วิวัฒนาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เรียบเรียงจากจดหมายเหตุของอาจารย์เอมอร ศรีนิลทา

cover65y

พลังแห่งการเสียสละ

ช่วงที่ 1 : วิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี (พ.ศ. 2503-2513)

เติบโตด้วยกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิด และกำลังทรัพย์ พัฒนาโดยเหล่าคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา

เหตุการณ์ก่อนปี 2503

ม.ล.ปิ่น มาลากุล
อาจารย์สนั่น สุมิตร

ปี 2500

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฯพณฯ ม.ล.ปิ่น มาลากุล และอาจารย์สนั่น สุมิตร อธิบดีกรมอาชีวศึกษาได้ร่วมปรึกษาการผลิตผู้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างวิศวกรและ Skill Labours โดยมีนโยบายรับนักเรียนจบชั้นมัธยม 3 เรียนต่อวิชาช่างอุตสาหกรรม 3 ปี ได้วุฒิ ปว.ช. แล้วออกทำงานหรือศึกษาต่อในวิทยาลัยเทคนิคอีก 3 ปี ได้วุฒิ ปว.ส.

ปี 2501

อธิบดีสนั่น สุมิตร สำรวจหาที่ตั้งวิทยาลัยแห่งใหม่ พบที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ณ ตำบลบางมด อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการขอเช่าไว้ 32 ไร่ เพื่อตั้งโรงเรียนพาณิชยการ ธนบุรี และได้ดำเนินการปลูกสร้างอาคารเรียนไม้สองชั้นแบบมาตรฐาน 14 ห้องเรียน เสร็จเรียบร้อย ตั้งแต่ พ.ศ. 2501 พร้อมทั้งบ้านพักครูใหญ่ และโรงอาหาร อีกครึ่งหลัง ได้ถูกทิ้งว่างไว้ แม้จะยังไม่มีถนน ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์ ก็ยังมีอาคารพร้อมที่จะให้ใช้ได้ทันทีจึงเสนอสถานที่นี้เป็นที่ตั้งวิทยาลัยแห่งใหม่ ให้ชื่อว่า “ วิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ”

ปี 2503

4 กุมภาพันธ์ 2503

– กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา รับผู้จบเตรียมอุดมศึกษา สายวิทยาศาสตร์ ศึกษาต่อ 3 ปี ได้วุฒิ ปว.ส. นับเป็นวิทยาลัยเทคนิค แห่งแรกในประเทศไทย ที่รับผลิตช่างเทคนิคจากผู้จบชั้นสูงสุดสายสามัญ

– กรมอาชีวศึกษาแต่งตั้ง นายประภา ประจักษ์ศุภนิติ อาจารย์เอก หัวหน้าฝ่ายวิชาช่างก่อสร้าง คณะวิชาเทคนิค จากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี พร้อมทั้งอนุมัติให้อาจารย์จากวิทยาลัยเดียวกันมาร่วมงาน อีก ๖ ท่าน คือ นายสมพงษ์ ปัญญาสุข นางสาวอุบล จันทกมล นายอุทัย แก้วช่วง นายสุธรรม ทวิชศรี นายทนง รุ่งโรจน์ดี และนายอิทธิศักดิ์ ทองคำ วันที่อาจารย์ทั้ง 7 ท่าน มาทำพิธีเปิดวิทยาลัยฯ ได้อาศัยยานพาหนะคู่อาชีพคือ เรือจ้าง ผู้อำนวยการ ได้พยายามขอร้อง นายอดิเรก ศรีศุภผล นายอำเภอราษฎร์บูรณะ ในขณะนั้นให้ช่วยเร่งรัดการตัดถนนเข้าสู่วิทยาลัยฯ ให้เสร็จทันเปิดภาคเรียน

เมษายน 2503

วิทยาลัยฯ เปิดรับสมัครและสอบคัดเลือกนักศึกษารุ่นแรก ระหว่างวันที่ 1-8 เมษายน โดยเปิดรับสมัคร ณ วิทยาลัยเทคนิค กรุงเทพฯ นอกจากติดประกาศโฆษณาเป็นหนังสือราชการแล้ว วิทยาลัยฯ ยังได้เสนอกรมฯ ให้ออกประกาศระเบียบการต่างๆ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุศึกษา เพื่อให้ผู้สนใจ เข้าศึกษาในวิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ได้ทราบโดยทั่วถึงยิ่งขึ้น มีผู้สมัคร 619 ราย เป็นชาย 609 หญิง 10 มาเข้าสอบ 587 สอบได้ 300 สำรอง 60 คน ในจำนวนผู้สอบได้มีผู้มารายงานตัวและขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาเพียง 122 คน

17 พฤษภาคม 2503

– วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เปิดภาคเรียนปีการศึกษาแรก

– นายสมพงษ์ ปัญญาสุข ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ มีบุคลากรในตำแหน่งอาจารย์และครู รวม 29 คน (นับถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2504) นักการภารโรง 4 คน

– นายระพี พฤกษะวัน หัวหน้าชั้นห้อง ก ได้รับเลือกเป็นประธานสภานักศึกษาคนแรก

อาจารย์สมพงษ์ ปัญญาสุข

วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้เข้าร่วมพัฒนาการท้องถิ่นในถนนประชาอุทิศ ที่หลักกิโลเมตรที่ 9 จากถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลราษฎร์บูรณะไปถึงโรงเรียนวิทยาลัยเทคนิคธนบุรีที่สร้างใหม่ โดยลงหินลูกรัง เป็นระยะทางยาวประมาณ 2,320 เมตร

10 มิถุนายน 2503

วิทยาลัยฯ ยืด กำหนดเวลามอบตัวออกไปถึง 10 มิถุนายน มีนักศึกษามามอบตัวเพิ่มขึ้นเป็น 168 คน วิทยาลัยฯ จึงขอยืดเวลาออกไปอีก 1 สัปดาห์ มีนักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 219 คน และมีการลาออกบ้าง วิทยาลัยฯ จึงประกาศสอบคัดเลือกครั้งที่ 2 เพื่อให้ได้นักศึกษาเต็มจำนวนที่จะรับได้ ปรากฏว่ามีผู้สมัคร 142 คน เข้าสอบ 138 สอบได้ 95 มาขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา 90 คน เมื่อเริ่มดำเนินการสอนเป็นปรกติ นักศึกษารุ่นแรกประกอบด้วยผู้สอบคัดเลือกได้ 299 คน เป็นนักศึกษาหญิง 1 คน คือ น.ส.สุนันทา ป้อมเอี่ยม นักศึกษาฝากเรียนจากกรมอาชีวศึกษา 1 คน และนักศึกษาพ้นสภาพจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 คน รวมทั้งสิ้น 304 คน

การจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยฯ แบ่งนักศึกษาออกเป็น 6 ห้อง ใช้หลักสูตรรวมแบบอุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial Arts) ปีแรกให้เรียนเหมือนกันทุกวิชา ได้แก่ วิชาช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ ช่างโลหะ และเขียนแบบ เฉลี่ยเวลาเรียนตลอดปีออกเป็น 5 ส่วนเท่าๆ กัน คิดเป็น 160 ชั่วโมงต่อวิชา รวม 5 วิชานี้เป็นเวลา 800 ชั่วโมง ส่วนเวลาที่เหลืออีก 400 ชั่วโมงนั้น ได้จัดให้ศึกษาวิชาสามัญ และสัมพันธ์กับการช่างอีก 6 วิชา คือ ภาษาอังกฤษ จิตวิทยา คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิคส์ และเศรษฐศาสตร์ การเรียนแบ่งออกเป็น 3 เทอม เริ่มเรียน 9.00 น. เลิกเรียน 16.00 น.

