีการของพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  2. อนุมัติการปรับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) โดยปรับแผนการรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากเดิม 40 คน เป็น 75 คนต่อปี เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2553-2559
  3. อนุมัติให้คณะวิทยาศาสตร์ยกเลิกแผนการปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีศึกษา ในปีการศึกษา 2552 และเปิดรับนักศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2553 จำนวน 3 รุ่น (ปีการศึกษา 2553-2555)
  4. อนุมัติการปิดหลักสูตร ดังนี้
  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (ต่อเนื่อง 2 ปี) ซึ่งเป็นหลักสูตรของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อเนื่อง 2 ปี) ซึ่งเป็นหลักสูตรของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

1 ธันวาคม 2553
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งวิทยาเขตราชบุรี

17 ธันวาคม 2553
สภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 141) มีมติ ดังนี้

1. อนุมัติแต่งตั้ง

1.1 กรรมการสภามหาวิทยาลัยแทนชุดเดิมซึ่งครบวาระ ดังรายนามต่อไปนี้

กรรมการตามมาตรา 16(3)

  • รศ.ดร.บุญเจริญ ศิริเนาวกุล ผู้แทนคณบดี
  • ผศ.นิธิ บุรณจันทร์ ผู้แทนผู้อำนวยกสนสำนัก/สถาบัน
  • ศ.ดร.ณรงฤทธิ์ สมบัติสมภพ ศาสตราจารย์จากสภาวิชาการ
  • รศ.วารุณี เตีย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไปจากสภาวิชาการ

กรรมการตามมาตรา 16(4)

  • ผศ.ดร.ตวงรักษ์ นันทวิสารกุล ผู้แทนจากพนักงานสายวิชาการ
  • นางสาวกนกรัตน์ นาคหฤทัย ผู้แทนจากพนักงานสายสนับสนุน

กรรมการตามมาตรา 16(7)

  • นายแสงไชย รัตนโชตินันท์ นายกสมาคมศิษย์เก่า
  • นายสุไทย พิณรัตน์ ผู้แทนนักศึกษาเก่า
    มีวาระตั้งแต่ 18 มกราคม 2554-17 มกราคม 2557

1.2 แต่งตั้งรศ.ดร.อภิชิต เทอดโยธิน ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารงานบุคคล ซึ่งมาจากผู้แทนพนักงานประจำ โดยมีวาระตั้งแต่วันที่                                                   17 ธันวาคม 2553 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2554

2. อนุมัติจัดสรรเงินรางวัล ประจำปีงบประมาณ 2553 ให้แก่พนักงาน
3. อนุมัติการเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัย ประจำปี 2554
4. อนุมัติข้อบังคับ ดังนี้

4.1 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการบริหารการเงินและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553
4.2 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2553

5. อนุมัติการปรับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) เพื่อบรรจุหลักสูตรในบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม 2 หลักสูตร ดังนี้

5.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
5.2 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
เริ่มดำเนินการตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2554

6. อนุมัติให้บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม ยุติการรับนักศึกษา 3 หลักสูตร ดังนี้

6.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2545
6.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารโครงการ ซึ่งเริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่1/2546
6.3 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งเริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2547
โดยยุติการรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป และจะปิดหลักสูตรเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาหมดแล้ว

17 ธันวาคม 2553 (2)
สภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 142) มีมติ ดังนี้

1. อนุมัติแต่งตั้ง

1.1 ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
         โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2558
1.2 รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล เป็นผู้รักษาการคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
         โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2554 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2554
1.3 รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม
         โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2554 ถึงวันที่ 11 มกราคม 2558
1.4 ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้
         โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2554 ถึงวันที่ 16 มกราคม 2558

2. อนุมัติการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ของ ดร.สุรศิษฐ์ โรจนนันต์ ในสาขาวิชาวิศวกรรม เครื่องมือและวัสดุ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2552
3. อนุมัติข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2554
4. อนุมัติหลักสูตรใหม่-หลักสูตรปรับปรุง ดังนี้

หลักสูตรใหม่

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2554
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2554
    เริ่มใช้หลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2554

