ช่วง2

ก้าวแห่งคุณค่า

ช่วงที่ 2 : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี (พ.ศ. 2514-2528)

กระดับสู่สถาบันเทคโนโลยี คงไว้ในเอกลักษณ์ด้านความเข้มข้นในงานปฏิบัติ สู่บทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์งานวิจัย

ปี 2514

4 กุมภาพันธ์ 2514          สภาผู้แทนราษฎร ลงมติรับหลักการแห่งพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยี พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า                                                                           พ.ศ. 2514 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 88 ตอนที่ 43 หลักสำคัญคือ ผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญา

2 สิงหาคม 2514               ประชุมสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ครั้งแรก

กันยายน 2514                   ตู้ไปรษณีย์ตู้แรกประจำวิทยาลัย ได้รับการติดตั้ง

5 พฤศจิกายน 2514
สภาสถาบันมีมติ ให้รับวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง ของกรมอาชีวศึกษา เข้าสมทบ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และให้จัดตั้งเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2516 เป็นต้นไป คณะกรรมการดำเนินการสถาบันฯ จึงให้เลิกรับนักศึกษา สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2515

17 พฤศจิกายน 2514
คณะปฏิวัติ (มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าคณะปฎิวัติ ยึดอำนาจตนเองซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐนตรี) ยึดอำนาจปกครองประเทศ มีคำสั่งให้ปลัดกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบงานในกระทรวง นายบุญถิ่น อัตถากร ปลัดกระทรวง ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงเป็นนายกสภาสถาบันท่านที่สอง และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายพงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ เป็นอธิการบดี ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2514

22 ธันวาคม 2514
– มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายพงศ์ศักดิ์ วรสุนทรโรสถ เป็นอธิการบดี
– สถาบันฯ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญ “พระมหามงกุฏ” เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตามแบบตัวอย่างตราเครื่องหมายที่โปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบใหม่โดยใช้ตราเครื่องหมายรัชกาลที่ ๔ เป็นหลัก และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2514

ศ.บุญถิ่น อัตถากร

ปี 2515

29 มกราคม-4 กุมภาพันธ์ 2515
นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี จัดนิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 1 (นายเกษม โสตถิวัฒน์ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ รองอธิการบดี เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา) ในบริเวณสถาบันฯ เพื่อแสดงผลงานทางเทคโนโลยี ของนักศึกษาทุกแผนก และเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สู่ประชาชน มูลนิธิเอเซีย สนับสนุนด้านกำลังเงิน จำนวน 15,000 บาท สถานฑูตต่างๆ ส่งโปสเตอร์มาแสดง ร้านค้ามาร่วมแสดงสินค้าในงานกว่า 10 ร้าน นักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ มาแข่งตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์อย่างคับคั่ง ประชาชนสนใจเข้าชมงานประมาณ 19,000 คน พลเรือตรีชลี สินธุโสภณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันฯ ได้มาชมนิทรรศการนี้เป็นการส่วนตัว และได้นำไปกล่าวชมเชยในที่ประชุมสภาสถาบัน ต่อหน้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอธิการบดี

1 มีนาคม 2515
UNDP เริ่มโครงการช่วยเหลือคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เป็นโครงการที่สาม คือ โครงการ Technical Teacher Training Programme, King Mongkut’s Institute of Technology Thonburi (Phase II) SF. THA. 72/005 ลักษณะความช่วยเหลือเช่นเดียวกับโครงการก่อน มีกำหนดเวลา 3 1/2 ปี คิดเป็นมูลค่า 735,790 เหรียญอเมริกัน คณะผู้เชี่ยวชาญชุดนี้ประกอบด้วย

1. Mr. H.N.C. Stam Chief Technical Adviser (ชาวเนเธอร์แลนด์)
2. Mr. I. Davies Production Engineering Expert
3. Mr. D.P. Morrion Electrical Engineering Expert
4. Mr. A. Stromberg Civil Engineering Expert
5. Mr. D.E. Alexander Mechanical Engineering Expert
6. Mr. John McGreal Expert in Principles and Methods of Education
7. Mr. D. Blumel Associate Expert in Production of Technical Learning Materials
8. Mr. P. Alexandre Electrical Engineering Expert
9. Mr. H. Bange Civil Engineering Expert
10. Mr. C.E. Strand Associate Expert in Mechanical Engineering Teaching