อาคารไม้ถูกใช้เป็นอาคารเอนกประสงค์คือห้องเรียน ห้องทำงานอาจารย์ ห้องเก็บครุภัณฑ์ ห้องเขียนแบบ และห้องฝึกงานชั่วคราว ฯลฯ

โรงอาหารก็ใช้เป็นห้องปฏิบัติงานด้วย การฝึกงานภาคปฏิบัตินั้น นอกจากจะปฏิบัติในห้องฝึกงานแล้ว นักศึกษายังต้องปฏิบัตินอกห้องด้วย

เริ่มตั้งแต่ช่วยพัฒนาการถนนประชาอุทิศ และบูรณะสะพานไม้ตามคำเชิญ ของนายอำเภอราษฎร์บูรณะ ทำถนนภายในวิทยาลัย, ต่อเติมและสร้างบ้านพักอาจารย์, เดินสายไฟ, สร้างครุภัณฑ์บางอย่าง, ปรับพื้นที่ทำสนามกีฬาชั่วคราว, พัฒนาวัดสารอด, ฯลฯ เป็นต้น นับว่าเป็นประสบการณ์ในการศึกษาภาคปฏิบัติที่อำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่นในระยะบุกเบิก

24 มิถุนายน 2503          อนุมัติสร้างโรงอาหารชั่วคราวของวิทยาลัย เนื้อที่ 144 ตารางเมตร

7 กรกฎาคม 2503          จัดงานไหว้ครู พิธีไหว้ครูครั้งแรก

สิงหาคม 2503                 อนุมัติให้ติดตั้งโทรศัพท์ประจำวิทยาลัยเทคนิคธนบุรีเป็นครั้งแรก

12 กันยายน 2503

อธิบดีสนั่น สุมิตร ได้นำ Mr. Stanley Nelson ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคของ UNESCO ได้มาสำรวจภาวการณ์ของวิทยาลัยฯ ระหว่างวันที่ 12-15 กันยายน 2503 และได้แนะนำให้วิทยาลัยฯ จัดทำหลักสูตรใหม่ โดยให้แยกเรียนเป็นสาขาๆ ไปตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 และได้ช่วยวิทยาลัยทำเรื่องราวขอความช่วยเหลือ (Request for Special Fund) ตามระเบียบขององค์การสหประชาชาติด้วย การก่อสร้าง ซ่อมแซม บูรณะ ตกแต่ง และปรับปรุงอาคารสถานที่ภายในบริเวณวิทยาลัยที่ดำเนินการในปีแรกนี้ ได้แก่

1. สร้างโรงฝึกงานช่างยนต์และช่างโลหะ บ้านพักครูห้องน้ำ ห้องส้วม 1.910.000 บาท
2. ต่อท่อประปา เข้าสู่บริเวณวิทยาลัยฯ และอาคารต่างๆ 14,865.80 บาท
3. สร้างรั้วกั้นอาณาเขตบริเวณวิทยาลัยฯ ยาวประมาณ 1,360 เมตร 40,786 บาท
4. สร้างโรงอาหารชั่วคราว 2,880 บาท
5. ซื้อดินลูกรังและหินผุทำถนนในบริเวณวิทยาลัยฯ 18,155 บาท
6. ปรับปรุงบ้านพักผู้อำนวยการ 5,440 บาท
7. ติดตั้งสายไฟฟ้าภายในบริเวณวิทยาลัยฯ 4,960 บาท
8. ทำลานคอนกรีตและทางเท้าเชื่อมอาคารเรียนกับโรงอาหาร 32,000 บาท

การคมนาคม และการขนส่งเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งที่กระทบกระเทือนความก้าวหน้า และความสำเร็จของงานตามที่ได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ ถนนประชาอุทิศเป็นถนนดินเหนียว รถประจำทางก็ยังไม่มีวิทยาลัยฯ ได้ติดต่อบริษัทธนนครขนส่ง จำกัด ให้ช่วยจัดรถรับส่งเฉพาะเช้าและเย็นระหว่างเปิดเรียน พอถึงฤดูฝนถนนชำรุดทรุดโทรมมาก รถเข้าไม่ได้ทั้งอาจารย์ และนักศึกษาก็ต้องเดิน จะอาศัยเรือจ้างได้บ้างเฉพาะเวลาน้ำขึ้นแต่เสียเวลาเดินทางมากขอร้องทางจังหวัดธนบุรีให้ทำถนนให้วิทยาลัยฯ ก็ต้องออกเงินซื้อดินลูกรังมาทำถนนในปีการศึกษาแรกนี้เป็นเงิน 114,150 บาท และยังต้องลงแรงช่วยกันทำถนนอีกด้วย สภาพถนนเช่นนี้เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการเดินทางของนักศึกษาและอาจารย์ ตลอดจนการขนส่งวัสดุและอุปกรณ์การสร้าง รวมทั้งวัสดุฝึกหัดที่จัดซื้อมาเพื่อการศึกษา

พฤศจิกายน 2503                วิทยาลัยได้รับการอนุเคราะห์รถยนต์พลีมัท (ชำรุด) 1 คัน จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์มาเป็นอุปกรณ์การสอน

เกี่ยวกับเครื่องยนต์ในหลักสูตรการสอนวิชาช่างเครื่องยนต์

ฟุตบอลเป็นกีฬาชนิดแรกที่ส่งแข่งขัน

วิทยาลัยตั้งไม่ถึงปี ต้องส่งนักศึกษาแข่งกีฬา คือฟุตบอล คัดเลือกได้ผู้เล่นครบทีม จำนวนจำกัด

แถวนั่ง มนูญ จันทร์ประดับ ณัฐ พริ้งทองฟู ทวี บัวรอด องอาจ หลำอุบล ยศ นิ่มสมบุญ

แถวยืน สวัสดิ์ หงส์ลดารมภ์ เกียรติ์ชัย บูรณปัทม สมนึก นคราวงษ์ ธีระ จิตต์บางเหลือ
อาจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา ฉมาพล ปรปักษ์ขาม อุดม โล่งาม