หลักสูตรปรับปรุง

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2553
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน (หลักสูตรนานาชาติ)หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2553 ของบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
    เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2553

ปี 2554

2 กุมภาพันธ์ 2554
ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ จากคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ในการนี้ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี ได้เข้าร่วมในพิธีพร้อมทั้งมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี

4 กุมภาพันธ์ 2554
วันครบรอบสถาปนามหาวิทยาลัย

11 กุมภาพันธ์ 2554
สภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (การประชุม ครั้งที่ 143) มีมติ ดังนี้

1. อนุมัติการเข้าสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ของ ผศ.ชาญศักดิ์ อภัยนิพัฒน์ ข้าราชการสังกัด ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในสาขา            วิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2552
2. อนุมัติเกณฑ์การให้คะแนนประเมินผลการปฏิบัติงานด้านวิชาการกลุ่มงานบริหารสำหรับผู้บริหาร ซึ่งใช้สำหรับพนักงานสายวิชาการที่มาดำรงตำแหน่ง          ผู้บริหาร และกลับสู่ตำแหน่งสายวิชาการดังเดิม
3. ในการดำเนินการด้านวิจัยให้ยึดแนวนโยบายของมหาวิทยาลัย ดังนี้

3.1 การขับเคลื่อนการวิจัยไปสู้เป้าหมายหลัก 3+1 ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมาย 3 ประการ คือ

(1) งานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นเลิศ (Research Excellence) 

(2) งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ (Research Relevance)

(3) งานวิจัยที่มีผลิตภาพสูง (Research Productivity)

โดยการดำเนินการสู่เป้าหมายทั้ง 3 ประการดังกล่าว ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมีธรรมาภิบาลวิจัย (Research Governance) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯ ควรกำหนดกลยุทธ์ในการส่งเสริมปัจจัยหลักที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายแต่ละด้านให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายด้าน Research Productivity ควรได้รับการดูแลเป็นอันดับแรก โดยมีปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้

  • 3.1.1 การสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
  • 3.1.2 การบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ให้ “mature”ด้านการวิจัยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่
  • 3.1.3 การเพิ่มจำนวนและคุณภาพวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก โดยยึดหลัก excellence และ relevance                                                  (เช่น การทำวิทยานิพนธ์ที่มีโจทย์มาจากผู้ใช้)
  • 3.1.4 การสร้างสมดุลระหว่างภาระการสอนและภาระงานวิจัย โดยมหาวิทยาลัยถือเป็นนโยบายว่า การสอนและการวิจัยมีความสำคัญเท่ากัน
  • 3.1.5 การใช้ประโยชน์จากนักวิจัยในต่างประเทศ เช่น การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ (networking) กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพื่อช่วยบ่มเพาะนักวิจัยระดับ post-doc เป็นต้น

3.2 มหาวิทยาลัยฯ มีการวิจัยที่นับว่ามี “relevance” สูง จนอาจถือได้ว่าเป็น “niche” ของมหาวิทยาลัย จึงควรส่งเสริมให้มีความโดดเด่นยิ่งขึ้นไปอีก                       อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าว ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมีคุณภาพที่เป็นเลิศ (excellence) เสมอ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยฯ อาจพิจารณา                   กำหนดสัดส่วนงานวิจัยเพื่อคุณภาพเป็นเลิศทางวิชาการ (excellence) กับงานวิจัยเพื่อ relevance เป็น 30:70 ตามแนวทางของ NRU นอกจากนี้
         มหาวิทยาลัยควรมีแนวทางให้คุณค่า (recognition) อย่างสมดุลระหว่างผลงานวิจัยที่เป็นเลิศทางวิชาการ กับผลงานวิจัยที่มีผลกระทบสูงในเชิง                         “relevance” ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มี Impact Factor สูงก็ได้

3.3 มหาวิทยาลัยฯ ควรจะมองนโยบาย NRU ของรัฐเป็นโอกาสในการที่จะยกระดับความสามารถด้านการวิจัยให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นแนวหน้าของ                   ประเทศ ทั้งในมุมของการจัดหาทรัพยากรการวิจัย การปรับปรุงคุณภาพและปริมาณของการพัฒนานักวิจัย การพัฒนาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ               ของงานวิจัย และการทำงานวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศษสตร์ของชาติและความต้องการของผู้ใช้ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากบทบาทการสนับสนุน                 การวิจัยที่เพิ่มขึ้นของภาคเอกชน

4. อนุมัติโครงการพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีและการจัดการให้กับบริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชา              เทคโนโลยีอุตสาหกรรม เริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2554 จำนวน 3 รุ่น (ปีการศึกษา 2554-2556)
5. อนุมัติการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ดังนี้

5.1 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2554
5.2 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ.2554
5.3 การเปิดรายวิชาเลือกเสรี จำนวน 2 วิชา และปรับปรุงรายวิชาเลือกเสรี จำนวน 1 วิชา ของคณะศิลปศาสตร์
เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2554

 3 มีนาคม 2554
พิธียกเสาเอกอาคารวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมกระบวนการชีวภาพ (Bioprocesse Research Innovation Building) โดยมี รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีเป็นประธาน โดยนิมนต์พระครูประพันธ์ เจ้าอาวาสวัดปทีปพลีผลมาประกอบพิธี

1 เมษายน 2554
รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็น
เลิศด้านเทคโน โลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้รับรางวัล PTIT Awards ประเภทที่ 2 PTIT Fellow ประจำาปี 2554-2555 โดยมี ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ นายกสภามหาวิทยาลัย รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี และ รศ.ดร.สุวิทย์ เตีย รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วยบุคลากรของ มจธ.เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว

28 เมษายน 2554
ดร.จญาดา บุณยเกียรติ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ และดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง อาจารย์ประจำคณะ วิศวกรรมศาสตร์ เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณในฐานะบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภค จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. งานวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย 2554

30 มิถุนายน 2554
พิธียกเสาเอกอาคารปฏิบัติการพื้นฐาน สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) โดยมี รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี, รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา            ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม และผู้บริหารของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมในพิธี

ตุลาคม – ธันวาคม 2554
มจธ.ได้เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยได้รับแรงใจและกำลังศรัทธาจากผู้มีจิตอาสาร่วมกันจัดทำสุขารักษ์สิ่งแวดล้อม ไม้ตรวจกระแสไฟฟ้ารั่ว         และผลิตน้ำาดื่ม RO เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัย ผลิตน้ำยากำจัดเชื้อโรคและเชื้อรา “ราอะเวย์” ร่วมให้ความช่วยเหลือตามสถานที่ที่ประสพอุทกภัย กำจัดเศษขยะและวัชพืชที่ขวางทางน้ำ ฯลฯ

ปี 2555

2 กุมภาพันธ์ 2555
รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2554 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย และรางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก รางวัลเชิดชูเกียรติให้แก่นักวิจัยที่มีผลงานวิจัยดีเด่น ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2555 ศ.ดร.พิเชษฐ์ ลิ้มสุวรรณ จากคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์ กายภาพและคณิตศาสตร์ ศ.ดร.สำเริง จักรใจ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีจากคณะวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน วิทยานิพนธ์ เรื่อง ทฤษฎีบทการลู่เข้าใหม่สำหรับปัญหาเชิงดุลยภาพและปัญหาจุดตรึง ดร.ชัยชนะ ใจบุญ วิทยานิพนธ์ เรื่อง ทฤษฎีบทการลู่เข้าสำหรับการส่งแบบไม่ขยายที่วางนัยทั่วไปในปริภูมิบานาคและการประยุกต์ ดร.เกรียงศักดิ์ วัฒนวิฑูร และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2555 รางวัลประกาศเกียรติคุณด้านสังคมศาสตร์ ผลงานเรื่อง ระบบพจนานุกรมภาษามือออนไลน์สำหรับผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินผลิตขึ้น โดยอาสาสมัคร นางสาวณัตตยา เอี่ยมคง และ รศ.ดร.สุรชัย สุขสกุลชัย จากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