– ผู้รับทุนศึกษาต่อตามโครงการ THA 72 ได้แก่

1. นายบันเทิง สุวรรณตระกูล ไปอังกฤษ
2. นายชัยนนท์ ศรีสุภินานนท์ ไปสหรัฐอเมริกา
3. นายขจรศักดิ์ คันธพนิต ไปสหรัฐอเมริกา
4. นายสัมพันธ์ หาญชเล ไปสหรัฐอเมริกา
5. นายพิสิษฐ์ อาวัชนากร ไปสหรัฐอเมริกา
6. นายชูศักดิ์ เปลี่ยนภู่ ไปสหรัฐอเมริกา

14 มีนาคม 2515
สภาสถาบันฯ ประกาศใช้ระเบียบฯ ว่าด้วยการเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษา และค่าธรรมเนียมการศึกษา พ.ศ. 2515 (แก้ไขเพิ่มเติม 17 กรกฎาคม 2515)

ปีการศึกษา 2515
ภาควิชาภาษาและสังคม เปลี่ยนหลักสูตรและการสอนวิชาภาษาอังกฤษเป็นแบบ Intensive

5 มิถุนายน 2515
สภาสถาบันฯ กำหนดมาตรฐานการวัดผลการศึกษาใหม่ ให้คณะกรรมการประจำคณะพิจารณาผลของการวัดผลการศึกษาทุกระดับ และทุกภาคเรียน ให้คณบดีเป็นผู้อนุมัติผลของการวัดผลการศึกษาทุกระดับ และทุกภาคเรียน ให้คณบดีเป็นผู้อนุมัติผลของการวัดผลการศึกษาของแต่ละคณะ และในกรณีที่มีปัญหาให้อธิการบดี เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

6 มิถุนายน 2515
สำนักงาน ก.พ. รับรองปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาโยธา สาขาไฟฟ้ากำลัง สาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สาขาเครื่องกล และสาขาอุตสาหการ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ว่าเป็นปริญญา ซึ่งอาจบรรจุผู้สำเร็จการศึกษาเข้ารับราชการได้ไม่สูงกว่าชั้นตรี อันดับ 2 ขั้น 1,250 บาท ตามข้อ 6 (2) แห่งกฎ ก.พ. ฉบับที่ 622 (พ.ศ.2513)

9 มิถุนายน 2515
สภาฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า อนุมัติให้จ้างแพทย์ (นายแพทย์กุดั่น ปัทมสูต) เพื่อบริการสุขภาพแก่นักศึกษาเป็นครั้งแรก

19 ธันวาคม 2515
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอภัย จันทวิมล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายอภัย จันทวิมล เป็นนายกสภาสถาบันท่านที่สาม

18 ตุลาคม 2515
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ทูนเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรขึ้นเป็นครั้งแรก ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ

ศ.อภัย จันทวิมล

ปี 2516

3 กรกฎาคม 2516
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลตรีประมาณ อดิเรกสาร และศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร เป็นกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ

14 ตุลาคม 2516
เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอภัย จันทวิมล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกวาระหนึ่ง พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งเดิมสถาบันฯ กำหนดจะจัดในวันที่ 25 ตุลาคม 2516 จำเป็นต้องงดโดยปริยาย เนื่องจากพระราชบัญญัติ แบ่งส่วนราชการภายในสถาบัน ยังไม่เรียบร้อย บุคคลในคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยเทคนิค ธนบุรี ซึ่งยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ตลอดมา กับกรรมการฝ่ายวิชาการ เกือบจะเป็นชุดเดียวกันอยู่แล้ว ท่านรองอธิการบดี จึงมอบหมายให้กรรมการฝ่ายวิชาการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพียงชุดเดียว ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2516 กรรมการชุดนี้ ประกอบด้วย

1. ดร.หริส สูตะบุตร ประธาน
2. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ กรรมการ
3. ดร.วรศักดิ์ วรภมร กรรมการ
4. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร กรรมการ
5. นายสมหมาย สีมากุล กรรมการ
6. นางคลอใจ บุญยสิงห์ กรรมการ
7. นางนันทา โกวงศ์ กรรมการ
8. นายไพโรจน์ ตีรณธนากุล กรรมการ
9. นายอุทัย เผ่าภู่ กรรมการ
10. ดร.นระ คมนามูล กรรมการ

โดยที่รัฐบาลมีนโยบาย ที่จะให้สถาบันการศึกษาที่มีกฎหมาย ให้อำนาจประสาทปริญญา ในสาขาที่เปิดสอน ไปสังกัดอยู่ในทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ คณะรัฐมนตรี จึงประกาศ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2516 ให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ไปเป็นส่วนราชการ ในทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ และให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2515 ด้วย