ปี 2504

 4 กุมภาพันธ์ 2504          ดำเนินงานมาครบรอบ 1 ปี ร่วมกันถ่ายภาพหมู่หน้าอาคาร

แถวหน้า เรือตรีหญิงสุจิตรา พึ่งวุฒิ, อาจารย์สุดเฉลียว ตันไพโรจน์, อาจารย์ศรีสวัสดิ์ มีนะวนิช, อาจารย์ประภา ประจักษ์ศุภนิติ, อาจารย์อุบล จันทกมล, อาจารย์เฟื่องศิลป์ ศรายุทธพิทักษ์ และ อาจารย์จันทนา วัฏฏะสิงห์
แถวกลาง อาจารย์สุธรรม ทวิชศรี, อาจารย์อุทัย แก้วช่วง, อาจารย์สมศักดิ์ อินทรกำาแหง ณ ราชสีมา, อาจารย์ประดวน พัฒโชติ, อาจารย์จำนงค์ จันทกาญจน์, อาจารย์สมพงษ์ ปัญญาสุข, อาจารย์อิทธิศักดิ์ ทองคำ, อาจารย์เวชสิทธิ์ กุลแก้ว, อาจารย์สุจินต์ มาประจง, อาจารย์โสภณ    สุวรรณาคินทร์, อาจารย์สมัคร จรูญพันธ์, อาจารย์ทนง รุ่งโรจน์ดี, อาจารย์ประสาธน์ กล้าหาญ
แถวหลัง อาจารย์ไพศาลห์ ลีละเมียร, อาจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา, อาจารย์เจริญ วัฎะฎสิงห์, อาจารย์พิภพ สุนทรสมัย และอาจารย์สุรพงษ์ วาตะบุตร

4 มีนาคม 2504             ได้รับอนุมัติให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลพระประแดงการช่างขุดบ่อน้ำบาดาล

10 เมษายน 2505         ได้รับอนุมัติก่อสร้างประตูทางเข้าและซุ้มยาม

พฤษภาคม 2504

กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ใช้หลักสูตรใหม่ แบ่งออกเป็น 4 ฝ่ายวิชา ได้แก่ ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ และช่างโลหะ แยกกันเรียนตามสาขาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ศึกษาครบตามหลักสูตร 3 ปี จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขานั้นๆ สำหรับนักศึกษาเก่า วิทยาลัยฯ ได้ให้ยื่นความจำนงเลือกสาขาที่จะเรียนและวิทยาลัยฯ พิจารณาคะแนนรายวิชาประกอบด้วย

วิทยาลัย ประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ประจำปี 2504 ยังคงปฏิบัติเหมือนปีแรก แต่ย้ายสถานที่รับสมัครและสอบคัดเลือกไปที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย มีผู้สมัครเป็นชาย 546 หญิง 14 สอบได้ 219 สำรอง 29 มารายงานตัวเพียง 149 คน วิทยาลัยฯ ยืดเวลารายงานตัวออกไปและเรียกตัวสำรองมาด้วย ได้นักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 190 คน วิทยาลัยฯ จึงประกาศรับเพิ่มเติมจากผู้ที่เข้าสอบคัดเลือกโดยถือตามคะแนนรองๆ ลงไป ได้นักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 208 คน เปิดโอกาสให้มอบตัวซ่อมอีก 1 วัน จึงได้นักศึกษารวม 213 คน เมื่อรวมกับนักศึกษาเก่าที่ตกค้าง และยังสมัครใจเรียนต่ออีก 76 คน จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จึงเป็น 289 คน ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ยังสมัครใจเรียนต่อเหลือเพียง 158 คน

ปี 2505

มกราคม 2505

– ท่านอธิบดีสนั่น สุมิตร ย้ายไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิสามัญศึกษา อาจารย์พงศ์ศักดิ์ วรสุนทรโรสถ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเป็นอธิบดีกรมอาชีวศึกษาแทน

– วิทยาลัยเริ่มใช้วิธีสอบคัดเลือกรวมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยมีสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการ

– ส่วนโครงการขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่ท่านอธิบดีสนั่น ได้ริเริ่มไว้ ใกล้จะสัมฤทธิผลแล้ว วิทยาลัยฯ ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานช่างก่อสร้าง และต่อเติมโรงฝึกงานช่างโลหะ

4 กุมภาพันธ์ 2505          ครบรอบ 2 ปี ถ่ายภาพร่วมกันในวันสถาปนาวิทยาลัย

แถวนั่ง อาจารย์สมัคร จรูญพันธ์, อาจารย์ศรีสวัสดิ์ มีนะวณิชย์, อาจารย์สุดเฉลียว ตันไพโรจน์, อาจารย์เฟื่องศิลป์ ศรายุทธพิทักษ์, อาจารย์อุบล จันทกมล, อาจารย์สมพงษ์ ปัญญาสุข, อาจารย์ประภา ประจักษ์ศุภนิติ, อาจารย์ประสาธน์ กล้าหาญ, อาจารย์พัฒนา เห็นแสงหงส์, อาจารย์จันทนา วัฏฏะสิงห์, อาจารย์เอมอร กกกำแหง, เรือตรีหญิงสุจิตรา พึ่งวุฒิ, Operator ไม่รู้จักชื่อ และอาจารย์สุนทร สกุลโพน
แถวกลาง อาจารย์อุทัย แก้วช่วง, อาจารย์สุรเทพ อภัยจิตร, อาจารย์อิทธิศักดิ์ ทองคำ, อาจารย์สมศักดิ์ อินทรกำาแหง ณ ราชสีมา, อาจารย์เจริญ วัฏฏะสิงห์, อาจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา, อาจารย์สุนทร ศรีนิลทา, อาจารย์จักรพันธ์ จุลละเกศ, อาจารย์ภิภพ สุนทรสมัย, อาจารย์เชิดเชลง ชิตชวนกิจ, อาจารย์เวชสิทธิ์ กุลแก้ว, อาจารย์สิษฐ์ษราวุฑฒิ์ พูนทวี และอาจารย์โสภณ สุวรรณาคินทร
แถวหลัง อาจารย์สุธรรม ธวิชศรี, อาจารย์อุทัย เผ่าภู่ อาจารย์พล พูลฬส, อาจารย์ประดวน พัฒน์โชติ, อาจารย์ชูศักดิ์ เปลี่ยนภู่, อาจารย์ประยูร สาชาติ, อาจารย์สุรพงษ์ วาตะบุตร, อาจารย์เจตน์ ไชยาคำ, อาจารย์จำนงค์ จันทกาญจน์, อาจารย์สุริยะ บุญส่ง, อาจารย์ไพศาลห์ ลีละเมียร, อาจารย์สุจินต์ มาประจง, อาจารย์สมศักดิ์ จวงสวัสดิ์ และอาจารย์ทนง รุ่งโรจน์ดี