 15 มีนาคม 2555
พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์นวัตกรรมการการเรียนรู้เพื่อการออกแบบและเทคโนโลยี (KX) โดยพระมหาราชครูพิธีวิสุทธิคุณ มาประกอบพิธี โดยมี รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย เข้าร่วมในพิธี

30 มีนาคม 2555
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัล Thailand Energy Awards 2001 มจธ. ได้รับรางวัลดีเด่น ด้านผู้ส่งเสริม    การอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทน ประเภทสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา โดยมี รศ.ดร.โสฬส สุวรรณยืน  รองอธิการบดี มจธ. บางขุนเทียน เข้ารับรางวัล ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

24 เมษายน 2555
ผู้บริหารและศิษย์เก่า ได้เชิญรูปหล่ออาจารย์ประภา ประจักษ์ศุภนิติ ผู้อำนวยการคนแรกของวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี มาตั้งไว้เป็นการชั่วคราว ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี

 4 พฤษภาคม 2555
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 8 พร้อมทั้งทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดยมี รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษามหาวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหาร สอวน. เฝ้ารับเสด็จ

12 กรกฎาคม 2555
ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ รับรางวัล บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2554 เข้ารับโล่เกียรติยศจาก  พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี

24 สิงหาคม 2555
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้มอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ในประเทศไทย (TWAS Prize for Young Scientists in Thailand) ให้แก่ ผศ.ดร.ภูมิ คำเอม อาจารย์จากภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ในงานการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo 2012) โดยนางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้มอบ

ปี 2556

6 มีนาคม 2556
พิธีเปิดศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (CES SOLAR CELLS TESTING CENTER หรือ CSSC) โดยนาย อำนวย ทองสถิตย์              อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นประธาน        ดร.ธีรยุทธ์ เจนวิทยา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบ         เซลล์แสงอาทิตย์ กล่าวรายงาน รศ.ดร.โสฬส สุวรรณยืน รองอธิการบดี มจธ.บางขุนเทียน พร้อมด้วย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษามหาวิทยาลัย      ร่วมในพิธีเปิด 

22 มีนาคม 2556
ศ.ดร.สำเริง จักรใจ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัล PTIT Awards ประเภทที่ 2 PTIT Fellow โดยมี พลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ประธานคณะกรรมการมูล นิธิเพื่อสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นประธานมอบรางวัล

 18 พฤษภาคม 2556
เปิดอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ต้นแบบอุทยานแห่งชาติพลังงานสะอาดเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยนายสมพงศ์ อรุณโรจน์ปัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธาน นายสมพงษ์ จีราระรื่นศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กล่าวรายงาน และ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการพร้อมทั้งร่วมกันเปิดการใช้งานระบบไฟฟ้าและน้ำอุ่น โครงการดังกล่าวมี ดร.อุสาห์ บุญบำรุง เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งได้จัดหาพลังงานไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั้งส่วนของอุทยาน ลดปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลในส่วนระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานและระบบสูบน้ำในปัจจุบัน โดยเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนร่วมกับการบริหารจัดการพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 25 กรกฎาคม 2556
แถลงข่าวเปิดตัว มจธ.ตัวแทนไทยในการแข่งขัน Solar Deca-thlon Europe 2014 โดยมี รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตนอธิการบดี กล่าวต้อนรับสื่อมวลชน   และกล่าวถึงภารกิจของมหาวิทยาลัย การเสวนา อนาคตบ้านไทย ฉลาดใช้พลังงานยั่งยืน โดย รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ดร.วีรพันธุ์ ชินวัตร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตรc์การออกแบบ และ ดร.อัจฉราวรรณ จุฑารัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ดำเนินการโดย         คุณสุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล และเปิดตัวทีม KMUTT TEAM กับแนวคิด Adaptive House การออกแบบและก่อสร้างบ้านฉลาดใช้พลังงานอย่างยั่งยืน