ธันวาคม 2516
นักศึกษา “วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้” จังหวัดเชียงใหม่ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ และมหาวิทยาลัย     แม่โจ้ ตามลำดับ) ขอเข้ามารวมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ที่ประชุมวิชาการเสนอแนะ ให้ดำเนินเรื่องเสนอทบวงฯ จัดตั้งเป็นสถาบันใหม่

ปี 2517

11 มกราคม 2517
นักเรียนอาชีวศึกษากลุ่มหนึ่งเดินขบวนเรียกร้องให้พวกตน ได้มีโอกาสเรียนต่อถึงขั้นปริญญา ขอให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า กลับมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามเดิม และให้สถาบันฯ รับนักเรียนที่จบ มศ.6 เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2517 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี รับข้อเสนอไว้ สภานักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ยื่นหนังสือคัดค้านในวันรุ่งขึ้น คณะอาจารย์ของสถาบันประชุมกันแล้ว ลงมติตั้งกรรมการชุดหนึ่ง จำนวน 17 คน เป็นผู้แทนดำเนินการร่างคำร้องเรียนเสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการเสนอ ฯพณฯ ว่าการตัดสินเรื่องนี้ น่าจะมอบให้เป็นหน้าที่ของสภาสถาบัน ตามที่ พ.ร.บ. สถาบันฯ พ.ศ. 2514 กำหนดไว้ พร้อมทั้งได้ชี้แจงข้อขัดข้องต่างๆ ประกอบไปด้วย

ปีการศึกษา 2517 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เปิดสอนวิชาชั้นปริญญาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยรับนักศึกษารุ่นแรกเพียง 31 คน

ศ.เกษม สุวรรณกุล

28 มิถุนายน 2517

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 112 ฉบับพิเศษ ให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไปสังกัดและเป็นส่วนราชการในทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์เกษม สุวรรณกุล รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เป็นนายกสภาสถาบันท่านที่สี่ ก่อนหน้านั้นได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลตรีประมาณ อดิเรกสาร และศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร เป็นกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2516

24 กรกฎาคม 2517
สภาสถาบันอนุมัติให้ เปิดสอนสาขาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ได้ ในปีการศึกษา 2518 ตามที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ธนบุรี เสนอ

21 สิงหาคม 2517
สถาบัน ประกาศระเบียบสถาบันเทคโนโลยี ว่าด้วยการวัดผลการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ. 2517

20 กันยายน 2517
เส้นทางคมนาคมมายังสถาบันฯ ลาดยางตลอดแล้ว รถเมล์ประจำทางยังคงมีแค่ 2 สาย คือ 84 และ 88 ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้จำเป็นต้องโดยสาร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าสมัยก่อนหลายเท่า สถาบันฯ ธนบุรี จึงร้องขอกรมการขนส่งทางบก ให้รถเมล์สาย 75 (หัวลำโพง-วิทยาลัยพาณิชยการเชตุพน) และ 87 (สนามม้านางเลิ้ง-วิทยาลัยพาณิชยการเชตุพน) ซึ่งมาสุดทางที่หน้าวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน ได้เลยเข้ามาถึงสถาบันฯ ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งประชุม เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2517 อนุมัติให้รถเมล์สาย 87 วิ่งผ่านหน้าสถาบันฯ ไปสิ้นสุดปลายทางที่สวนธนบุรีรมย์

19 ตุลาคม 2517
สถาบันประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เป็นครั้งที่ 2 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ดร.จ่าง รัตนะรัต และศาสตราจารย์พงศ์ศักดิ์ วรสุนทรโรสถ ได้รับพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

20 ตุลาคม 2517
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า นำกฐินพระราชทาน ถวาย ณ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร จังหวัดชัยนาท

นักศึกษาวิศวกรรมโยธา สาขาโครงสร้าง ของวิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง โอนมาเรียนชั้นปีที่ 4 ที่วิทยาเขตธนบุรี ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2517 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้จัดชั้น เรียนเพิ่มให้ต่างหาก

5 พฤศจิกายน 2517
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เพิ่มจะประกาศใช้ ให้แบ่งส่วนราชการออกเป็น คณะ ภาค กอง และแผนก (ได้แก่ กองกลางของสำนักงานอธิการบดี และกองธุรการของแต่ละวิทยาเขต ยังไม่มีกองบริการการศึกษา ประจำวิทยาเขต)

18 ธันวาคม 2517
ดร.หริส สูตะบุตร แต่งตั้งเป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ อย่างเป็นทางการ