ฤดูฝน 2505

ฝนตกหนักกว่าปีก่อนๆ ถนนสายเดียวที่จำเป็นต้องใช้ ยิ่งทรุดโทรมมากขึ้นจนยวดยานสัญจรไม่ได้ นักศึกษา อาจารย์ ต้องเดินย่ำโคลนเข้าออกเป็นระยะทางวันละไม่น้อยกว่า 5 ก.ม. จึงขาดเรียนเป็นจำนวนมาก จากสถิติที่บันทึกไว้ปรากฏว่า

25   กันยายน     ขาดเรียน      117      คน
26   กันยายน     ขาดเรียน      106      คน
27   กันยายน     ขาดเรียน        48       คน
28   กันยายน     ขาดเรียน        34       คน
29   กันยายน     ขาดเรียน        32       คน
3      ตุลาคม        ขาดเรียน        56      คน
4      ตุลาคม        ขาดเรียน        57      คน
5      ตุลาคม        ขาดเรียน        95      คน
6      ตุลาคม        ขาดเรียน      349     คน

9 ตุลาคม 2505

นักศึกษาไม่มาวิทยาลัยฯ แต่พากันไปหา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ฯพณฯ ได้ให้กรมโยธาธิการมาตรวจดูสภาพถนนและให้จัดการซ่อมให้พอใช้ได้ไปก่อน พอหมดฝน ถนนแห้งแล้ว กรมโยธาฯ จึงจัดรถมาปรับแต่งและบดถนนใหม่ การได้พบท่านนายกฯ ครั้งนั้นยังผลให้พวกเราได้มีถนนลาดยางใช้มาจนทุกวันนี้

19 ธันวาคม 2505

กองทุนพิเศษแห่งสหประชาชาติ (UNDP Special Fund) โครงการที่ 1 (ชื่อโครงการ Thonburi Technical Institute Project SF. THA. 7 : มีกำหนดเวลา 5 ปี) ลักษณะของการช่วยเหลือ แบ่งออกเป็น อุปกรณ์การศึกษา ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ 6 คน และทุนการศึกษา เพิ่มเติม 11 ทุน รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 1,146,957 เหรียญอเมริกัน ทั้งนี้รัฐบาลไทยต้องจัดงบประมาณสมทบอีกส่วนหนึ่งด้วย หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญคนแรกคือ Mr. R.G.P.S. Fairbairn ชาวอังกฤษ
คณะผู้เชี่ยวชาญชุดแรก ประกอบด้วย

Dr. N.S. Rajan

Mr. D. Picken ผู้เชี่ยวชาญช่างไฟฟ้ากำลัง (เริ่มทำงานตั้งแต่ 8 ตุลาคม 2505-3 กันยายน 2506)
Dr. N.S. Rajan ผู้เชี่ยวชาญวิสามัญ
Mr. H. Bange ผู้เชี่ยวชาญช่างก่อสร้าง
Mr. S.J. Martin ผู้เชี่ยวชาญช่างโลหะ
Mr. K. Stephen ผู้เชี่ยวชาญช่างไฟฟ้ากำลัง

เมื่อผู้เชี่ยวชาญชุดแรกครบวาระ และหัวหน้าผู้เชี่ยวชาญครบเกษียณอายุ Dr. N.S. Rajan                ได้เป็นหัวหน้าผู้เชี่ยวชาญคนต่อมา และมีผู้เชี่ยวชาญคนใหม่คือ
Mr. H. Hansen ผู้เชี่ยวชาญช่างยนต์
Mr. I. Davies ผู้เชี่ยวชาญช่างโลหะ
Mr. L. Dellenborg ผู้เชี่ยวชาญช่างก่อสร้าง
Dr. Tha Hla ผู้เชี่ยวชาญวิชาสามัญ
Mr. R.D. Drury ผู้เชื่ยวชาญช่างไฟฟ้ากำลัง

อาจารย์ของวิทยาลัยฯ ที่ได้รับทุนการศึกษา และฝึกอบรมต่างประเทศชุดแรก คือ
1. นายอุทัย แก้วช่าง ไปประเทศอังกฤษ
2. นายเจริญ วัฏฏะสิงห์ ไปประเทศอังกฤษ
3. นายสุทนทร สกุลโพน ไปประเทศอังกฤษ
4. น.ส.เฟื่องศิลป์ ศรายุทธพิทักษ์ ไปประเทศอังกฤษ
5. นายเชิดเชลง ชิตชวนกิจ ไปประเทศเดนมาร์ค

ปี 2506

มีนาคม 2506          มีผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ป.วส. รุ่นแรก 119 คน ได้แก่ ช่างก่อสร้าง 36 คน ช่างไฟฟ้า 41 คน ช่างยนต์ 31 คน และช่างโลหะ 11 คน

ปีการศึกษา 2506          กระทรวงศึกษาธิการอนุมัตให้ใช้ระเบียบวิทยาลัยฯ ฉบับใหม่

 – แบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริการ และฝ่ายธุรการ                                                                                                                  – เปลี่ยนระเบียบการศึกษาเป็น ๒ ภาคเรียน เปลี่ยนเวลาเรียนเป็น 8.30-16.35 น.
 – เริ่มใช้หลักสูตรฉบับปรับปรุงใหม่
 – เริ่มใช้ระบบหน่วยกิต คณะผู้เชี่ยวชาญ
 – ฝ่ายวิชาการเสนอโครงการปรับปรุงคุณวุฒิของครู โดยการคัดเลือกอาจารย์บางท่านไปรับการอบรมฝึกฝนจากโรงงานอุตสาหกรรม และจัดอบรมวิชาพื้นฐาน เช่น ภาษาอังกฤษ (นอกจากจ้างฝรั่งมาสอนที่วิทยาลัยแล้ว ยังจัดเป็นทีมส่งไปเรียนกับ ม.ร.ว.นิ่มสาย อัมรนันท์ ณ ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนอีก 2 สัปดาห์) คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ ทางด้านการบริหารวิทยาลัยฯ มีคำสั่งแต่งตั้งหัวหน้างานต่างๆ ดังนี้