8 สิงหาคม 2556
เปิดศูนย์บริการนักศึกษา Student Service Hub ศูนย์ที่ให้บริการที่รวบรวมบริการพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักศึกษามารวมไว้ในที่เดียว โดยมีขอบเขตการให้บริการ ได้แก่ การขอเอกสารทางการศึกษา การให้บริการข้อมูลทั่วไป เช่น หลักสูตรที่เปิดสอน กิจกรรมนักศึกษา หอพักนักศึกษา ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ การให้คำปรึกษา แนะนำเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนหลักสูตร การลงทะเบียน ข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบ แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง โดยมีระบบการทำงานครอบคลุมภารกิจของหน่วยงานต่างๆ

 18 กันยายน 2556
รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี รับรางวัล
Thailand Energy Awards 2013 ด้านบุคลากร
ประเภทผู้บริหารอาคารควบคุม ณ ตึกสันติไมตรี

ปี 2557

31 มกราคม 2557
พิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์ อาจารย์ประภา ประจักษ์ศุภนิติ ผู้อำนวยการท่านแรกของวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี

4 กุมภาพันธ์ 2557
พิธีเปิดอนุสาวรีย์อาจารย์ประภา ประจักษ์ศุภนิติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ท่านแรก อาจารย์ประภา ประจักษ์ศุภนิติ มีความมุ่งมั่น ทุ่มเทแรงกาย สติปัญญาในการสร้างรากฐานทางการศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เป็นแหล่งผลิตครูช่างเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การอาชีวศึกษาของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพวิศวกรรม อาจารย์คืออิฐก้อนแรก เป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

24 มีนาคม 2557
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเป็นองค์ประธานเปิดอาคารโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ และทอดพระเนตรนิทรรศการการพัฒนายาชีววัตถุ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน ในการนี้ ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ นายกสภามหาวิทยาลัย รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี พร้อมผู้บริหารมหาวิทยาลัยเฝ้าฯ รับเสด็จ อาคารโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของประเทศในการรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน ยา ฮอร์โมนและสารมูลค่าสูงทางการแพทย์ขึ้นใช้เองในประเทศ

25 เมษายน 2557
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือกับมูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตร- กรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิฯ และ รศ.ดร.ศักรินทร์   ภูมิรัตน อธิการบดี ร่วมลงนาม

23 มิถุนายน 2557
พิธีมอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2556 และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2557 ศ.ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล จากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ผศ.ดร.สิริพร โรจนนันต์ และ ผศ.ดร.สุรศิษฐ์ โรจนนันต์ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2557 ด้านวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย รางวัลระดับดีเด่น ผลงานเรื่อง เตาอาร์กอนอาร์ค สำหรับหลอมโลหะผสมอุณหภูมิสูง และ ดร.สุรณัฐ พงษ์หาญพจน์ รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2556 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา เรื่อง “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและหน้าที่ของยีน pks3 ซึ่งมีโครงสร้างแบบลูกผสมระหว่างยีน PKS และ NRPS  จากรา Xylaria sp. BCC 1067” โดยมี ดร.เกษรา วามะศิริ ที่ปรึกษาอาวุโสอธิการบดี และ ผศ.สุภาณี เลิศไตรรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล ได้เข้าร่วมงานและแสดงความยินดี

ปี 2558

2 เมษายน 2558
นิทรรศการฉลองครบรอบ 55 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัย และจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสครบรอบ 60 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเผยแพร่ผลงานของ มจธ.ด้านวิชาการ งานวิจัย การให้บริการวิชาการ งานบริการชุมชนและสังคม ที่เกี่ยวข้องกับงานโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และการเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระภารกิจ ณ มหาวิทยาลัย ตลอดระยะเวลา 55 ปีที่ผ่านมา โดยมีรศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี กล่าวรายงาน ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ นายกสภามหาวิทยาลัย กล่าวถวายพระพร และ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน และร่วมเปิดงานพร้อม ด้วยคุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.สุรเชษฐ์ ชุติมา นายกสมาคมนักศึกษาเก่ามจธ. ณ อาคารปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ชั้น 1 (Science Learning Space)

2 กันยายน 2558
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ) และบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ในนามศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ได้ร่วมลงนามความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย และบริษัท โดย รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ พญ.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ ร่วมลงนามความร่วมมือดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือสนับสนุนการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะการพัฒนากระบวนการผลิตด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความร่วมมือระหว่าง มจธ. และ บริษัท เพื่อส่งเสริมการพัฒนา แลกเปลี่ยนบุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือการดำเนินธุรกิจของบริษัทและต่อการศึกษา