19 ธันวาคม 2517
ดร.วุฑฒิ พันธุมนาวิน ได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ อย่างเป็นทางการ

ปี 2518

 พลเรือตรีชลี สินธุโสภณ

มีนาคม 2518
ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ เสนอโครงการสำนักศึกษาและวิจัยพลังงานและวัสดุ เพื่อให้การศึกษาระดับปริญญาโท ทางวิศวกรรมศาสตร์ ในสาขาที่เป็น Multidisciplinary ได้แก่ สาขาพลังงาน, สาขาเทคโนโลยีวัสดุ, และสาขาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเพื่อทำการวิจัยพลังงานและวัสดุ โดยเน้นในด้านที่จะสามารถนำมาประยุกต์กับความต้องการของประเทศได้ ทบวงมหาวิทยาลัย พิจารณาแล้ว เห็นว่าพระราชบัญญัติสถาบันฯ พ.ศ.2514 ไม่ได้ให้อำนาจตั้งสำนักไว้ ถ้าตั้งสำนักขึ้นมา ก็จะทำได้แต่งานวิจัย จัดสอนนักศึกษาไม่ได้ ถ้าจะเปิดสอนต้องตั้งเป็นคณะ คณะกรรมการวางแผนและพัฒนาสถาบัน จึงขอให้ตั้งเป็น คณะพลังงานและวัสดุ และดำเนินการตามจุดประสงค์เดิม

20 มกราคม 2518
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเรือตรีชลี สินธุโสภณ เป็นนายกสภาสถาบัน ท่านที่ 5

26 มกราคม 2518
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสถาบันออกเป็นคณะ ภาควิชา และกองธุรการ ดร. หริส สูตะบุตร ได้รับแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ อย่างเป็นทางการ

ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์

ปีการศึกษา 2518
เริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกลรุ่นแรก จำนวน 15 คน คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เริ่มงานวิจัยด้านพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และจัดโปรแกรมฝึกอบรมระยะสั้นและระยะยาว โดยงบอุดหนุนของ UNDP

2 เมษายน 2518
โครงการช่วยเหลือคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ THA 72/005 ใกล้จะสิ้นสุด มีเงินเหลืออยู่บ้าง หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญฯ จึงจัดโปรแกรมการดูงานและฝึกอบรมระยะสั้นในยุโรปให้แก่ผู้ประสานงาน และอาจารย์ของคณะฯ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

  • กลุ่มที่ 1 ฝึกอบรมระยะสั้น และดูงานประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 2 เมษายน – 1 มิถุนายน 2518 ประกอบด้วย

1. นายไพโรจน์ ตีรณธนากุล
2. นายผจญ ขันธชวนะ
3. น.ส.เพราพรรณ ประพิตรภา
4. น.ส.จริยา ปัญราช
5. นายประยูร กิจพานิชวิเศษ
6. นายสุทัศน์ พรอานุภาพกุล
7. นายพลรัตน์ ลักษณียนาวิน

  • กลุ่มที่ 2 ดูงานการศึกษาด้านเทคโนโลยี ตั้งแต่ระดับช่างฝีมือ ถึงระดับมหาวิทยาลัยในผรั่งเศส เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ รวม 30 แห่ง ระหว่างวันที่ 7 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2518 ประกอบด้วย

1. ดร. หริส สูตะบุตร
2. นายสมพงษ์ ปัญญาสุข
3. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์
4. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร
5. ดร.นระ คมนามูล
6. นางคลอใจ บุณยสิงห์
7. นางนันทา โกวงศ์

3 กรกฎาคม 2518
ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดี อย่างเป็นทางการ

18 ตุลาคม 2518
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 3 ศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ และนายคาร์ล สตีทสเล่อร์ ได้รับพระราชทานปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ บัณฑิตจากวิทยาเขตธนบุรี เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร 164 คน

11 ธันวาคม 2518
นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้จัดนิทรรศการเทคโนโลยี ณ สถาบันฯ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 11-17 ธันวาคม 2518 นายสุข ชัยศิริถาวรกุล เป็นประธานกรรมการดำเนินงาน ดร.หริส สูตะบุตร เป็นประธานกรรมการอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับความร่วมมือจากสถานฑูต บริษัท ห้าง ร้าน ศิษย์เก่า นักเรียน และประชาชน เช่นเดียวกับครั้งที่หนึ่ง นอกจากแสดงผลงานของภาควิชาต่างๆ แล้ว ยังแสดงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์, โครงงานกำจัดสิ่งโสโครก, โครงการพลังงาน และโครงงาน “อุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้าง” ด้วย

