Masala Chai

Mixtology [ Aroma & Flavoring ]

Register

Workshop

: 8 - 15 January 2025

: 20 - 24 January 2025

ชาอินเดีย

หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Masala Chai หากแยกคำศัพท์ออกมาจะได้คำว่า Masala ที่แปลว่าเครื่องเทศ และ Chai ที่แปลว่า ชา รวมกันเป็นชาใส่เครื่องเทศ แต่ไม่ใช่ว่าใส่เครื่องเทศอะไรก็ได้แล้วจะเป็น Masala chai เสมอไป เพราะว่าวัตถุดิบสำคัญที่ทำให้ได้กลิ่นและรสอันเป็นเอกลักษณ์ของ Masala chai มีอยู่ 4 อย่างได้แก่ กระวานเขียว ขิง กานพลู และอบเชย ซึ่งชานี้เองถือว่าเป็น Welcome drink สำหรับชาวอินเดียที่ใช้ในการต้อนรับแขก จึงทำให้อาจมีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมเครื่องเทศบางชนิดเข้าไปเพื่อทำให้เป็นเอกลักษณ์ประจำบ้าน เป็นความสร้างสรรค์อย่างหนึ่งของชาวอินเดียในการปรับสูตรของตนเองขึ้นมา
About Spice

เครื่องเทศ (Spice)

คือส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ถูกนำมาใช้เพื่อปรุงอาหาร ให้สี กลิ่น และรสชาติ (Flavoring agent) แก่อาหาร หรือใช้เป็นเครื่องหอม เนื่องจากมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) และรสชาติเฉพาะตัว เช่น ขิง ข่า กระชาย เป็นต้น เครื่องเทศส่วนใหญ่ได้มาจากผล ราก ใบ เปลือก เมล็ด ดอก หัว ของพืช [1]

About Spice

น้ำมันหอมระเหย
(Essential Oil)

ในเครื่องเทศแต่ละอย่างนั้นจะมีสิ่งที่คอยให้กลิ่นและรสที่แตกต่างกันนั่นคือ “น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil)” เราสามารถสกัดน้ำมันหอมระเหยออกมาได้โดยการใช้ความร้อน เนื่องจากเมื่อเครื่องเทศจะคายน้ำมันหอมระเหยออกมาเมื่อโดนความร้อนถึงจุดหนึ่ง

  • หากใช้วิธีการคั่ว น้ำมันหอมระเหยจะออกมาเคลือบผิว สามารถนำเครื่องเทศนั้นไปใช้งานต่อได้เลย
  • หากใช้วิธีการต้ม น้ำมันหอมระเหยจะผสมเข้ากันกับน้ำที่ใช้ผสมกัน ให้นำน้ำที่ใช้สกัดไปใช้ต่อแทนเครื่องเทศ แต่อาจได้น้ำมันหอมระเหยน้อยกว่าวิธีการคั่วเนื่องจากความร้อนไม่ได้โดนกับตัวเครื่องเทศโดยตรง

เครื่องเทศสำหรับชาอินเดีย

กระวานเขียว

Flavor: sweet, spicy

Aroma: floral, lemony, mint

Health: Relieve bloating, flatulence, chest tightness, and indigestion.

Alternative Cardamom

ขิง

Flavor: spicy, slightly sweet

Aroma: pungent, lemon-like

Health: Improve the digestive system and have antioxidant.

Alternative Gigner

กานพลู

Flavor: sharp, bitter, pungent

Aroma: sweet, woody, burnt, musty

Health: Reduce phlegm and detoxify the blood.

Alternative Cloves

อบเชย

Flavor: warm, sweet, bitter, citrus-like

Aroma: slightly sweet, spicy, pungent

Health: Relieve fatigue and alleviate dizziness or heart palpitations.

Alternative Cinnamon
Masala Chai Ingredient Calculator

เครื่องคำนวณปริมาณวัตถุดิบ

Ingredient Amount
นม * 1000 มิลลิลิตร
ขิง 100 กรัม
กระวานเขียว 5 เมล็ด
อบเชย 2 ก้าน
กานพลู 5 ก้าน
ใบชาดำ 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาล * 2 ช้อนโต๊ะ

ขั้นตอนการทำ

  1. เทนมลงในหม้อ ตั้งไฟกลาง และต้มจนเดือด (สังเกตุจากนมเริ่มมีฟองอากาศ)
  2. ใส่ใบชาดำลงไปและรอให้เดือด ใช้เวลาประมาณ 5 นาที (หมั่นคนเพื่อไม่ให้นมไหม้และไขมันนมจับตัวกันที่ผิวด้านบน)
  3. ลดไฟให้เป็นไฟอ่อน – กลาง ใส่เครื่องเทศที่เตรียมไว้ลงไปในหม้อ จากนั้นให้เริ่ม ชักชา โดยใช้กระบวยตักชาและเทชาจากความสูงระดับไหล่ ทำซ้ำ ๆ ประมาณ 5 นาที
  4. ยกหม้อออกจากเตา ตักชาใส่ถ้วยเพื่อเสิร์ฟได้เลย
Masala Chai Ingredient Calculator

การชักชา

หรือการเทชากลับไปมาระหว่างภาชนะสองใบจะช่วยผสมผสานส่วนผสมให้เข้ากัน เพิ่มฟองนมที่นุ่มละมุน เพิ่มความมันของนมในชา และลดอุณหภูมิของชาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการดื่ม

References:

Mookerjee, D. S. (2023, Oct 19). Why Does Stevia Have A Bitter Aftertaste? Retrieved from ScienceABC Web site: https://www.scienceabc.com/nature/why-does-stevia-have-a-bitter-aftertaste.html

Patel, A. (2023, November 7). Masala chai and its cultural significance in India. Retrieved from Eating Better Web site: https://www.eating-better.org/news-and-reports/news/masala-chai-and-its-cultural-significance-in-india/

Raghavan, S. (2007). Handbook of spices, seasonings, and flavorings / (2nd ed.). Boca Raton.

ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์. (2563). เทคโนโลยีสารกลิ่นรส. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

นิจศิริ เรืองรักษี. (2534). เครื่องเทศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งรัตน์ เหลืองนทีเทพ. (2540). พืชเครื่องเทศและสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

[1] วไลภรณ์ สุทธา. (ม.ป.ป.). RMUTP Digital Knowledge. เข้าถึงได้จาก RMUTP Digital Knowledge: https://dk.rmutp.ac.th/upload/course/1774261337259443.pdf

สถาบันวิจัยวิทยาศษสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2548). น้ำมันหอมระเหยไทย: Thai Essential Oil. ปทุมธานี: สถาบันวิจัยวิทยาศษสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.