ปี 2559

6 มกราคม 2559
ศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ จากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลวุฒิเมธีวิจัย สกว.ดีเด่น 2015 TRF-Thomson Reuters-OHEC Research Excellence Awards เรื่อง “การพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีอุตสาหกรรมพลังงานและเคมีชีวภาพแบบบูรณาการในการแปรสภาพวัสดุชีวมวลทางการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มเพื่อต่อยอดสู่ระดับอุตสาหกรรม” โดยมี รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิจัยนวัตกรรม ร่วมแสดงความยินดี

2 กุมภาพันธ์ 2559
ศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี ศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์
เรื่อง การศึกษาเชิงนโยบายและพฤติกรรมนำร่องเชิง พื้นที่ สำหรับความช่วยเหลือเกษตรกรหลังน้ำท่วม โดยใช้ตัวแบบคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการประเมินความเสีย-หายของพืชผล รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย รางวัลประกาศเกียรติคุณ ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ และคณะ เรื่อง อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อขดแบบสปริงติดครีบเกลียว และ ผศ.ดร.สิริพร โรจนนันต์ และคณะ เรื่อง เครื่องเจียรนัยพลอยมุมเหลี่ยมอัตโนมัติควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีมาก ดร.ชาญ ลออวรเกียรติ เรื่อง การศึกษาพลศาสตร์แม่เหล็กอย่างจำเพาะต่อธาตุด้วยแหล่งกำเนิดแสงขนาดตั้งโต๊ะ และ ดร.เอกชัย เป็งวัง เรื่อง การออกแบบ การผลิต และการศึกษาลักษณะเฉพาะ ของเซลเชื้อเพลิงขนาดเล็กและระบบการแยกคอลลอยด์ขนาดนาโนเมตร 

24 กุมภาพันธ์ 2559
พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารหอพักห้องเรียนวิศว์-วิทย์ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางขุนเทียน ภายใต้แนวคิดการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly) ประหยัดพลังงาน (Energy Conservation) และการใช้ประโยชน์สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวให้เกิดประโยชน์ โดยมี รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มจธ.เป็นประธาน

26 กุมภาพันธ์ 2559
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินยังอาคารเคเอกซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รศ.ดร.ศักรินทร์          ภูมิรัตน อธิการบดี และผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เฝ้าฯ รับเสด็จ ทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้าย อาคารเคเอกซ์ จากนั้น ทรงเป็นประธานเปิดการประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ 7 ซึ่งพระองค์ทรงเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์

19 ตุลาคม 2559
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยการนำของ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี ได้ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สัตตมวาร (7 วัน) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยได้นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป จากวัดพุทธบูชา มาสวดพระพุทธมนต์ สดับปกรณ์ พร้อมทั้งถวายเครื่องไทยธรรมและถวายภัตตาหารเช้า โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา เข้าร่วมในพิธี

6 ธันวาคม 2559
รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เข้ารับรางวัลดีเด่น ด้านพลังงานทดแทน จากโครงการระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานชนิดเคลื่อนย้ายได้ ประเภทโครงการที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) ของสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบมจธ. ในการประกวด Thailand Energy Awards 2016 จัดโดย กระทรวงพลังงาน ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานชนิดเคลื่อนย้ายได้ ประเภทโครงการที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) มีจุดเด่นคือ สามารถขยายระบบเพิ่มเติมได้ ขนส่งสะดวก ติดตั้งใช้งานได้ภายในวันเดียว มีกำลังการผลิตรวม 39 กิโลวัตต์ ประกอบด้วย โซล่าเซลล์ 5.76 กิโลวัตต์ กังหันลม 1 กิโลวัตต์ และเครื่องยนต์ดีเซล 26 กิโลวัตต์ รวมถึงแบตเตอรี่ และอินเวอร์เตอร์ ควบคุมการทำงานแบบร่วมกระแสสลับและร่วมกระแสตรง