ปี 2519

ปีการศึกษา 2519
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ได้ขยายส่วนราชการเดิมที่เป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ออกเป็น 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาเคมี และภาควิชาฟิสิกส์ และได้เริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ 26 คน สาขาคณิตศาสตร์ 25 คน ส่วนสาขาเคมี จะเริ่มในปีการศึกษาต่อไป หลักสูตรนี้ใช้เวลาศึกษา 4 ปี เน้นหนักทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อการพัฒนาทางอุตสาหกรรม คณะฯ ได้รับงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 15 ล้านบาท ในการสร้างอาคาร ซึ่งใช้เป็นสำนักงาน, ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการภาคฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ และอีก 24 ล้านบาท สำหรับสร้างอาคารเรียน และปฏิบัติการภาคเคมีแทนที่อาคารเรียนไม้ ซึ่งมีอายุ 22 ปีแล้ว คาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยในปี 2524

6 ตุลาคม 2519
เกิดการจลาจลที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาของสถาบันฯ ถูกจับไปหลายคน สถาบันฯ ได้ตั้งศูนย์กลางการติดต่อและประมวลข่าวเกี่ยวกับนักศึกษาของสถาบันฯ ให้ทันกับเหตุการณ์ ให้เจ้าหน้าที่ไปติดต่อหน่วยควบคุมที่บางเขน และหน่วยควบคุมที่นครปฐม ให้แผนกทะเบียนส่งจดหมายติดต่อผู้ปกครองนักศึกษาที่ถูกควบคุมตัว เพื่อขอประกันตัว ส่วนผู้ที่ผู้ปกครองไม่สามารถไปขอประกันได้ทัน รองอธิการบดี คณบดี และรองคณบดี ได้ไปประกันตัวให้

18 ตุลาคม 2519
เลื่อนกำหนดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งกำหนดไว้วันที่ 18 ตุลาคม 2519 ไม่สามารถจัดได้ แต่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2520

ปี 2520

24 มีนาคม 2520
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ หอประชุมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เวลา 16.00 น. นาวาอากาศเอกวิมล วิริยะวิทย์, นายดำรง ชลวิจารณ์, และนายชิเงโยชิ มัทซิมาเอะ ได้รับพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ บัณฑิตจากวิทยาเขตธนบุรี เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร 293 คน

ปีการศึกษา 2520
สถาบันฯ เริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีพลังงาน 14 คน และสาขาวิศวกรรมโยธา 15 คน เริ่มจัดโควต้ารับนักศึกษาหลักสูตร วศ.บ. และ วท.บ. จากส่วนภูมิภาค โดยอิงมหาวิทยาลัยในภูมิภาคนั้นๆ คัดเลือกให้ ภาควิชาภาษาและสังคมเสนอโครงการภาษาอังกฤษเทคนิค (The Project of English for Science and Technology) และขอความช่วยเหลือจากโครงการโคลัมโบ สหราชอาณาจักรได้ให้ความช่วยเหลือผ่าน British Council ส่ง Mr. Andrew Dunlop มาช่วยวางหลักสูตรเตรียมเนื้อหาวิชา แนะนำและอบรมวิธีสอน ให้อาจารย์ในภาค ตั้งแต่กันยายน 2519

  • ปีนี้สถาบันฯ เริ่มออก “วารสารวิจัยและพัฒนา สจ.ธ.” (KMITT Research and Development Bulletin) ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ เป็นบรรณาธิการท่านแรก
  • อาสาสมัครคานาดา

1) Mr.Frank Summerville ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
2) นายสงวน ปานมุข ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม
3) Mr.Kenneth Cooper ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
4) Mr.David Ford ภาควิชาเคมี
5) Mr.Ralph Pynn ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

  • อาสาสมัครอังกฤษ

1) Mr.Peter Friend ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
2) Mr.James Stockwell ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

  • อาสาสมัครอเมริกัน

1) Mr.Lucy Locorcaro ภาควิชาภาษาและสังคม
2) Dr.Conrad Weiffenbach ภาควิชาฟิสิคส์
3) Mr.Joe Cummings ภาควิชาภาษาและสังคม
4) Mr.N.C. Gordon ภาควิชาภาษาและสังคม
5) Mr.George Thompson ภาควิชาวิศกวรรมเคมี

  • อาสาสมัครเยอรมัน

1) Mr.Rudolf Konzelmann ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร
ศ.บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ
ศ.จำรัส ฉายะพงศ