อาจารย์สุนทร ศรีนิลทา
อาจารย์อุบล จันทกมล
 อาจารย์ประสาธน์ กล้าหาญ

1. ฝ่ายวิชาการ

หัวหน้าฝ่าย นายสุนทร ศรีนิลทา
หัวหน้าคณะวิชาช่างกล นายสุนทร ศรีนิลทา
หัวหน้าคณะวิชาช่างไฟฟ้า ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ รักษาการ
(ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะวิชาช่างไฟฟ้า ตั้งแต่ 2 กุมภาพันธ์ 2507)
หัวหน้าคณะวิชาช่างโยธา นายโสภณ สุวรรณนาคินทร์ รักษาการ
หัวหน้าคณะวิชาสามัญ นายอุทัย เผ่าภู่
หัวหน้าแผนกวิชาช่างยนต์ นายประยูร สาชาติ
หัวหน้าแผนกวิชาช่างโลหะ นายสุจินต์ มาประจง
หัวหน้าแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง นายสมัคร จรูญพันธ์
หัวหน้าแผนกวิชาช่างก่อสร้าง นางจันทนา วัฏฏะสิงห์
หัวหน้าแผนกวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นางคลอใจ บุญยสิงห์
หัวหน้าแผนกวิชาภาษาและสังคมศึกษา นางจารุณีล์ ทรัพย์มณี

2. ฝ่ายบริการ

หัวหน้าฝ่าย นางสาวอุบล จันทกมล
หัวหน้าแผนกทะเบียน นายสมศักดิ์ จวงสวัสดิ์
หัวหน้าแผนกแนะแนว หัวหน้าฝ่ายฯ รักษาการ
หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ นายสมศักดิ์ จวงสวัสดิ์
หัวหน้าแผนกสวัสดิการ ร.ต. หญิงสุจิตรา พึ่งวุฒิ
หัวหน้าแผนกเอกสารการพิมพ์ นายประดวน พัฒนโชติ
หัวหน้าแผนกอุปกรณ์และวิจัย นางสาวเอมอร กกกำแหง

3. ฝ่ายธุรการ

หัวหน้าฝ่าย นายประสาธน์ กล้าหาญ
หัวหน้าแผนกสารบรรณ นางสาวจินตนา พรหมายน
หัวหน้าแผนกการเงิน นายประสาธน์ กล้าหาญ
หัวหน้าแผนกอาคารและสถานที่ นางสาวสมศรี กาญจนสุต
หัวหน้าแผนกบุคลากร หัวหน้าฝ่ายฯ รักษาการ

ปี 2507

15 กรกฎาคม 2507          กระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานตาม Plan of Operation ของกองทุนพิเศษสหประชาชาติ ประกอบด้วย

1. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการ
2. อธิบดีกรมอาชีวศึกษา รองประธานกรรมการ
3. ผู้อำนวยการกองการสัมพันธ์ต่างประเทศ กรรมการ
4. หัวหน้าสำนักงาน UNTAB กรรมการ
5. หัวหน้าสำนักงาน UNESCO กรรมการ
6. ผู้แทนกรมวิเทศสหการ กรรมการ
7. หัวหน้าผู้เชี่ยวญาญ UNESCO ประจำวิทยาลัย กรรมการ
8. ผู้อำนวยการวิทยัยเทคนิค ธนบุรี กรรมการ
9. หัวหน้ากองวิทยาลัยเทคนิค กรรมการและเลขานุการ

–  คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เสนอแนะให้วิทยาลัยฯ จัดหลักสูตรฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูงต่อจากหลักสูตรเดิมอีก 2 ปี เพื่อช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครูช่างผู้ทรงคุณวุฒิให้แก่วิทยาลัยเทคนิคทุกแห่ง นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญยังได้เสนอแนะให้วิทยาลัยฯ ดำเนินการขอความช่วยเหลือไปยัง UNDP เพื่อสนับสนุนกิจการของโครงการฝึกหัดครูอีกด้วย วิทยาลัยฯ ได้ดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ ตามลำดับพร้อมทั้งแต่งตั้ง ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ เป็นหัวหน้าคณะวิชาช่างกล และ ดร.หริส สูตะบุตร เป็นหัวหน้าแผนกช่างโลหะ ปีการศึกษานี้ได้อาคารวิทยาศาสตร์ (อาคารเรียน 2) โรงฝึกงาน ช่างหล่อ โรงฝึกงานช่างไฟฟ้า และต่อเติมโรงฝึกงานช่างก่อสร้าง

– อาจารย์ชุดแรกที่ไปต่างประเทศเดินทางกลับ อาจารย์ชุดที่สองจึงทยอยไปศึกษาต่อบ้าง ท่านเหล่านั้น ได้แก่

1. นายสุจินต์ มาประจง ไปนิวซีแลนด์
2. ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ ไปสหรัฐอเมริกา
3. นายเจตน์ ไชยาคำ ไปสาธารณรัฐจีน
4. นายสิษบ์ษราวุฑฒิ์ พูนทวี ไปสหรัฐอเมริกา
5. นายประยูร สาชาติ ไปนิวซีแลนด์
6. นายชูศักดิ์ เปลี่ยนภู ไปอังกฤษ

ปี 2508

ปีการศึกษา 2508

– วิทยาลัยฯ แต่งตั้งนายวุฑฒิ พันธุมนาวิน เป็นหัวหน้าคณะวิชาสามัญ
– กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติหลักสูตรฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) และให้ตั้งคณะวิชาการฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง เริ่มจากสาขาช่างยนต์ และช่างโลหะ ปีการศึกษา 2509 จึงเริ่มหลักสูตร ปทส. สาขาช่างโยธา และช่างไฟฟ้า

 อาจารย์วุฑฒิ พันธุมนาวิน

พฤศจิกายน 2508

ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ
ดร.หริส สูตะบุตร

หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองบริการเครื่องจักรกล กรมอาชีวศึกษา วิทยาลัยฯ แต่งตั้ง ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และดร. หริส สูตะบุตร เป็นหัวหน้าคณะวิชาช่างกล คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เสนอแนะให้วิทยาลัยฯ ของบประมาณสร้างหอพัก สำหรับนักศึกษาโครงการฝึกหัดครูฯ และได้รับงบประมาณ เพื่อดำเนินการดังกล่าวในปีงบประมาณ 2510 จำนวน 2,000,000 บาท

ปี 2509

ปีการศึกษา 2509             เปิดสอนสาขาช่างโยธา และช่างไฟฟ้า ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จ ป.วส. จากวิทยาลัยเทคนิคแห่งอื่นๆ มาสมัครสอบแข่งขันด้วย                                                                   ปีนี้วิทยาลัยฯ ได้โรงฝึกงานช่างเชื่อมและโลหะแผ่น และตึกอำนวยการ

15 เมษายน 2509             คณะกรรมการประสานงาน ซึ่งมีท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอภัย จันทวิมล เป็นประธาน มีมติให้วิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี                                                                     ดำเนินการร่างโครงการสถาบันเทคโนโลยี ธนบุรี จากข้อเสนอของคณะผู้บริหารวิทยาลัยฯ และคณะผู้เชี่ยวชาญ UNESCO วิทยาลัยฯ                                                     จึงแต่งตั้งกรรมการร่างโครงการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