ปี 2560

11 มกราคม 2560
รางวัล 2017 TRF-OHEC-Clarivate Analytics Researcher Excellence Awards และ 2017 TRF- OHEC – SCOPUS Researcher Awards ซึ่งอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัล 2017 TRF – OHEC – SCOPUS Young Researcher Awards 2 ท่าน คือ ดร.ปริปก พิศสุวรรณ จากสายวิชาเทคโนโลยีชีวเคมี คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ผลงาน การปรับสภาพชีวมวลด้วยวิธีการใช้ด่างอย่างง่าย เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทางเลือก และประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ และ ผศ.ดร.วิทูร อุทัยแสงสุข จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากผลงานวิจัย เรื่อง เหล็กกล้าความแข็งแรงสูงพิเศษสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมี รศ.ดร.วนิดา พวกุล ที่ปรึกษาอธิการบดี ร่วมแสดงความยินดี

 19 มกราคม 2560
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้จัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ    โดยได้เชิญพระมหาราชครูพิธีวิสุทธิคุณ มาประกอบพิธีเพื่อความเป็นศิริมงคล โดยมีรศ.ดร.ศักรินทร์     ภูมิรัตน อธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย บุคลากร ศิษย์เก่า เข้าร่วมในพิธี อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ เป็นอาคารสูง 15 ชั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ในตนเองของผู้ใช้อาคารและสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ โดยอาคารแห่งใหม่นี้จะเป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่ทันสมัย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งอาคาร ถูกออกแบบให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน Roof Top เป็นห้องปฏิบัติการทางด้านพลังงาน พื้นที่อาคารประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก Active Learning Space พื้นที่สำหรับกระตุ้นการเรียนรู้ การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน Student Common Space พื้นที่รวมเสมือนสนามแห่งการเรียนรู้ และ Learning Support Space เป็น Data Center ของมหาวิทยาลัยเป็นเสมือนสมองกลของมหาวิทยาลัย

2 กุมภาพันธ์ 2560
งาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2560 และงานมหกรรมสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ และมอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2559 รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2560 และรางวัล TWAS Prize for Young Scientists in Thailand ซึ่งในงาน มีอาจารย์ มจธ. 4 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.เขมฤทัย ถามะพัฒน์ ผลงานประดิษฐ์ “นวัตกรรมเครื่องตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงสำหรับการพิสูจน์หลักฐานอาชญากรรม”รางวัลวิทยานิพนธ์ 3 เรื่อง ได้แก่ ดร.ทัศนีย์วรรณ ลักษณะโสภิณ รางวัลดีเด่น “การพัฒนาเทคโนโลยีระบบของไหลจุลภาคสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคในพื้นที่ทุรกันดาร” ดร.มาริษา ไร่ทะ รางวัลระดับดีมาก เรื่อง “กระบวน การผลิตไบโอดีเซลและเอทานอลจากผลิตภัณฑ์ปาล์มโดยใช้ปฎิกิริยาเร่งทางชีวภาพ” และ ดร.พรลดา ดาวรัตนชัย รางวัลระดับดี จากเรื่อง “การเปลี่ยนวัสดุชีวมวลประเภทลิกโนเซลลูโลสเป็นสารประกอบฟิวแรนผ่านกระบวนการไฮโดรไลซิส/ดีไฮเดรชั่นโดยใช้ตัวเร่งปฎิกิริยา” 

ปี 2561

14 สิงหาคม 2561
โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ สำนักอุทยานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดพิธีลงนามความร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขในการบูรณาการความเชี่ยวชาญของทั้งสององค์กรพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและควบคุมคุณภาพวัคซีนที่
ได้มาตรฐานระดับสากลขึ้นใช้เองในประเทศ โดยมี รศ.ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มจธ. กล่าวให้การต้อนรับรศ.ดร.โสฬส สุวรรณยืน รองอธิการบดี มจธ. บางขุนเทียน กล่าวถึงความร่วมมือ ดร.พนิต กิจสุบรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายโรงงาน กล่าวถึงภาพรวมโครงการ “การพัฒนาศักยภาพการตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ชีววัตถุเพื่อการรักษาและการทดสอบประสิทธิภาพในสัตว์ทดลอง” และ “โครงการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตและการทำบริสุทธิ์ นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวแสดงความยินดีในความร่วมมือ พร้อมทั้งร่วมลงนาม 