ปี 2521

13 มกราคม 2521
พลเรือตรีชลี สินธุโสภณ นายกสภาสถาบัน ถึงแก่อนิจกรรม สภาสถาบันมีมติให้ ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ปฏิบัติราชการแทน

20 เมษายน 2521
ภาควิชาภาษา จัด Inservice Training Workshop for English Teachers ระหว่าง 20 เมษายน – 19 พฤษภาคม 2521 มีอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษ จากวิทยาเขตอื่น จากวิทยาลัยและโรงเรียนเทคนิคทั่วประเทศ เข้ารับการอบรม 82 คน

1 ตุลาคม 2521
ศาสตราจารย์พงศ์ศักดิ์ วรสุนทโรสถ อธิการบดี ประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรม

3 พฤศจิกายน 2521
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ เป็นอธิการบดี

12 ธันวาคม 2521
สถาบันฯ จัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง Solar Energy and Applications หรือ การประชุมสัมมนาวิชาการในชุดพลังงานนอกแบบและการประยุกต์เป็นครั้งแรก ร่วมกับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ณ ห้องสัมมนาของสมาคมฯ ระหว่างวันที่ 12-16 ธันวาคม 2521 การสัมมนาประกอบด้วย การบรรยายของวิทยากร การเสนอผลงานวิจัยและพัฒนา การอภิปรายของผู้เข้าร่วมสัมมนา การชมงานวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ นอกสถานที่ ณ วิทยาเขตธนบุรี และได้จัดพิมพ์รายงานการสัมมนา เพื่อเผยแพร่ด้วย

พระราชบัญญัติเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 55 หน้า 36-46 พ.ร.บ. ฉบับนี้สอดคล้องกับลักษณะการบริหารงานของวิทยาเขตธนบุรีมากที่สุด

20 ธันวาคม 2521
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์จำรัส ฉายะพงษ์ เป็นนายกสภาสถาบัน ท่านที่ 7

ปี 2522

ปีการศึกษา 2522
– อาคารหลังแรกของสถาบันฯ ถูกรื้อลง เพื่อสร้างอาคารเคมี
– จัดตั้งคณะพลังงานและวัสดุโดยเน้นการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา การวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีพลังงานและสาขาที่เกี่ยวข้อง

7 ธันวาคม 2522
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเปิดงานนิทรรศการเทคโนโลยีครั้งที่ 3 กับงานฉลองครบรอบ 20ปี วิทยาเขตธนบุรี

ปี 2523

16 มกราคม 2523
สถาบันเสนอโครงการจัดตั้งกองบริการการศึกษา และสำนักหอสมุด

25 กันยายน 2523
สถาบันออกกฎระเบียบว่าด้วยการรับบุคคล ภายนอกเข้ารับการอบรมในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปประกอบการขอรับใบควบคุมการประกอบอาชีพ วิศวกรรมได้

ตุลาคม 2523
สำนักงานพลังงานแห่งชาติ และ USAID สนับสนุนให้วิทยาลัยธนบุรี ทำโครงการพัฒนาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Process Heat) ในชนบท กำหนดเวลา 4 ปี

18 ตุลาคม 2523
สถาบันทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร และปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรสยามบรมราชกุมารี

31 ธันวาคม 2523
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสถาบัน พ.ศ. 2523 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 97 ตอนที่ 208 (หน้า 1-3)

ปี 2524

12 มีนาคม 2524
คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย มีมติให้จัดตั้งห้องสมุดวิทยาลัยเขตธนบุรีเป็นส่วนราชการระดับกองในสำนักงานรองอธิการบดี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 205 ฉบับพิเศษ หน้า 18 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524

2 กรกฎาคม 2524
ประกาศของทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องการแบ่งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2524 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 117 ฉบับพิเศษ

กรกฎาคม 2524
วิทยาเขตธนบุรี เข้าร่วมในโครงการอาเซียนด้านการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางอาหารและ เกษตร และเป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทยในการบริหารโครงการความร่วมมือระหว่างอา เซียนและประเทศออสเตรเลีย

13 สิงหาคม 2524
มีการประชุมสภาสถาบันเพื่อพิจารณาเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีใน วาระต่อไป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นวิกฤตการณ์ทางด้านบริหารในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า อย่างชัดเจน

ปี 2525

2 กุมภาพันธ์ 2525
สถาบันอนุมัติการจัดตั้ง หอจดหมายเหตุสถาบัน ในห้องสมุดวิทยาเขตธนบุรี