ดร. หริส สูตะบุตร ประธาน
Dr. N.S. Rajan รองประธาน
นายสุนทร ศรีนิลทา กรรมการ
ดร.ไพบูลย์ หังสพฤก์ กรรมการ
ดร. นาท ตัณฑวิรุฬห์ กรรมการ
นายเจิรญ วัฏฏะสิงห์ กรรมการ
ดร. ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ กรรมการ
นางสาวอุบล จันทกมล กรรมการ
Dr. Tha Hla กรรมการ
Mr. H. Hansen กรรมการ
Mr. I. Davies กรรมการ
Mr. L. Dellenborg กรรมการ
Mr. B.G. Dahlborg กรรมการ
Mr. R.D. Drury กรรมการ
นายวุฑฒิ พันธุมนาวิน กรรมการและเลขานุการ

1 กันยายน 2509               UNDP เริ่มโครงการช่วยเหลือวิทยาลัยฯ เป็นโครงการที่สอง (ชื่อโครงการ Technical Technical Training Project SF. THA. 22)                                                           ตั้งแต่ 1 กันยายน 2509 ลักษณะความช่วยเหลือไม่แตกต่างกับโครงการแรก มีกำหนดเวลา 4 ปี ยอดเงินช่วยเหลือ 935,100 เหรียญ                                                         อเมริกัน เน้นหนักในการผลิตครูเทคนิคชั้นสูงที่มีคุณภาพ เพื่อบรรจุเข้ารับราชการครู ในสถานอาชีวศึกษาทั่วพระราชอาณาจักร                                                               คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ชุดใหม่ของ THA 22 ประกอบด้วย

1. Dr. Tha Hla หัวหน้าคณะ
2. Mr. G.J. de Morree ผู้เชี่ยวชาญสาขาเครื่องกล
3. Mr. R.P. Anthony ผู้เชี่ยวชาญสาขาเทคนิคการผลิต
4. Mr. H.N. Bange ผู้เชี่ยวชาญสาขาก่อสร้าง
5. Mr. B.G. Dahlborg ผู้เชี่ยวชาญสาขาไฟฟ้ากำลัง
6. Dr. M.P. Varshney ผู้เชี่ยวชาญสาขาอีเลคทรอนิกส์
7. Prof. L.J. Wierzbicki ผู้เชี่ยวชาญสาขา Drawing and design
8. Mr. William Dickinson ผู้เชี่ยวชาญสาขาครุศาสตร์
9. Mr. I. Davies ผู้เชี่ยวชาญสาขาเทคนิคการผลิต
Dr. Tha Hla

ปี 2510

14 กุมภาพันธ์ 2510             กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้แผนกวิชาช่างโลหะเปลี่ยนชื่อเป็น แผนกวิชาเทคนิคการผลิตได้ ตามที่วิทยาลัยฯ เสนอ

12 มิถุนายน 2510                วิทยาลัยเสนอโครงการ “สถาบันเทคโนโลยี ธนบุรี” (Thonburi Institute of Technology)” ขยายหลักสูตรเป็น 5 ปี ต่อจาก                                                                            ม.ศ.5 กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้หลักการเมื่อ 3 ตุลาคม 2510

ปีการศึกษา 2510                 คณะวิชาช่างก่อสร้าง จัดหลักสูตรพิเศษเกี่ยวกับ “เทคนิคการสร้างถนน” ให้แก่ข้าราชการจากประเทศลาว จำนวน 8 คน ในความ                                                                   อุปถัมภ์ขององค์การ USOM (United States Operation Mission, Bangkok) กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 5 มิถุนายน – 7 ตุลาคม 2510

โครงการ THA 7 ใกล้จะสิ้นสุด สำรวจแล้ว มีเงินเหลือจำนวนหนึ่ง พอที่จะจัดเป็นทุนการศึกษาต่อต่างประเทศระยะสั้นเพียง 1 ปีได้ ผู้อำนวยการฯ เสนอแนะคณะผู้เชี่ยวชาญให้เป็นทุนสาขา Library Science เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการจัดบริการวิชาการ สำหรับโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฯ ในอนาคต หัวหน้าแผนกอุปกรณ์ และวิจัย ได้รับทุนนี้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ Wayne State University ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 19 มิถุนายน 2510 ผู้รับทุนศึกษาต่อตามโครงการ THA 22 ได้แก่

1. น.ส. อุบล จันทกมล ไปสหรัฐอเมริกา
2. นายอุทัย เผ่าภู่ ไปสหรัฐอเมริกา
3. นายไพโรจน์ ตีรณธนากุล ไปสหรัฐอเมริกา
4. นายจรัล ธนัญชัย ไปสหรัฐอเมริกา
5. นายไมตรี ปชาเดชสุวัฒน์ ไปสหรัฐอเมริกา
6. นายเกษม เลิศรัตน์ ไปสหรัฐอเมริกา
7. นายโสภณ สุวรรณนาคินทร์ ไปออสเตรเลีย

ปี 2511

13 กรกฎาคม 2511
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโครงการสถาบันเทคโนโลยีธนบุรี แต่ให้เรียกชื่อใหม่ว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยี” ผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี รับเป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยี และเสนอร่างพระราชบัญญัติ

16 กรกฎาคม 2511
กรมอาชีวศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา วิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในวงการอุตสาหกรรม และหน่วยราชการ ที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนากำลังคนดังต่อไปนี้

1. นายเทียน อัชกุล อธิบดีกรมแรงงาน
2. ร.ท. ชุบ ศิริเจริญ ร.น. นายช่างวิศวกร บริษัทกรุงเทพฯ อบพืชผลและ ไซโล จำกัด
3. นายสำราญ วรรณพฤกษ์ ผู้จัดการฝ่ายงานบุคคล บริษัท ลีเวอร์บราเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
4. นายขจร สุขพานิช ที่ปรึกษาฝ่ายเทคนิค บริษัทฟีลโก้-ฟอร์ด คอเปอเรชั่น
5. นายปฏิพันธ์ อารยะศาสตร์ รองผู้ว่าการฝ่ายธุรการ การไฟฟ้ายันฮี
6. ดร. วีระชัย สุวรรณาคาร ผู้อำนวยการและผู้จัดการบริษัทวีระชัย และสหาย
7. นายสุนทร ศรีนิลทา หัวหน้ากองบริการเครื่องจักรกล กรมอาชีวศึกษา
8. ดร. ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ

นอกจากกรรมการต่างๆ ดังกล่าวแล้ว วิทยาลัยฯ ยังมีคณะกรรมการบริหารอีกชุดหนึ่ง ประกอบด้วย

ผู้อำนวยการ ประธานกรรมการ
รองผู้อำนวยการ รองประธานกรรมการ
หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กรรมการ
หัวหน้าฝ่ายบริการ กรรมการ
ดร. หริส สูตะบุตร กรรมการ
นายเจริญ วัฏฏะสิงห์ กรรมการ
นางเอมอร ศรีนิลทา กรรมการ
นางนันทา โกวงศ์ กรรมการ
หัวหน้าฝ่ายธุรการ กรรมการและเลขานุการ

