ส่วนหนึ่งของการลดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย มจธ. อาคาร LX แห่งนี้ได้พัฒนาโครงการสร้างอาคารให้ลดพื้นที่ๆ เป็นพื้นผิวทึบน้ำ (Impervious Surface) เป็นแบบผิวซึมน้ำ ชะลอน้ำก่อนปล่อยออกไปจากบริเวณรอบๆ ตัวอาคาร หรือหน่วงน้ำไว้ ให้ท่วมขังช้าที่สุด ซึ่งหนึ่งในส่วนนั้นน้องๆสามารถเห็นได้จาก “บล็อกหญ้า” รอบๆตัวอาคาร

แล้วเราควรให้อาคารมีพื้นที่ผิวซึมน้ำในปริมาณเท่าใด คำนวณอย่างไร
          การชะลอน้ำก่อนไหลออกจากอาคารจะต้องคำนวณจากความสามารถในการไหลของน้ำลงสู่ผิวดิน เรียกว่า สัมประสิทธิ์การไหล (Runoff Coefficient) โดยอาคาร LX มีการใช้วัสดุแบบคอนกรีตพรุน (Porous Concrete) เพื่อความสามารถในการซึมน้ำและชะลอน้ำได้โดยสัมประสิทธิ์การไหลบนผิวดินเฉลี่ยที่ต่ำกว่า 0.05 จะได้เกณฑ์คะแนนอาคารเขียวสูงสุดของหมวด SL หรือ ผังบริเวณและภูมิทัศน์ หมวดย่อย SL 4 – การซึมน้ำและลดปัญหาน้ำท่วม

ใช้สูตรประมาณค่า Runoff Coefficient จากค่า Hydraulic Conductivity  >>>>>

ค่า Hydraulic Conductivity คือ ค่าแสดงอัตราการไหลซึมของเหลวผ่านหนึ่งหน่วยพื้นที่หน้าตัดของมวลสารที่มีรูพรุน

C = ค่าสัมประสิทธิ์การไหลบนผิวดินเฉลี่ย
I = ความเข้มฝน (มิลลิเมตรต่อชั่วโมง)
Kp = อัตราการไหลซึม (มิลลิเมตรต่อชั่วโมง)

พื้นที่ผิวซึมน้ำ

          พื้นที่ผิวที่น้ำซึมผ่านได้ มีการเลือกใช้วัสดุปูพื้น ที่มีพื้นหญ้าอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นผิว แผ่นปูพื้นมีการเว้นร่องระหว่างแผ่น มีช่องหรือรูให้น้ำซึมผ่านลงสู่ดินได้

ดังตัวอย่าง Grass box ในอาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ

Ref : ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก คณะวิศวกรรมาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2556. รายงานการศึกษาการประมาณค่า Runoff Coeffficient สำหรับผลิตภัณฑ์ Porous Concrete เสนอ บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.