กุมภาพันธ์ – เมษายน 2525
สภาสถาบันพิจารณาว่า ปัญหาความขัดแย้งและเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น เป็นผลจากโครงสร้างของสถาบัน ซึ่งรวม 3 วิทยาลัย ซึ่งมีประวัติ ปรัชญา และแนวทางการจัดการศึกษาแตกต่างกัน ดังนั้นสภาสถาบันจึงเสนอรูปแบบการปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารสถาบัน รวม 4 แบบผ่านทบวงมหาวิทยาลัย

14 เมษายน 2525 และ 3 สิงหาคม 2525
คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันตามรูปแบบที่ 2 กล่าวคือ จะมีการจัดตั้งเป็น 3 สถาบันโดยเป็นนิติบุคคล มีอธิการบดีและสภาสถาบันของตนเอง การบริหารงานส่วนใหญ่จะเสร็จสิ้นในระดับสถาบัน

ปีการศึกษา 2525
เริ่มหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพในคณะพลังงานและวัสดุ และหลักสูตร วท.บ. สาขาจุลชีววิทยา ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

22 ตุลาคม 2525
แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อสักการะบูชาในโอกาสครบ 180 ปี แห่งวันพระราชสมภพ (18 ตุลาคม 2527) และ 25 ปี แห่งการสถาปนาวิทยาเขตธนบุรี (4 กุมภาพันธ์ 2528)

8 ธันวาคม 2525
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเปิดงาน นิทรรศการเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 ทรงเปิดอาคารคณะพลังงานและวัสดุ อาคารภาควิชาเคมี และห้องสมุด

ปี 2526

ปีการศึกษา 2526
เริ่มหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมีในภาควิชาวิศวกรรมเคมี

1 กรกฎาคม 2526
ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย แบ่งส่วนราชการในสถาบัน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2526 ตั้งกองบริการการศึกษาในสำนักงานรองอธิการบดี วิทยาเขตธนบุรี

4 กรกฎาคม 2526
มีการสรรหาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์โดยกระบวนการสรรหาเป็นครั้งแรกของสถาบัน

4 สิงหาคม 2526
ทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล ครุศาสตร์ไฟฟ้า และจุลชีววิทยา ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

22 สิงหาคม 2526
สภาสถาบันอนุมัติให้ ศาสตราจารย์ บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดี และแต่งตั้งให้รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตผลัดกันเป็นผู้รักษาการแทน อธิการบดี คนละ 3 เดือน

6 กันยายน 2526
คณะรัฐมนตรีให้ส่งร่าง พ.ร.บ. สถาบันซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาแล้ว ให้ทบวงมหาวิทยาลัยและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พิจารณาร่วมกันถึงผลกระทบที่อาจมีต่อมหาวิทยาลัยที่มีหลายวิทยาเขต

1 ตุลาคม 2526
นาย Alan G. Waters ผู้เชี่ยวชาญชาวอังกฤษ มาประจำภาควิชาภาษาและสังคมในตำแหน่ง MA Advisor ภายใต้แผนโคลัมโบ เป็นเวลา 4 ปี

10 พฤศจิกายน 2526
น้ำท่วมใหญ่ทั้งวิทยาเขตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม โรงฝึกงานที่ประสบความเสียหายได้แก่ โยธา 1, อุตสาหกรรมโรง 2 และโรง 3 บุคลากรที่มาทำงานต้องนั่งเรือเข้ามา

20 ธันวาคม 2526
ร้านสหกรณ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ร้านสหกรณ์ สจ.ธ. จำกัด) ได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ และเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2527

ปี 2527

11 มกราคม 2527
สถาบันฯ อนุมัติให้ใช้อาคารวิศวกรรมเคมีเป็นที่ตั้งสำนักงานโครงการหลวงอาหารสำเร็จ รูป และโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ รวมทั้งสร้างโรงเก็บผลิตภัณฑ์ของโครงการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแจ้งว่า ทรงพอพระราชหฤทัยที่ได้รับการสนับสนุนโครงการและความร่วมมือจากสถาบัน

24 มกราคม 2527
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติและทบวงมหาวิทยาลัย เสนอความเห็นร่วมต่อคณะรัฐมนตรีว่า โครงสร้างและระบบบริหารของสถาบันฯ ตามร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา พระราชบัญญัติดังกล่าวอีก 2 ครั้ง ในวันที่ 17 เมษายน 2527 และ 24 กรกฎาคม 2527

พฤษภาคม 2527
อาจารย์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เข้าร่วมเป็นกรรมการนโยบาย กรรมการบริหาร และกรรมการวิชาการ ของศูนย์วิจัยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ปีการศึกษา 2527
เริ่มหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (ภาษาอังกฤษเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ในภาควิชาภาษาและสังคม และเริ่มใช้หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุงใหม่สำหรับนักศึกษาใหม่