23 กรกฎาคม 2511
คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการสถาบันเทคโนโลยี ธนบุรี ในที่ประชุม และเห็นชอบให้จัดตั้งได้ แต่ให้เรียกชื่อใหม่ว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยี” กับให้รวมวิทยาลัย เทคนิคไทย-เยอรมัน พระนครเหนือ และวิทยาลัยโทรคมนาคม ไว้ในสังกัดด้วย ท่านอธิบดีพงศ์ศักดิ์ จึงเรียกประชุมผู้อำนวยการเทคนิค ธนบุรี รับเป็นผู้ดำเนินการเอง และได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อกรมอาชีวศึกษาในวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2511 หลังจากมีการประชุมคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยี ในระดับกระทรวง 2 ครั้ง ท่านอธิบดีกรมอาชีวศึกษา ได้เรียกประชุมผู้อำนวยการ และหัวหน้าฝ่ายวิชาการของทั้ง 3 วิทยาลัย เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ อีก 2 ครั้ง แล้วจึงเสนอเข้าที่ประชุมฯ ระดับกระทรวง เป็นครั้งที่ 3 ที่ประชุมลงมติผ่านร่างนี้ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2511 และเสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ต่อผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายระดับกระทรวง แก้ไขปรับปรุงถ้อยคำเป็นขั้นสุดท้าย ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี

ต้นปีการศึกษา 2512 นักศึกษาตั้งข้อกล่าวหาหัวหน้าฝ่ายธุรการ ไม่ยอมฟังคำชี้แจง และข้อเท็จจริงต่างๆ กรมฯ มีคำสั่งด่วนย้ายหัวหน้าฝ่ายธุรการเข้ากรมฯ โดยไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสอบสวน เมื่อเหตุการณ์สงบลงแล้ว นายประภา ประจักษ์ศุภนิติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยจึงขอลาออกจากราชการ และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2512

หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ในขณะที่เปลี่ยนผู้อำนวยการใหม่ ประกอบด้วย

1. ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการชั้นพิเศษ
2. นายสมพงษ์ ปัญญาสุข รองผู้อำนวยการ
3. ดร. หริส สูตะบุตร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าคณะวิชาช่างกล
4. นายอุทัย แก้วช่วง หัวหน้าแผนกวิชาช่างยนต์
5. นายสุจินต์ มาประจง หัวหน้าแผนกวิชาเทคนิคการผลิต
6. นายประพันธ์ เนื่องสิกขาเพียร หัวหน้าคณะวิชาช่างไฟฟ้า และรักษาการหัวหน้าแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
7. นายชูศักดิ์ เปลี่ยนภู่ รักษาการ หัวหน้าแผนกอีเลคทรอนิคส์
8. นายเจริญ วัฏฏะสิงห์ หัวหน้าคณะวิชาช่างโยธา
9. นายอุทัย เผ่าภู่ หัวหน้าแผนกวิชาช่างก่อสร้าง
10. นายสมหมาย สีมากุล หัวหน้าคณะวิชาการฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง
11. นายสมพงษ์ ปัญญาสุข รักษาการ หัวหน้าคณะวิชาสามัญ
12 นางคลอใจ บุณยสิงห์ หัวหน้าแผนกวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
13. นางนันทา โกวงศ์ หัวหน้าแผนกวิชาภาษา และสังคมศึกษา
14. นายเสรี สุขเกษม หัวหน้าฝ่ายธุรการ
15. นายประจวบ ทรัพย์สงวน หัวหน้าแผนกการเงิน
16. นายพนม ภัยหน่าย หัวหน้าแผนกสารบรรณ
17. นายธวัชชัย นาคพุ่ม หัวนห้าแผนกบุคลากร
18. นางสาวเฉลิมวรรษ์ ชูทัย หัวหน้าแผนกอาคารและสถานที่
19. นางสาวพเยาว์ จันทร์เฉลิม หัวหน้าแผนกบัญชี
20. นายสุรเทพ อภัยจิตร หัวหน้าแผนกวัสดุอุปกรณ์
21. นางอุบล จันทกมล หัวหน้าฝ่ายบริการ และรักษาการหัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์
22. นายสมศักดิ์ จวงสวัสดิ์ หัวหน้าแผนกสวัสดิการ
23. เรือตรีหญิงสุจิตรา พึ่งวุฒิ หัวหน้าแผนกสวัสดิการ
24. นายวุฒิ อินทร์แก้ว หัวหน้าแผนกเอกสารการพิมพ์
25. นางเอมอร ศรีนิลทา หัวหน้าแผนกห้องสมุด และรักษาการหัวหน้าแผนกโสตทัศนศึกษา
26. นางนลินี ไกรคุณาศัย หัวหน้าแผนกวิจัยการศึกษา
27. นายพยูร เกตุกราย หัวหน้าแผนกหอพัก

คณะกรรมการบริหารก็เปลี่ยนตัวไปตามตำแหน่งใหม่ มีกรรมการเพิ่มเติม คือ

1. นายอุทัย เผ่าภู่
2. นายสมหมาย สีมากุล
3. นายประพันธ์ เนื่องสิกขาเพียร
4. นายสันติ พัสดร
5. ดร. ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์

ปี 2512

มิถุนายน 2512

แผนกอุปกรณ์และวิจัย ย้ายออกจากอาคารไม้ ไปให้บริการในอาคารเอกเทศ 2 ชั้น และ    นางเอมอร ศรีนิลทา เป็นหัวหน้าแผนก

10 กันยายน 2512

ผู้อำนวยการวิทยาลัยได้รับอนุมัติให้ลาออกจากราชการ โดยมีอาจารย์สมพงษ์ ปัญญาสุข เป็นรองผู้อำนวยการต่อไปตามเดิม และให้ ดร. หริส สูตะบุตร เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการอีกตำแหน่งหนึ่ง

 อาจารย์เอมอร ศรีนิลทา

ปี 2513

13 มกราคม 2513
คณะรัฐมนตรีลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติฯ ที่เสนอไป ให้คงชื่อ “สถาบันเทคโนโลยี” ไว้ตามเดิม แต่ให้แก้ร่างพระราชบัญญัติเดิมให้ชัดว่า การศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญา ในวิทยาลัยทั้งสาม ที่ดำเนินการอยู่แล้ว จะต้องให้คงดำเนินการอยู่ต่อไป และสำหรับผู้ที่จะศึกษาเป็นครูปริญญาทางนี้ ให้คัดเลือกจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาข้างต้น คือระดับวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งมีผลการศึกษาดีเด่น และมีคุณสมบัติเหมาะสม