ปี 2562

 28 มีนาคม 2562
โครงการรางวัลอาจารย์ต้นแบบด้านการสอน พ.ศ. 2562 จัดโดยสมาคมเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ประกาศยกย่องและมอบรางวัลอาจารย์ต้นแบบด้านการสอนแก่ ผศ.ดร.ปริญญา เสงี่ยมสุนทร        ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ มจธ. ที่มีนโยบายส่งเสริมอาจารย์ต้นแบบด้านการสอน โดยมี รศ.ดร.บัณฑิต ทิพากร รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการ รับโล่รางวัล

 19 กันยายน 2562
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดแถลงข่าวเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี แห่งการก่อตั้งมจธ. ภายใต้แนวคิด “สังคมปริวรรต พิพัฒน์อนาคต” Transforming society. Defining the future. โดยมี รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ รศ.ดร.เชาวลิต ลิ้มมณีวิจิตร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา กล่าวเกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษาและ ผศ.สุเมธ อังคะศิริกุล รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล กล่าวถึงกิจกรรมในหนึ่งปีแห่งการขับเคลื่อนสังคม

22 ธันวาคม 2562
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6/2562 และ การประชุมสามัญสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำประ เทศไทย (สออ.ประเทศไทย) ครั้งที่ 3/2562 โดยมี รศ.ดร.สุวิทย์  แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. และคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ และ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เป็นประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และที่ประชุมร่วมหารือโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาภายใต้ความร่วมมือของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศอินโดนีเซีย และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย 

ปี 2563

16 มกราคม 2563
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2563 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา    นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในงาน วันครู ณ หอประชุมคุรุสภา

2 กุมภาพันธ์ 2563
รางวัลวิจัยแห่งชาติ: รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปีงบประมาณ 2563 บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เข้ารับรางวัล 5 รางวัล คือ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะจากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ผลงาน ขดลวดค้ำยันชนิดดีงกลับจากวัสดุฉลาดสำหรับรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันชนิดเฉียบพลัน และรางวัลประกาศเกียรติคุณ ผลงาน แผ่นดามกระดูกและสกรูประสิทธิภาพสูงด้วยกระบวนการ Fine Shot Peening รางวัลประกาศเกียรติคุณ ผศ.ดร.นพพร รุจิสัมพันธ์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานระบบวัดแยกประจุพื้นผิววัสดุระดับโมโนเลเยอร์สำหรับงานวิจัยโฟโตแคทตะไลติกและโซล่าเซลล์ รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีมากสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ วิทยานิพนธ์ เรื่อง การออกแบบจำลองเชิงตัวเลขเพื่อศึกษาพฤติกรรมทางความร้อนและคุณสมบัติทางกลของชิ้นส่วนโลหะที่หลอมขึ้นรูปด้วยแสงเลเซอร์ และรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ดร.ปาริชาต นฤพนธ์จิรกุล วิทยานิพนธ์ เรื่อง อนุภาคนาโนชนิดแก้วไบโอแอคทีฟที่เติมด้วยสตรอนเทียม ในการนี้ รศ.ดร.วนิดา พวกุล ที่ปรึกษาอธิการบดี ได้เข้าร่วมงานและร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัลในครั้งนี้ด้วย

 4 กุมภาพันธ์ 2563
วันคล้ายวันก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ครบรอบ 60 ปี มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลอง ช่วงเช้ากิจกรรมเดิน/วิ่ง เพื่อสุขภาพ “60 นาที เพื่อ 60 ปี มจธ.” ตามด้วยพิธีตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง พิธีบวงสรวงพระอริยพรหมและพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 4 พิธีสักการะอนุสาวรีย์อาจารย์ประภา ประจักษ์ศุภนิติ ผู้อำานวยการท่านแรก และถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ โดยมีผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษาเก่า และนักศึกษาปัจจุบัน เข้าร่วมงานจำนวนมาก