26 มิถุนายน 2527
ลงนามในข้อตกลงโครงการวิจัยการเก็บรักษาธัญพืชกับประเทศออสเตรเลีย มูลค่า 51,000 เหรียญ ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี

สิงหาคม 2527
รัฐบาลออสเตรเลียให้ความช่วยเหลือในการจัดตั้งสำนักประสานงานด้านมาตรฐาน อาหารของอาเซียน (ASEAN- CODEX Coordinating Center) และสำนักประสานงานด้านพลังงานของอาเซียน (ASEAN Energy Secretariat) ณ อาคารวิศวกรรมเคมี

11 ตุลาคม 2527
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แจ้งว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระบรม ราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามที่รองอธิการบดีวิทยาเขตธนบุรีขอพระราชทานพระกรุณาแล้ว

18 ตุลาคม 2527
อาจารย์ประภา ประจักษ์ศุภนิมิต อดีตผู้บริหารท่านแรกของสถาบันรับพระทานปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

พฤศจิกายน 2527
เริ่มโครงการวิจัยและพัฒนา เพื่อใช้ประโยชน์ และเพื่อกำจัดน้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง โดยได้รับเงินอุดหนุนจากศูนย์วิจัยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ 4 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี

25 ธันวาคม 2527
ลงนามในสัญญาปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประติมากร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ พิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์ กรมศิลปากร

ปี 2528

2-8 กุมภาพันธ์ 2528
คณะกรรมการเฉพาะกิจซึ่งมีอาจารย์ อุบล จันทกมล เป็นประธานได้จัดงานครบรอบ 25 ปี แห่งการสถาปนาวิทยาเขตธนบุรี เพื่อระดมเงินทุนสนับสนุนโครงการพระบรมราชานุสาวรีย์อย่างเป็นทางการเป็น ครั้งแรก

4 มีนาคม 2528
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา แจ้งว่าได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันเสร็จแล้ว และได้เสนอไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

16 เมษายน 2528
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่าง พระราชบัญญัติสถาบัน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วมีการแก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติและ บันทึกหลักการและเหตุผลบางประการ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภาพิจารณาต่อไป ร่างพระราชบัญญัติสถาบันฯ บรรจุอยู่ในวาระปกติลำดับที่ 141

13 พฤษภาคม 2528
คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้เสนอร่าง พระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 ต่อสภาผู้แทนราษฎร

ปีการศึกษา 2528
สภาสถาบันฯ อนุมัติให้คณะพลังงานและวัสดุเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ

20 มิถุนายน 2528
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 10/2528 (สมัยสามัญ) ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันตามที่เสนอ และตั้งกรรมการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่ง จำนวน 25 ท่าน เพื่อพิจารณา

11 กรกฎาคม 2528
สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสถาบันฯในวาระ 2 และ 3 โดยไม่มีผู้คัดค้าน และให้เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

12 กรกฎาคม 2528
ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 10/2528 (สมัยสามัญ) มีมติไม่เห็นด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันฯ 51 ต่อ 31 เสียง และงดออกเสียงจำนวนหนึ่ง

25 กรกฎาคม 2528
นายพิชัย พันธวงศ์ เริ่มก่อสร้างแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์

7 สิงหาคม 2528
คณะกรรมการพิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์ กรมศิลปากร ตรวจดูหุ่นดินรอบสุดท้าย

1 กันยายน 2528
สมาคมนักศึกษาเก่าจัดโบว์ลิ่งการกุศล เพื่อระดมทุนให้โครงการพระบรมราชานุสาวรีย์

12 กันยายน 2528
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาญัตติเรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ขึ้นพิจารณาใหม่ ก่อนพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2529 ที่ประชุมลงมติให้ยืนยันร่างเดิม จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว

14 กันยายน 2528
อาจารย์นนทฤทธิ์ ศโรภาส และคณะมาทำพิธีบวงสรวงเพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

16 กันยายน 2528
นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานวุฒิสภา แจ้งที่ประชุมวุฒิสภารับทราบเรื่องสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราช บัญญัติเดิม มาตรา 129 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมวิทยาลัยเข้าด้วยกัน จึงได้แยกออกเป็นสถาบันอิสระ 3 สถาบัน

18 ตุลาคม 2528
สถาบันทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม แด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

4 พฤศจิกายน 2528
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรี ย์ และทรงเททองหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เวลา 09.09 น.