28 พฤษภาคม 2513
สถาบันเทคโนโลยีธนบุรี ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้นาม “พระจอมเกล้า” เป็นชื่อของสถาบัน นามภาษาอังกฤษ “King Mongkut’s Institute of Technology”

7 กันยายน 2513
คณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเสร็จเรียบร้อย เสนอเข้า ค.ร.ม. คณะรัฐมนตรีรับหลักการในวันรุ่งขึ้น แล้วส่งเรื่องให้พรรคสหประชาไทย เพื่อให้คณะกรรมการการศึกษาของพรรคพิจารณา

คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ในที่ประชุมสภาผู้แทนฯ ซึ่งได้พิจารณา และลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในการประชุมครั้งที่ 10/2514 (วิสามัญ) วันพฤหัสดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ซึ่งบังเอิญตรงกับวันที่ระลึกแห่งการสถาปนาวิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี พอดี ต่อจากนั้นจึงส่งร่างพระราชบัญญัติฯ ให้คณะกรรมาธิการการศึกษา การสาธารณสุข และการสาธารณูปการพิจารณา เมื่อคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ต่อสภาผู้แทนฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2514 (วิสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ที่ประชุมลงมติให้ใช้ได้ และให้เสนอต่อวุฒิสภา เพื่อพิจารณาต่อไป วุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติฯ ไว้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ในที่สุดโครงการสถาบันเทคโนโลยี ซึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการถึง 5 ปี ก็สัมฤทธิผล พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ฉบับที่ 1 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 88 ตอนที่ 43 วันที่ 23 เมษายน 2514 สถาบันฯ มีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หลักการสำคัญคือ เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญา และให้การศึกษาทางเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ ทั้งระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลให้บรรดาผู้ได้รับประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ป.ท.ส.) ของวิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ฯลฯ ก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ มีศักดิ์ และสิทธิเท่ากับผู้ได้รับปริญญาบัตรตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่ต้องชื่นชมกันเป็นพิเศษ เพราะมีความหมายอย่างมากในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

 ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์

มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยี ฉบับที่ 1 ระบุว่า “ในระยะเริ่มแรกที่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี และหัวหน้าสำนักงานอธิการบดี ให้สภาสถาบันประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นนายกสภาสถาบัน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองนายกสภาสถาบัน อธิบดีกรมอาชีวศึกษา เป็นกรรมการสภาสถาบันโดยตำแหน่ง และกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คน แต่ไม่เกินเก้าคน และให้อธิบดีกรมอาชีวศึกษา เป็นเลขานุการสภาสถาบันอีกตำแหน่งหนึ่ง” สภาสถาบันชุดแรก จึงประกอบด้วย

1. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ นายกสภาสถาบัน
2. นายบุญถิ่น อัตถากร รองนายกสภาสถาบัน
3. พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
4. พลโทบุญเรือน บัวจรูญ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
5. นาวาอากาศเอก วิมล วิริยะวิทย์ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
6. นายจ่าง รัตนะรัต กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
7. นายดำรง ชลวิจารณ์ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
8. พระประกอบยันตรกิจ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
9. นายพงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ

ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้จัดแบ่งหมวดวิชา ในภาควิชาต่างๆ ดังนี้

1. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering Department)

– หมวดวิชาโครงสร้าง (Structural Technology Division)
– หมวดวิชาการทาง (Highway Technology Division)
– หมวดวิชาช่างสุขาภิบาล (Sanitary Technology Division)
– หมวดวิชาช่างก่อสร้าง (Construction Technology Division)
– หมวดวิชาการขนส่ง (Transportation Technology Division)
– หมวดวิชาธรณีวิทยา (Geology Division)

2. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม (Production Engineering Department)

– หมวดวิชาช่างกลโรงงาน (Machine Tool Technology Division)
– หมวดวิชาช่างเชื่อมและโลหะแผ่น (Welding & Sheet Metal Tech. Division)
– หมวดวิชาช่างหล่อ (Foundry Technology Division)
– หมวดวิชาช่างทั่วไป (Basic Workshop Technology Division)
– หมวดวิชาการบริหารอุตสาหกรรม (Industrial Management Division)
– หมวดวิชาวัสดุวิทยา (Materials Technology Division)
– หมวดวิชาออกแบบเครื่องมือการผลิต (Tool Design Division)

3. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering Department)

– หมวดวิชาความร้อนประยุกต์ (Thermal Engineering Department)
– หมวดวิชากลศาสตร์ของไหล (Fluid Mechanics Division)
– หมวดวิชากลศาสตร์ประยุกต์ (Applied Mechanics Division)
– หมวดวิชาออกแบบและควบคุมอัตโนมัติ (Design & Automatic Control Division)
– หมวดวิชาช่างยนต์ (Automotive Technology Division)
– หมวดวิชาเครื่องกล (Mechanical Technology Division)

4. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering Department)

– หมวดวิชาเครื่องจักรกลไฟฟ้าและระบบไฟฟ้ากำลัง (Electrical Machine & Power Systems Division)
– หมวดวิชาทฤษฎีวงจรไฟฟ้า (Circuit Theory Division)
– หมวดวิชาควบคุมอัตโนมัติ (Control & Automation Division)
– หมวดวิชาอีเลคทรอนิคส์ (Electronics Division)
– หมวดวิชาโทรคมนาคม (Communication Division)
– หมวดวิชาอีเลคทรอนิคส์อุตสาหกรรม (Industrial Electronics Division)
– หมวดวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง (Electrical Technology Division)
– หมวดวิชาช่างอีเลคทรอนิคส์ (Electronic Technology Division)

5. ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (Mathematics & Science Department)

– หมวดวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics Division)
– หมวดวิชาวิธีกาคำนวณ (Computing Technique Division)
– หมวดวิชาฟิสิคส์ (Physics Division)
– หมวดวิชาเคมี (Chemistry Division)

6.ภาควิชาภาษาและสังคมศาสตร์ (Language & Social Sciences Department)

– หมวดวิชาภาษาอังกฤษ (English Division)
– หมวดวิชาสังคมศาสตร์ (Social Sciences Division)

7. ภาควิชาครุศาสตร์ (Education Department)

– หมวดวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Education Division)
– หมวดวิชาโสตทัศนศึกษา (Instructional Technology Division)
– หมวดวิชาจิตวิทยาและแนะแนว (Psychology & Guidance Division)
– หมวดวิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา (Evaluation & Educational Research Division)

21 กันยายน 2513             เช่าเครื่องถ่ายเอกสารครั้งแรก

ตุลาคม 2513                        โทรศัพท์สาธารณะประจำวิทยาลัย เครื่องแรกได้รับการติดตั้ง ตามการร้องขอจากนายสุธี ภัทราคร ประธานสภานักศึกษา